กรมอุตุนิยมวิทยาคาด "หน้าหนาว 2566" เข้าไทยเริ่มปลายเดือนตุลาคมนี้-สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 67 เผยปีนี้หนาวน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
ข่าวที่น่าสนใจ
กรมอุตุนิยมวิทยา คาด ฤดูหนาวของไทยในปีนี้ คาดว่า หนาวช้าและหนาวน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ โดยฤดูหนาวจะเริ่มประมาณปลายเดือนตุลาคม 2566 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 2 สัปดาห์และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567
โดย “หน้าหนาว 2566” อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนประมาณ 21-22 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1.5 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 19.9 องศาเซลเซียส) และจะมีอากาศหนาวน้อยกว่าปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 20.8 องศาเซลเซียส) ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2566 ถึงปลายเดือนมกราคม 2567
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- อุณหภูมิต่ำที่สุดประมาณ 9 – 10 องศาเซลเซียส ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
- อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 17 – 18 องศาเซลเซียส
- ในขณะที่ปริมณฑลอ่ยูที่ 15 – 16 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยและยอดภู
- รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด
- และมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง
ภาคใต้
- จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางช่วงส่วนมากตอนบนของภาค แต่ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง
- ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากรวมทั้งน้ำลันตลิ่งได้ในหลายพื้นที่
- สำหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ในบางช่วงมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร
ข้อควรระวัง
ปลายเดือนตุลาคม
- บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนจะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ประกอบกับจะมีน้ำเหนือไหลบ่าลงมา และในบางช่วงจะมีน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่
ปลายเดือนธันวาคมและมกราคม
- บริเวณดอยและยอดภูมักจะเกิดน้ำค้างแข็งขึ้นได้ กับจะมีหมอกหนาเกิดขึ้นในหลายพื้นที่
- โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ยานพาหนะ
เดือนมกราคาและกุมภาพันธ์
- อาจมีคลื่นกระแสลมตะวันตก เคลื่อนตัวจากประเทศเมียนมาผ่านประเทศไทยตอนบน
- ซึ่งจะทำให้ช่วงดังกล่าวเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง