“รถไฟฟ้าสีชมพู” คืบ 98.37% กรมรางเช็คความพร้อม ก่อนเปิดให้บริการปลายปีนี้

“รถไฟฟ้าสีชมพู” คืบ 98.37% กรมรางเช็คความพร้อม ก่อนเปิดให้บริการปลายปีนี้

วันนี้ (24 ต.ค. 66) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ร่วมกับ รฟม. บริษัทที่ปรึกษาโครงการ (PCPK) และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้ให้บริการเดินรถ เพื่อติดตามความพร้อมก่อนเปิดให้บริการประชาชนในเดือนธันวาคม 66

ข่าวที่น่าสนใจ

รถไฟฟ้าสายสีชมพู หรือที่รู้จักกันในชื่อ “น้องนมเย็น” เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายที่สองของไทย ถัดจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีแนวเส้นทางเริ่มจากศูนย์ราชการนนทบุรี วิ่งผ่านถนนสำคัญหลายเส้น ได้แก่ ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา และถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงมีนบุรี รวมระยะทาง 34.50 กิโลเมตร 30 สถานี มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ได้แก่ สายสีเชียว สายสีแดง สายสีม่วง ปัจจุบันมีความคืบหน้าแล้วกว่า 98.37% การลงพื้นที่ครั้งนี้ เริ่มต้นจากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (PK16) ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีวัดพระศรีมหาธาตุของรถไฟฟ้าสายสีเขียว จุดเด่นของสถานีนี้ คือ ชานชาลาและทางวิ่งจะถูกแยกเป็น 2 ฝั่ง และมีสะพานรถยนต์ข้ามแยกวงเวียนบางเขนคั่นอยู่ตรงกลาง โดยจะมี Skywalk ให้ผู้ใช้บริการสามารถเดินทะลุจากชานชาลาของรถไฟฟ้าสายสีชมพูไปที่บริเวณขายตั๋วของรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้เลย โดยไม่ต้องแตะบัตรเข้า-ออกอีกครั้ง ทำให้เดินทางสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

ต่อมาได้ร่วมทดสอบการเดินรถ จากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุไปยังสถานีหลักสี่ (PK14) สถานีนี้มี Skywalk เชื่อมต่อไปที่สถานีหลักสี่ของรถไฟชานเมืองสายสีแดง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และศูนย์การค้าไอทีสแควร์ ซึ่งอยู่คนละฝั่งของถนนวิภาวดีรังสิตได้ นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีชมพูยังมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) โดยมี Skywalk แห่งแรกในไทย ที่มีทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Walkalator) ความยาว 340 เมตร ในอนาคตสถานีนี้จะมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย – ลำสาลีได้อีกด้วย

สำหรับสถานีแจ้งวัฒนะ 14 (PK 11) – สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ (PK 13) ที่เริ่มการก่อสร้างทางขึ้น – ลงได้ล่าช้า ปัจจุบันก่อสร้างเสาตอม่อและโครงสร้างเหล็กแล้ว อยู่ระหว่างก่อสร้างหลังคา ราวกันตก ติดตั้งและทดสอบการใช้งานบันไดเลื่อนและลิฟต์ ในส่วนของการเชื่อมต่อ สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ จะมี Skywalk เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ปฏิบัติงานในบริเวณศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติกว่าแสนราย รวมถึงทยอยคืนพื้นผิวจราจรตลอดแนวเส้นทาง เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเดินทางได้สะดวกปลอดภัย

ดร.พิเชฐ ระบุว่า เบื้องต้นผู้รับจ้างคาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 โดยให้บริการในช่วง 06.00 – 24.00 น. อย่างไรก็ตาม รฟม. จะต้องตรวจสอบงานและความปลอดภัยให้เป็นไปตามสัญญาก่อนเปิดให้บริการต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมบัญชีกลาง" แจงปมถูกกล่าวอ้างชนะโครงการ "ตึกสตง." เพราะรู้ราคาประมูล ไม่เป็นความจริง ย้ำมีการเข้ารหัส 2 ชั้น เก็บข้อมูลในบล็อกเชน
สุดยิ่งใหญ่! สวนนงนุชพัทยานำทีมไทยร่วมโชว์ขบวนพาเหรดดอกไม้ งาน Bloemencorso Bollenstreek ที่เนเธอร์แลนด์ นักท่องเที่ยวแห่ถ่ายรูปคึกคัก
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชวนเที่ยวสงกรานต์ ต้อนรับปีใหม่ไทย ร่วมสืบสานประเพณีในธีมงานวัดและชมความน่ารักของสัตว์นานาชนิด
"คนกรุงฯ" เห็นใจเอกชนแบกภาระค่าใช้จ่าย ฝากกทม.เร่งจ่ายหนี้ กังวลถ้ารถไฟฟ้าสีเขียวหยุดวิ่ง กระทบชีวิตหนักแน่
"DSI" อัปเดต คดีนอมินีจีนสร้างตึกสตง.ถล่ม ลุยต่อตรวจสอบเส้นทางเงิน-เลี่ยงภาษี
สถานีขนส่งอุทัยฯคึกคัก ปชช.แห่ซื้อตั๋วเดินทางกลับภูมิลำเนา รถทัวร์-รถตู้ ถูกจองเต็มเกือบทุกเที่ยว
จนท.เตรียมเจาะแผ่นปูนเชื่อมฐาน ”ตึกสตง.“ จุดพบแสงมือถือ ยังมีความหวังเจอผู้รอดชีวิต
"กัน จอมพลัง" พา "ญาติผู้สูญหาย" กว่า 60 คน ขอพรสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3 แห่งกลางกรุง
“กลุ่มพลังหนองปรือ” เปิดตัว 19 ผู้สมัครนายกและสภาเทศบาลเมืองหนองปรือ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของท้องถิ่น ด้วย 8 นโยบายพัฒนาแบบยั่งยืน
"ถนนมิตรภาพ" โคราช เปิดช่องทางพิเศษหลายจุด คาดรถหนาแน่นต่อเนื่องไปจนถึงช่วงค่ำ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น