ชวนรู้จัก “ดาวหางฮัลเลย์” ในมุมประวัติศาสตร์-ดาราศาสตร์

ดาวหางฮัลเลย์, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ คือ, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ จะ มา ตอน ไหน, ดาวหาง ฮัลเลย์ ล่าสุด, ดาวหาง ฮัลเลย์ ครั้งต่อไป, Halley’s Comet, ดาวหาง, เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์, Edmond Halley, ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

ชวนรู้จัก "ดาวหางฮัลเลย์" ผ่านเนื้อหาเพลงในมุมมองประวัติศาสตร์และดาราศาสตร์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนทุกคนมาทำความรู้จัก “ดาวหางฮัลเลย์” ดาวหาง ฮั ล เล ย์ คือ ดาวหาง ฮั ล เล ย์ จะ มา ตอน ไหน ดาวหาง ฮัลเลย์ ล่าสุด ดาวหาง ฮัลเลย์ ครั้งต่อไป ผ่านบทเพลงดังขึ้นชื่อในตอนนี้ ในมุมมองประวัติศาสตร์และดาราศาสตร์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้จัก “ดาวหางฮัลเลย์” (Halley’s Comet) 

  • มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1P/Halley นับเป็นดาวหางที่มีชื่อเสียงที่สุด และมีหลักฐานบันทึกการพบเห็นมานานแล้วกว่า 2,000 ปี
  • ตั้งชื่อตาม เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ (Edmond Halley) นักฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้เป็นคนแรกที่สามารถคำนวณคาบของดาวหาง ฮัลเลย์ได้ในปี ค.ศ. 1705
  • ในปี 1687 เป็นปีที่ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton) ได้ตีพิมพ์ผลงานที่มีชื่อว่า Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica หรือที่เรารู้กันในชื่อ กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน อันโด่งดัง ที่หลายคนน่าจะเคยได้เรียนกันในวิชาฟิสิกส์ระดับ ม.ปลาย
  • โดยในขณะนั้นฮัลเลย์ก็นับเป็นหนึ่งในคนใกล้ชิดของนิวตัน ซึ่งฮัลเลย์สนใจในเรื่องแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ว่า แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ทั้ง 2 ดวงนี้ จะส่งผลต่อวงโคจรของดาวหางอย่างไรบ้าง

 

ดาวหางฮัลเลย์, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ คือ, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ จะ มา ตอน ไหน, ดาวหาง ฮัลเลย์ ล่าสุด, ดาวหาง ฮัลเลย์ ครั้งต่อไป, Halley’s Comet, ดาวหาง, เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์, Edmond Halley, ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

 

ปฏิทินจากนี้มีไว้เพื่อนับวัน นาฬิกามีไว้เฝ้าคอยนับนาที

  • ในปี 1705 ฮัลเลย์ได้นำข้อมูลบันทึกตำแหน่งของดาวหางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงศตวรรษที่ 17 มาคำนวณด้วยกฎของนิวตัน แล้วพบว่า มีดาวหาง 3 ดวงที่เคยปรากฏตัวในปี ค.ศ. 1531, 1607 และ 1682 ที่มีค่าคุณสมบัติในวงโคจรที่เหมือนกัน จึงสรุปว่า นี่คือ ดาวหางดวงเดียวกันและจะโคจรกลับเข้ามาใกล้โลกทุก ๆ 74 – 79 ปี
  • โดยในปี 1682 นั้น เป็นปีที่ฮัลเลย์สังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลของดาวหางดวงนี้ด้วยตัวเอง และฮัลเลย์ทำนายว่า ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้ามาใกล้โลกอีกครั้งในปี 1758
  • ผลปรากฏว่าในปี 1758 นั้น มีดาวหางปรากฏให้เห็นด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าจริง ๆ
  • แต่สุดท้ายแล้ว เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ก็ไม่ได้มีโอกาสได้มองเห็นดาวหางดวงนี้ด้วยตาตัวเองอีกเป็นครั้งที่ 2 เนื่องจาก เขาได้เสียชีวิตลงในปี 1742 ดาวหางดวงนี้จึงเป็นดาวหางดวงแรกที่จัดอยู่ในประเภทดาวหางคาบสั้น (คาบการโคจรสั้นกว่า 200 ปี)
  • และเพื่อเป็นเกียรติให้กับเอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ จึงตั้งชื่อดาวหางดวงนี้ว่า “ดาวหางฮัลเลย์” นั่นเอง

 

ดาวหางฮัลเลย์, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ คือ, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ จะ มา ตอน ไหน, ดาวหาง ฮัลเลย์ ล่าสุด, ดาวหาง ฮัลเลย์ ครั้งต่อไป, Halley’s Comet, ดาวหาง, เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์, Edmond Halley, ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

 

ยังมีเพลงรักเป็นพันบทเพลงรอแชร์ให้เธอได้ฟัง

ที่กำลังโด่งดังในช่วงนี้ ไม่ใช่ผลงานทางด้านศิลปะชิ้นแรกที่มีความเกี่ยวข้องกับดาวหาง ฮัลเลย์ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ดาวหางดวงนี้มีบันทึกการพบเห็นมาตั้งแต่ในสมัยโบราณกว่า 2,000 ปีที่แล้ว พบงานศิลปะสมัยโบราณ เช่น

  • บันทึกยุคจีนโบราณเมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล
  • Bayeux Tapestry พรมหนังผ้าความยาว 70 เมตร
  • ในยุคศตวรรษที่ 11 Eadwine Psalter
  • หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระธรรมสดุดีของศาสนาคริสต์ในช่วงศตวรรษที่ 12 เป็นต้น

โดยในสมัยนั้นมีความเชื่อกันว่า ดาวหางเป็นลางบอกเหตุร้าย เพราะเมื่อใดก็ตามที่ดาวหางปรากฏบนท้องฟ้า จะนำมาซึ่งความปราชัยในศึกสงครามเสมอ

 

ดาวหางฮัลเลย์, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ คือ, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ จะ มา ตอน ไหน, ดาวหาง ฮัลเลย์ ล่าสุด, ดาวหาง ฮัลเลย์ ครั้งต่อไป, Halley’s Comet, ดาวหาง, เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์, Edmond Halley, ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

จากข้อมูลการศึกษาทั้งหมดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พบว่า ดาวหาง ฮัลเลย์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 กิโลเมตร มีคาบการโคจรเฉลี่ย 76 ปี มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี

ซึ่งแต่ละรอบจะมีคาบการโคจรไม่เท่ากัน เนื่องจากวงโคจรถูกรบกวนโดยแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โดยธรรมชาติของดาวหางนั้น มีลักษณะเป็นก้อนน้ำแข็งสกปรกในอวกาศ

มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโมเลกุลที่ระเหิดได้ง่าย เช่น

  • น้ำ
  • มีเทน
  • แอมโมเนีย
  • คาร์บอนไดออกไซด์ ปะปนอยู่กับเศษหินและฝุ่น

ทุก ๆ ครั้งที่ดาวหางโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวหางจะได้ปริมาณรังสีที่เพิ่มสูงขึ้นมาก โมเลกุลของสสารเหล่านี้จะระเหิดเป็นแก๊สที่ฟุ้งกระจายไปในอวกาศ มีทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ เกิดเป็นหางของดาวหางที่สวยงามขึ้นมานั่นเอง

ดาวหางฮัลเลย์, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ คือ, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ จะ มา ตอน ไหน, ดาวหาง ฮัลเลย์ ล่าสุด, ดาวหาง ฮัลเลย์ ครั้งต่อไป, Halley’s Comet, ดาวหาง, เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์, Edmond Halley, ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

ขออยู่ในชีวิตที่เหลือของเธอได้ไหม อยากลืมตาแล้วได้พบเธอจนวันสุดท้าย

ดาวหาง ฮัลเลย์โคจรเข้ามาเฉียดดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อปีเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 และจากการคำนวณคาดว่า ครั้งถัดไปดาวหางจะเฉียดดวงอาทิตย์ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2061 ดังนั้น ในอีก 38 ปีข้างหน้า เราก็น่าจะได้เห็นหนึ่งในดาวหางที่สวยงามและสว่างที่สุด กลับมาปรากฏบนท้องฟ้าให้พวกเราได้ชื่นชมกันอีกครั้ง

แม้ว่าดาวหางฮัลเลย์จะโคจรมาให้เราได้ยลโฉมในทุก ๆ 76 ปี แต่ทุก ๆ ครั้งที่เคลื่อนที่เข้ามา รังสีจากดวงอาทิตย์จะทำให้ดาวหางสูญเสียมวลของตัวเองไปเรื่อย ๆ และมีขนาดเล็กลง 1-3 เมตรในแต่ละรอบ จนในที่สุดเมื่อมวลสารส่วนที่เป็นน้ำแข็งสลายตัวจนหมดไป ดาวหาง ฮัลเลย์ก็จะไม่ได้มีหางที่สวยงามเหมือนที่เราเคยเห็นในอดีต กลายเป็นเพียงก้อนหินมืดดำในอวกาศ หรืออาจแตกสลายกลายเป็นเศษฝุ่นที่ยังคงโคจรอยู่รอบ ๆ ดวงอาทิตย์ต่อไปเพียงเท่านั้น

 

ดาวหางฮัลเลย์, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ คือ, ดาวหาง ฮั ล เล ย์ จะ มา ตอน ไหน, ดาวหาง ฮัลเลย์ ล่าสุด, ดาวหาง ฮัลเลย์ ครั้งต่อไป, Halley’s Comet, ดาวหาง, เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์, Edmond Halley, ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

 

นอกจากนี้ ในระหว่างที่ดาวหาง ฮัลเลย์โคจรและทิ้งเศษหินและฝุ่นไปในอวกาศนั้น เมื่อโลกโคจรตัดผ่าน แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงเอาเศษหินและฝุ่นเหล่านี้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เกิดการเผาไหม้เป็นดาวตก เป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตกออไรออนิดส์ (Orionids) ที่จะเกิดขึ้นประจำในช่วงเดือนตุลาคมของทุก ๆ ปี

โดยในปี 2023 นี้ ฝนดาวตกโอไรออนิดส์จะมีอัตราการตกสูงสุดตรงกับคืนวันที่ 21 ตุลาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม ศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่ที่กลุ่มดาวนายพราน (Orion) มีอัตราการตกประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง

เรียบเรียง : ธนกร อังค์วัฒนะ – เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น