“ถาวร เสนเนียม” ซัดก้าวไกล เสนอนิรโทษกรรม หวังสอดไส้พ้นผิดม.112 มั่นใจสุดท้ายก็จะถูกตีตก

“ถาวร เสนเนียม” ซัดก้าวไกล เสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีการเมือง หวังสอดไส้ให้คนทำผิดม.112 พ้นผิดด้วย ยันชัดไม่มีทางผ่านสภาฯ เพราะไม่มีใครเอาด้วย สุดท้ายก็ถูกตีตก

วันที่ 10 ต.ค.66 ที่บ้านพักของนายถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ให้สัมภาษณ์ท็อปนิวส์ กรณีที่พรรคก้าวไกล ยื่นร่างกฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมืองเข้าสภา ย้อนหลังตั้งแต่ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ปี 2549 ถึงปัจจุบัน ว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ผ่านมามีการเสนอเพื่อสร้างความปรองดองมาแล้ว 23 ครั้ง การเสนอครั้งนี้จึงถือเป็นเรื่องปกติ

 

เมื่อดูนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ได้มุ่งเน้นที่จะสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง หากรัฐบาลของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีมีความ “จริงใจ” ก็สามารถทำได้ ส่วนที่ร่างฯเสนอนี้ ไม่ครอบคลุมคน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม การทำผิดต่อชีวิต เว้นแต่การกระทำผิดโดยประมาท การกระทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ นายถาวร กล่าวว่า ความคิดจริงๆที่พรรคก้าวไกลคือการนิรโทษกรรม คือ ผู้ที่กระทำความผิดในมาตรา 112 จึงเป็นคำถามว่า พรรคก้าวไกลเองมีความจริงใจหรือไม่ที่จะเสนอพ.ร.บ.นิโทษกรรมนี้

 

 

นายถาวร กล่าวยืนยัน ไม่เห็นด้วย “การนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดในมาตรา 112 ตนไม่เห็นด้วยอย่างเด็ดขาด” เนื่องจากมาตรา 112 เป็นมาตราที่บัญญัติขึ้นเหมือนกับรัฐอื่นๆที่ปกครองประมุขแห่งรัฐ และทุก ๆ การปกครองในรูปแบบต่าง ๆ ประมุขแห่งรัฐต้องได้รับการคุ้มครองมากกว่าบุคคลธรรมดา และประเทศไทยก็บัญญัติไว้เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ประเทศที่มีการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์ 26 ประเทศในโลก ก็มีบทบัญญัติที่ว่าด้วยการลงโทษผู้ที่ดูหมิ่น หมิ่นประมาทอาฆาตมาดร้าย ประมุขแห่งรัฐหรือพระมหากษัตริย์ของประเทศนั้น ๆ

 

 

ส่วนการตั้งคณะกรรมการชี้ขาดนิรโทษกรรม ขึ้นมาทั้ง 9 คน ซึ่งบุคคลที่แต่งตั้งขึ้นมาคือประธานรัฐสภา นายถาวร ระบุว่า เรื่องนี้ต้องเข้าไปแปรญัตติในวาระสอง สาม ว่า คณะกรรมการทั้ง 9 คนในร่างนี้ สภาเสียงข้างมากเห็นด้วยหรือไม่ หรือจะแต่งตั้งบุคคลใดเพิ่มเติม หรือไม่เอาแนวนี้ ซึ่งตนคิดว่ารายละเอียดดังกล่าวต้องมีการแก้ไขแน่นอน

ข่าวที่น่าสนใจ

ที่สำคัญพ.ร.บ.ที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล จะได้รับหลักการวาระหนึ่งหรือไม่ “ตนไม่แน่ใจด้วยซ้ำไป” ซึ่งความคิดของตน 312 เสียง ของฝ่ายรัฐบาล ประกาศออกมาชัดว่าเขาไม่แก้มาตรา 112 ซึ่งปรากฏว่าพรรคก้าวไกลจะมาแก้ไขผู้ที่กระทำความผิด มาตรา 112 ไม่ให้มีความผิดอีกต่อไป “ตนคิดว่าไม่ผ่านสภา” และพร้อมยืนยันว่า ไม่ผ่าน หากยืนหยัดแก้มาตรา 112 ซึ่งยังไม่รวมเสียงของวุฒิสมาชิกที่จะต้องผ่านอีกครั้งหนึ่ง

 

นายถาวรกล่าวว่า ตนเห็นด้วย ตามร่างของนายแพทย์ระวี มาศฉมาดล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ ที่มุ่งเน้นจะนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง และมีความขัดแย้งทางการเมืองจึงออกมาเคลื่อนไหว เป็นการกระทำความผิด และการกระทำความผิดของบุคคลเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น พันธมิตร คนเสื้อแดง กปปส. ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในมาตรา 113 หรือเป็นกบฏ

 

 

การถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏเป็นข้อกล่าวหาที่หนักมากมีโทษถึงประหารชีวิต บุคคลเหล่านั้นใช้สิทธิความเป็นพลเมือง ออกมาเคลื่อนไหวว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่สอบทุจริต และไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งจนกว่าจะมีการปฏิรูปการเมืองเสียก่อน

ที่สำคัญบุคคลเหล่านั้นออกมาเคลื่อนไหวโดยเฉพาะ กปปส. ต่อต้านการนิรโทษกรรมให้กับผู้ทุจริต “ตอนจริงเห็นด้วยอย่างยิ่ง กับนายแพทย์ ระวี และคณะที่เสนอร่าง พ.ร.บ.ค้างอยู่ในสภา ว่า ให้นิรโทษกรรมบุคคลที่กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา 113

 

ทั้งนี้ตนทราบว่าร่าง พ.ร.บ. นายแพทย์ ระวี ไม่นิรโทษกรรมให้บุคคลที่กระทำความผิดในมาตรา 112

 

ดังนั้นผู้กระทำความผิดในมาตรา 112 ไม่ใช่ความผิดทางการเมือง และไม่มีเหตุจูงใจทางการเมือง มิหนำซ้ำ เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน หากพระองค์ท่านจะพระราชทานอภัยโทษเหมือนนักโทษบางคน ก็เป็นความกรุณาของพระองค์ท่านไม่ใช่พวกเราที่เป็นผู้ออกกฎหมายมาออกกฎหมาย และบอกว่าการกระทำดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาตราพระองค์ท่าน ต่อไปนี้ที่ทำมาแล้วไม่เป็นความผิด “ตนคิดว่าไม่บังครอย่างยิ่ง” และเป็นการบังอาจด้วยซ้ำไป ผู้ที่ออกกฎหมายในแนวนิรโทษกรรม 112 ”

 

ทั้งนี้ ตนเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของ นายแพทย์ ระวี (พรรคพลังธรรมใหม่) และไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของพรรคก้าวไกล”

 

 

นายถาวร ยังฝากคำถามไปยัง คณะทำงานทั้ง 35 คน เพื่อศึกษาออกประชามติ ที่แต่งตั้งโดยนายกฯ อยากถามว่า การออกเสียงประชามติ และการกำกับดูแลการทำประชามติต้องสุจริตและเที่ยงธรรม หากถามกลับว่าบุคคลที่กำลังล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ออกเสียงประชามติได้หรือไม่ (ฝากเป็นความเห็น) รัฐธรรมนูญที่ระบุไว้เรื่องของการกระจายอำนาจ แต่ปรากฏว่ายังไม่ได้กระจายอำนาจ ควรแก้หรือไม่ หรือการลดความเหลื่อมล้ำทุกด้าน หรือการปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูปการศึกษา หรือสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน

 

 

โดยเฉพาะ ในกระบวนการยุติธรรมควรแก้หรือไม่และแก้ไปในทิศทางใด ที่สำคัญการจะทำประชามติผู้ที่กำกับดูแลเรื่องของการทำประชามติหรือผู้ที่ไปออกเสียงในการแสดงความคิดเห็นเรื่องการทำประชามติ จะต้องสุจริตและเที่ยงธรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น