“ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์” โชว์เทคโนฯผลิตสุดล้ำ โรงงานผลิต “มาม่า” พร้อมรุกตลาดใน-นอกประเทศ ปี 67 โตเพิ่ม 5-7%

"ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์" โชว์เทคโนฯผลิตสุดล้ำ โรงงานผลิต "มาม่า" พร้อมรุกตลาดใน-นอกประเทศ ปี 67 โตเพิ่ม 5-7%

นายพันธ์ พะเนียงเวทย์  ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMA เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัท โรงงานผลิต “มาม่า” มีจำนวนทั้งหมด 8 แห่ง แบ่งเป็นในประเทศ 5 แห่ง โดย 3 แห่ง เป็นโรงงานผลิตเส้นบะหมี่ ได้แก่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จังหวัดลำพูน และจังหวัดระยอง/ โรงงานผลิตเส้นขาวจังหวัดราชบุรีจำนวน 2 แห่ง และโรงงานผลิตในต่างประเทศ  อีก 4 แห่ง ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา บังคลาเทศ และฮังการี

 

 

ทั้งนี้ หากแบ่งประเภทกำลังการผลิตบะหมี่ประเภทซองอยู่ที่ 964,320 หีบต่อเดือน กำลังการผลิตบะหมี่ประเภทถ้วยอยู่ที่ 1,159,498 หีบต่อเดือน กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าวอยู่ที่ 193,125 หีบต่อเดือน โดยความเร็วในไลน์ผลิตแบบซองความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 450 ซองต่อนาที ความเร็วไลน์ผลิตแบบถ้วยสูงสุดอยู่ที่ 300 ถ้วยต่อนาที

ปัจจุบันบริษัท ฯ ได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มในโรงงานหลายแห่ง โดยมีการปรับปรุงเครื่องจักรเดิม รวมถึงการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ให้ประสิทธิภาพและความเร็วในการผลิตเพิ่มขึ้น โดยบริษัทฯ  มีแผนที่จะก่อสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับการทำตลาดที่มากขึ้นในอนาคต

 

นอกจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศแล้ว บริษัทฯ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ “มาม่า” ไปแล้ว 68 ประเทศทั่วโลก เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีขนาดใหญ่กว่าในประเทศจึงมีโอกาสในการทำตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดที่น่าสนใจได้แก่ จีน เนื่องจากปัจจุบันเทรนด์ผู้บริโภคจีนนิยมอาหารไทยมักจะซื้อเป็นของฝากมากขึ้น และตลาดที่จะขยายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยุโรปและอเมริกา ส่วนตลาดใหม่ที่น่าจับตามอง ได้แก่ อินเดียและแอฟริกา

สำหรับทิศทางการทำธุรกิจในอนาคต บริษัท ฯ จะมุ่งต่อยอดสู่ Future food โดยจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของตลาดและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและไม่หยุดนิ่ง

ด้านผลประกอบการคาดว่าในปี 2566 นี้ จะมีอัตราการเติบโตขึ้นจากปี 2565 อยู่ที่ 4 % โดยคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะสามารถเติบโตอยู่ที่ 5 – 7 % โดยปัจจุบันสัดส่วนการทำตลาดแบ่งเป็นในประเทศ 70 % และต่างประเทศ 30 % ในอนาคตตั้งเป้าว่าจะเพิ่มสัดส่วนการทำตลาดต่างประเทศอยู่ที่ 40 – 50 %

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ดี บริษัท ฯ ยังมีแผนการสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคได้เห็นมาม่าในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น Mama Station หรือ ร้านอาหารมาม่าในห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ซึ่งจะได้เห็นมากขึ้นตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป

นายพันธ์ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญผู้ประกอบการเข้าหารือในช่วงที่ผ่านมาว่า ในการเข้าหารือเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกรมการค้าภายใน โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามสถานการณ์กำลังซื้อของผู้บริโภค แนวโน้มต้นทุน รวมถึงแนวทางความร่วมมือในการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งโครงการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค. ไปจนเดือน ธ.ค. เชื่อว่าจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนได้มาก เพราะเป็นการลดราคาของสิ้นค้าหลายชนิดไม่เฉพาะมาม่าเพียงอย่างเดียว

 

 

ทั้งนึ้ ในส่วนของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มเงินในกระเป๋าให้กับประชาชนก็เป็นเรื่องจำเป็น แต่จะทำด้วยวิธีใด รูปแบบใด การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตจะแจกอย่างไร ให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณา แต่คาดว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปน่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายนี้ด้วย เพราะทุกครั้งที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้ากระเป๋า ประชาชนก็จะไปของอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ซึ่งหนีไม่พ้นข้าวสารอาหารแห้ง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

แต่มีข้อเสนอฝากถึงรัฐบาลว่าการแจกเงินครั้งนี้ ควรทำให้ประชาชนใช้งานได้อย่างสะดวกด้วย เมื่อจะเอาเงินให้เขาแล้วอย่าให้เขาเกิดความลำบากในการใช้งาน

 

 

นายพันธ์ ระบุว่า ในส่วนของมาตรการต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ่นค่าแรงขั้นต่ำ ในส่วนของผู้ประกอบการ เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพราะจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลต้องพิจารณาและทบทวนอย่างเหมาะสม ซึ่งการปรับค่าแรงมองว่าจะไม่กระทบต่อต้นทุนของบริษัท เพราะอยู่ในภาวะผู้ประกอบการที่ปรับตัวและยอมรับได้ และจะพยายามชะลอการขึ้นราคาสินค้าให้ได้นานที่สุด ขออย่าเพิ่งมองว่าสินค้าอุตสาหกรรมจะปรับราคาขึ้นตามค่าแรง โดยขณะนี้บริษ้ทมีต้นทุนค่าแรงอยู่ที่ 10 %ของการผลิต หากปรับขึ้น 10-20 % จะกระทบการผลิต 1 %

 

 

ในส่วนของผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ อาจปรับตัวไม่ทันหากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งรัฐบาลควรมีมาตรการเยียวยา เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยปรับตัวด้วย

พร้อมยืนยันว่า ขณะนี้บริษัทยังไม่มีแนวทางพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้าในประเทศ โดยยังคงอยู่ที่ซองละ 7 บาท หลังจาก 14 ปีที่ผ่านมาเพิ่งปรับขึ้นซองละ 1 บาทไปเมื่อปีที่แล้ว

 

 

ส่วนภาวะต้นทุนราคาสินค้าที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 65 ทั้งราคาน้ำมันปาล์มและแป้งสาลี ขณะนี้ราคาเริ่มอยู่ในภาวะสมดุล และยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ เช่นเดียวกับค่าไฟฟ้า และราคาน้ำมันที่แพงขึ้นยังไม่กระทบต่อกำลังการผลิตของบริษัทโดยตรง รวมทั้งยังไม่ได้รับผลกระทบการค้าทางตรงกรณีความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

 

 

 

สำหรับ โรงงานผลิต “มาม่า”ของบริษัท ฯ มีกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและ ใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรทันสมัย และเป็นโรงงานที่ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน โดยได้เริ่มนำร่องใช้โซลาร์ฟาร์มภายในโรงงาน และมีแนวโน้มจะใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ได้เริ่มทำการศึกษาในการนำซองมาม่าเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นเม็ดพลาสติก และนำมาผสมกับผงไม้เพื่อนำไปใช้สร้างประโยชน์กลับคืนให้กับชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“บิ๊กอ้วน”ซัดปาก! พวกกระหายสงคราม “บิ๊กปู” คอนเฟิร์ม “ว้าแดง” เรียบร้อยดี
เวียงแหงโมเดล! เยาวชนคนรุ่นใหม่ One Young World เครือซีพี ปักธง FIGHT หมอกควันชายแดนไทย-พม่า เรียนรู้-ชวนชุมชมร่วมลด PM 2.5
ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล
กรมวิทย์ฯ บริการ มอบของขวัญปีใหม่ประชาชน 2568 ..ฟรี !! ฝึกอบรมเสริมทักษะด้าน วทน. ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นขอการรับรองทุกขอบข่าย เสริมความสามารถของห้องปฏิบัติการไทยสู่สากล
"ณเดชน์-เบลล่า" ขึ้นแท่นดาราแห่งปี "หมูเด้ง" ข่าวเด่นแห่งปีของจริงกลบทุกกระแส
เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก
ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น