“หมอวรงค์” ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งศาลปกครองระงับแจกดิจิทัล 10,000 บาท

“หมอวรงค์” ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งศาลปกครองระงับแจกดิจิทัล 10,000 บาท

วันที่ 18ต.ค.66 ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี พร้อมสมาชิกพรรคไทยภักดีและภาคประชาชน ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน พิจารณา ส่งต่อศาลปกครอง เพื่อระงับโครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท ของรัฐบาล เพื่อป้องกันความเสียหาย ของระบบการเงินการคลังของประเทศในอนาคต โดยมีนายปิยะ ลือเดชกุล ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบเรื่องร้องเรียน รับหนังสือแทน

 

 

 

 

โดยนายแพทย์วรงค์ แถลงว่า สาระสำคัญที่มานำเสนอต่อผู้ตรวจการแผ่นดินตั้งเป้าหลัก 2 ประเด็น ประการแรกขอให้ระงับยับยั้งการแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะเกรงว่าจะนำไปสู่ความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของชาติอย่างใหญ่หลวง ประการที่ 2ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ออกมาตราคุ้มครองชั่วคราวเพราะกรงว่าจะนำไปสู่ความเสียหายก่อนจะมีคำพิพากษา

ข่าวที่น่าสนใจ

 

นายแพทย์วรงค์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลนายเศรษฐาประกาศหาเสียง และดำเนินการแจกเงินดิจิทัล ถึงจะเรียกว่าแจกเป็นโทเคน จำนวน 1 หมื่นบาท คนไทยทุกคนที่อายุ 16 ปีขึ้นไป ใช้วงเงินสูงถึง 5.6 แสนล้านบาท สิ่งที่ตนมีข้อกังวลใจ คือ หากต้องการช่วยคนจนแล้วทำไมแจกคนรวย ซึ่งคนรวยจำนวนไม่น้อยที่มีเงินมหาศาลได้รับประโยชน์จากเงินเหล่านี้ด้วย อาทิ สส.1 คน มีผู้ช่วย 8 คนและบริวาร จะได้ร่วม 2 แสนบาท แม้แต่ครอบครัวนายกฯก็ได้ 4-5 หมื่นบาท หรือครอบครัว นช.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีเงินเป็นหมื่นเป็นแสนล้านได้ร่วม 1 แสนบาท

 

 

นายแพทย์วรงค์ กล่าวว่า ประเด็นที่มีข้อกังขามากทำไมไม่แจกเป็นเงินสด หรือเงินบาท ทำไมแจกเป็นเงินดิจิทัล ที่เรียกว่า โทเคน เพราะจะเกิดความสลับซับซ้อนจากเงินเป็นโทเค่น และจากโทเคนกลับไปเป็นเงิน ซึ่งเงื่อนไขการแจกโทเคนไม่เป็นประโยชน์ต่อคนยากจน โดยเฉพาะการตั้งเงื่อนไข รอแลกเงิน 6 เดือน ร้านค้ารายย่อยในหมู่บ้านต้องหมุนเงินทุกวันจึงเป็นอุปสรรค และโทเคนเหล่านี้จะไปกองอยู่ที่นักธุรกิจรายใหญ่ และนำไปสู่การฟองเงินสีเทาครั้งใหญ่ ในการรับซื้อโทเคน จากคนยากจน ที่ต้องการเงินสด หรือเงินบาท

 

 

 

จนถึงวันนี้รัฐบาลยังไม่สามารถชี้แจงว่าจะนำงบประมาณมาจากไหน ตนกังวลว่าจะนำไปสู่การทุจริตกระจายไปทางแผ่นดิน และโครงการนี้ไม่ได้เป็นการช่วยคนจน แต่เป็นโครงการที่ช่วยคนรวยแต่เอาคนจนมาบังหน้า ซึ่งสิ่งที่จะทำทั้งหมดจะนำไปสู่การขัดกฎหมายหลายมาตรา ตั้งแต่ รธน.162 และ 164 รวมทั้ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพราะเป็นโครงการใช้จ่ายเงินมหาศาล หวังคะแนนนิยมทางการเมือง

 

อีกประเด็นสำคัญคือการใช้โทเคนจับจ่ายแทนธนบัตร มีความเสี่ยงขัด พ.ร.บ.เงินตรา 2501 มาตรา 6 และ 9 ตนจึงนำข้อเท็จจริงพร้อมหลักฐานความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ อดีตรัฐมนตรีการคลัง รวบรวมข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมานำเสนอผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยอาศัย พ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน มาตรา 22(1)(2) และ พ ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดินมาตรา 23(2) เพื่อเสนอต่อศาลปกครอง ในการระงับยับยั้งโครงการไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และขอคุ้มครองชั่วคราวหรือมาตรการชั่วคราว เนื่องจากเกรงว่าหากปล่อยไปความเสียหายจะเกิดขึ้นจนกว่าจะมีคำพิพากษา

 

 

ด้านนายปิยะ กล่าวว่า ตนในฐานะตัวแทนของผู้ตรวจการแผ่นดิน และประธานของผู้ตรวจการแผ่นดิน จะเร่งรัดนำเรื่องดังกล่าว เข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยเร็วที่สุด

 

 

นายแพทย์วรงค์ ยังกล่าวอีกว่าหลายคนตั้งข้อสงสัยทำไมตนไม่ยื่นตรงต่อศาลปกครอง นั้น เป็นเพราะโครงการยังไม่ได้เริ่ม มาตราการทางปกครองไม่เกิด แต่มีการแถลงนโยบายนี้ต่อรัฐสภาแล้วว่าตั้งใจเดินหน้าแจกเงินดิจิทัล เราไม่ต้องการให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นก่อนเหมือนโครงการรับจำนำข้าวไม่ได้อยากเอาเห็นนายกฯหนี รัฐมนตรีติดคุกจึงทำเรื่องนี้เพื่อไม่ให้ประเทศชาติเกิดความเสียหาย จึงยื่นต่อผู้ตรวจการผ่านไปศาลปกครอง ยกเว้นมีมติครม.จึงจะยื่นตรงต่อศาลปกครอง หรือร้องไปที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

 

นอกจากนี้มีข้อห่วงใยว่าถ้าโครงการนี้เกิดขึ้นจริงมีการแจกโทเคน และระหว่างนั้นต้องรอ 6 เดือน ช่วงกพ.-กย. 67 ถ้าการเมืองสะดุดมีการยุบสภาใครจะรับผิดชอบเงินนี้ ตนเชื่อว่ารัฐบาลใหม่ก็ไม่รับผิดชอบให้ไปเบิกรัฐบาลนายเศรษฐา ก็จะเกิดความวุ่นวาย การฆ่าตัวตายของพ่อค้ารายย่อย

 

ผู้สื่อข่าวถามว่าอยากให้เปรียบเทียบโครงการแจกเงินดิจิทัลและจำนำข้าวแตกต่างกันอย่างไร นายแพทย์วรงค์ กล่าวว่า ทั้งสองโครงการมีจุดเหมือนกันมาก

 

 

1.โครงการจำนำข้าวไซด์ขนาด 9 แสน 4 หมื่นล้านบาท เฉพาะความเสียหายไม่เพียงแต่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่เสียหายเกือบ 6 แสนล้านบาท ส่วนโครงการดิจิทัลอยู่ที่ 5.6 แสนล้าน ทั้งนี้โครงการจำนำข้าวเมื่อรวมถึงรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ความเสียหาย เกือบล้านล้านบาท

 

 

2.หน่วยงานที่ออกมาเตือนตอนเริ่มโครงการไม่แตกต่างกัน ทั้งนักเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการ ไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก อดีตผู้ว่าแบงค์ชาติ เอสแอนด์พี มูดี้ส์ เป็นต้น

 

 

 

3.น.ส.ยิ่งลักษณ์จำนำข้าวทุกเม็ดอ้างช่วยชาวนา นายเศรษฐาแจกทุกคนอายุ 16 ปีขึ้นไปแต่อ้างช่วยคนจน

 

“รูปแบบเหล่านี้เอาชาวนา เอาคนจนมาบังหน้า แต่สุดท้ายเป็นประโยชน์ของคนรวย และผมเชื่อเมื่อดำเนินการไปในสมัยคุณยิ่งลักษณ์ตายด้วยทุจริต ผมเชื่อว่ารัฐบาลเศรษฐาถ้าปล่อยให้เกิดขึ้นก็จะตายด้วยทุจริตที่ใช้โทเคน แต่ถ้าโอนเป็นเงินสดผ่านบัญชีโกงยากคุณอาจไม่ตาย แต่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินการคลังของประเทศ แต่ถ้าใช้โทเคนเตือนเลยคุกรออยู่แน่นอน ยืนยันที่ผ่านมาในหลักการผมไม่ได้ค้านการช่วยประชาชน ” นายแพทย์วรงค์ กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น