“ไหม ศิริกัญญา” มั่นใจแจกเงินดิจิทัลถึงทางตัน เย้ยเพื่อไทย นโยบายไม่ตรงปกแต่แรก

วันที่ 24 ต.ค.66 ที่พรรคก้าวไกล นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ส.สบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวถึงโครงการแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทของรัฐบาล โดยยอมรับว่านายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังได้ติดต่อมาขอข้อมูล โครงการดิจิทัล วอลเล็ต ในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันกับตนจริง ซึ่งตนก็ได้ส่งเอกสารงานวิจัยให้กับนายจุลพันธ์ไปศึกษาเพิ่มเติม แต่ไม่ได้ ให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังขะมักเขม้น ในการหาข้อสรุปในรายละเอียดต่างๆให้ชัดเจน

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนที่ตนได้โพสต์ ว่าโครงการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลอาจถึงทางตันแล้วนั้น เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าธนาคารออมสินถือเป็นแหล่งเงินสำคัญที่จะนำมาดำเนินโครงการแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 5.6 แสนล้านบาท และได้มีการยื่นให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความพระราชกฤษฎีกากำหนดธนาคารออมสิน แต่ไม่พบข้อกำหนดที่จะทำให้ธนาคารออมสินสามารถ นำเงินมาให้รัฐบาลใช้ดำเนินโครงการแจกเงินดิจิทัลได้ แหล่งเงินสำคัญของโครงการเป็นหมันไม่สามารถนำมาใช้ได้ ในขณะที่เมื่อพิจารณาจากร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ก็พบว่ามีเงินเหลือเพียงหลักหมื่นล้านบาท ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ในโครงการนี้ ดังนั้นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลในขณะนี้คือต้องกลับมาดูว่าจะสามารถหาแหล่งเงินขนาดใหญ่เพื่อนำเงินมาดำเนินโครงการนี้ได้อย่างไร

 

ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่ารัฐบาลจำเป็น ต้องปรับเงื่อนไขรายละเอียดของโครงการหลายอย่างเพื่อลดจำนวนผู้ได้รับผลประโยชน์ และอาจต้องเปลี่ยน การจ่ายเงินจากการจ่ายที่เดียว 1 หมื่นบาท เปลี่ยนเป็นทยอยแบ่งจ่าย เป็นงวดๆครอบคลุม 2 ปีงบประมาณขึ้นไปจึงจะมีเงินเพียงพอ เพราะลำพังเพียงการเพิ่มฐานอายุของผู้มีสิทธิ์รับเงินดิจิทัล วอลเล็ตอาจไม่เพียงพอที่จะลดวงเงินงบประมาณได้ อาจจะต้องมีการเพิ่มมาตรการพิสูจน์ความรวยเพื่อจำกัดสิทธิ์ในการรับเงินดิจิทัล วอลเล็ต เฉพาะผู้มีรายได้น้อยเป็นหลัก เช่นการกำหนดว่าผู้ที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 30,000 หรือ 50,000 บาทขึ้นไปจะไม่ได้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าประชาชนเข้าใจได้หากจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเนื่องจากโครงการนี้ก็ไม่ตรงปกมาตั้งแต่ต้น หากจำเป็นต้องดำเนินการบางอย่างเพื่อให้โครงการดำเนินการต่อไป ประชาชนจะไม่มองว่ารัฐบาลผิดคำสัญญา หากรัฐบาลสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเรื่องข้อจำกัดทั้งเรื่องงบประมาณและข้อกฎหมายที่ยังมองไม่เห็นในช่วงหาเสียง

แต่หากรัฐบาลยังยืนยันที่จะจ่าย เงินดิจิทัลวอลเล็ต 1หมื่นบาท ภายในงวดเดียว ด้วยงบประมาณกว่า 500,000 ล้านบาท ก็มีเพียง 2 วิธีคือ 1. แก้กฎหมายธนาคารออมสิน แต่ก็จะเป็นการกระทำที่ชัดเจนสามารถที่จะพูดมากเกินไปว่าทำเพื่อให้รัฐบาลออกมาได้สามารถกู้เงินจากธนาคารออมสินได้ ส่วนวิธีที่2. ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเงินกู้เพื่อดำเนินโครงการ แต่ก็จะเป็นวิธีที่เสี่ยงต่อรัฐบาลมากทางด้านการเมือง เพราะสถานการณ์ตอนนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะเอื้อให้รัฐบาลต้องทำเช่นนั้น แต่นอกจาก 2 วิธีนี้ก็ไม่เห็นทางแล้วที่รัฐบาลจะได้เงินก้อนใหญ่ขนาดนี้ในครั้งเดียว ดังนั้นจึงมองว่ายังเป็นไปได้ที่การแจกเงินดิจิตอล วอลเลต 10,000 บาทจะทันในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แต่จะยากลำบากเป็นอย่างมาก ในการลุยไฟแก้ไขกฎหมาย รวมถึงพัฒนาซุปเปอร์แอป บล็อคเชน และระบบรองรับต่างๆ ทำให้ความเป็นไปได้น้อยมาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น