จากกรณีที่เกิดพายุฝนตกลงมาอย่างหนักในช่วงกลางดึกของวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา มีรายงานว่าในพื้นที่เมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ที่มีผลพายุตกเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง ทำให้เกิดมวลน้ำจำนวนมากไหลบ่ามาจากฝั่งตะวันออกเข้าสู่พื้นที่เมืองพัทยาจนทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในหลายจุด
ล่าสุดช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ (10 ต.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บริเวณชายหาดเมืองพัทยา ตั้งแต่พัทยาเหนือไปจนถึงพัทยากลางความยาวกว่า 2 กม. ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน เนื่องจากมวลน้ำนวมหาศาลได้ไหลบ่าลงสู่ผืนชายหาด ส่งผลให้ทรายที่กรมเจ้าท่านำมาถม/ไว้เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวจำนวนนับหมื่น ลบ.ม. กลับต้องถูกน้ำกัดเซาะทรายไหลลงสู่ทะเลจนเป็นหลุมและทางน้ำไหลขนาดใหญ่ตลอดแนวได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
จากการตรวจสอบสภาพหาดทรายพบว่าถูกกัดเซาะเป็นร่องลึกกว่า 1 เมตร กว้างประมาณ 4 เมตร จะพบลักษณะเดียวกันนี้ประมาณ 2-4จุดใหญ่ ตามแนวหาดที่เสริมทราย โดยจุดสังเกตการเกิดทรายถูกน้ำกัดเซาะรุนแรงนี้จะเป็นจุดที่ฟุตบาทขอบถนนเป็นทางลาด ทำให้น้ำที่ท่วมขังอยู่บนถนนไหลมารวมกัรก่อนทะลักลงสู่ท้องทะเล ซึ่งตอนนี้จำนวนทรายที่ถูกกัดเซาะลงไปไหลกองอยู่ในทะเลด้านล่าง อีกทั้งยังมีเศษขยะเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นแก้วน้ำกระดาษ และอื่นๆถูกน้ำพัดพาลงมาด้วย
ขณะที่บริเวณพื้นถนนตลอดเลียบแนวชายหาดพัทยา ตรงหน้าซ.6 พัทยากลางพบว่ายางแอสฟัลท์ติก ที่ทางเมืองพัทยาได้ดำเนินการเทปูไว้เพื่อประบสภาพผิวจราจรได้ไม่นานซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการปรับภูมิทัศน์ชายหาดพัทยา ถูกต้องกัดเซาะจนหลุดล่อนออกกลายเป็นหลุมขนาดเล็ก โดยมีเจ้าหน้าที่เมืองพัทยา ได้นำยางแอสฟัลท์ติกมาเทกลบทับไว้แก้ไขเป็นการชั่วคราว
ปัญหาเที่เกิดขึ้นนี้ประชาชนส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเมืองพัทยามีโครงการมากมายใช้ประ มาณรวมกันนับฟับนับหมื่นบาท กล่าวอ้างว่าแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง สุดท้ายก็เกิดปัญหาซ้ำซาก นกจากนี้ยังไปกระทบโครงการของหน่วยงานอื่นที่เค้าลงทุนมาพัทยาชายหาดอย่างการเสริมทรายของกรมเจ้าท่าด้วย
ภาพ/ข่าว อนันต์ กิ่งสร ทิวากร กฤษมณี ผู้สื่อข่าว จ.ชลบุรี