รัฐบาลตั้ง “สุริยะ” นั่งปธ.บอร์ดติดตามแก้ปัญหาการบินไทย ทั้งที่เคยถูกป.ป.ช.สอบคดีจัดซื้อแอร์บัส 10 ลำ

รัฐบาลตั้ง “สุริยะ” นั่งปธ.บอร์ดติดตามแก้ปัญหาการบินไทย ทั้งที่เคยถูกป.ป.ช.สอบคดีจัดซื้อแอร์บัส 10 ลำ

จากกรณีวานนี้ที่ประชุมครม. มีมติ รับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 285/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีทั้งหมด 13 คน มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นั่งเป็นประธาน และยังมีนายพิชิต ชื่นบาน ทนายความตระกูลชินวัตร เป็นหนึ่งในกรรมการด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

ซึ่งการที่นายสุริยะได้รับมอบหมายให้เป็นประธานในการสานต่อการฟื้นฟูการบินไทยในครั้งนี้ ได้ถูกวิจารณ์มากพอสมควร เพราะนายสุริยะเองเพิ่งจะพ้นมลทินเรื่องฉาวเกี่ยวกับการบินไทยมาไม่นาน และต้องบอกว่านายสุริยะรอดแบบสร้างความเคลือบแคลใจให้หลายฝ่าย ซึ่งนั่นก็คือคดีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัสแบบ A340-500 และแบบ A340-600 จำนวน 10 ลำ ในช่วงปี 2546-2547 ทำให้บริษัทการบินไทยได้รับความเสียหาย และการจัดซื้อครั้งนี้ถูกยกให้เป็นต้นเหตุที่ทำให้การบินไทยประสบปัญหาขาดทุน โดยเครื่องบินแอร์บัสทั้ง 10 ลำ ที่จัดซื้อในช่วงปี 2546-2547 นั้น เป็นยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร และนายสุริยะเองในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามเสนอเรื่องจัดซื้อเข้าสู่ที่ประชุม ครม. โดยล็อตแรก ครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ให้การบินไทยจัดซื้อ 8 ลำ ล็อตที่สอง ครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 ให้การบินไทยจัดซื้ออีก 2 ลำ เครื่องบินแอร์บัสทั้ง 2 รุ่นดังกล่าว เริ่มทำการบินตั้งแต่เดือน กรกฏาคม 2548 ถึง 7 มกราคม 2556 ในเส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก ,กรุงเทพ-ลอสแองเจลิส และเส้นทางอื่นๆ รวม 51 เส้นทาง แต่ประสบปัญหาขาดทุนในทุกเส้นทางที่ทำการบินไม่น้อยกว่า 39,859.52 ล้านบาท ขณะเดียวกันมีการใช้งานไม่คุ้มค่า ใช้งานได้เพียง 6-10 ปี ต่ำกว่าอายุการใช้งานเครื่องบินโดยทั่วไปที่กำหนดไว้ 20 ปี ปัจจุบันเครื่องบินดังกล่าวได้ปลดระวางแล้ว อยู่ระหว่างการจอดรอจำหน่าย ทำให้การบินไทย ขาดทุนจากการด้อยค่าเครื่องบินไม่ต่ำกว่า 22,943.97 ล้านบาท เมื่อนำผลขาดทุนจากการจัดซื้อและการบริหารจัดการเครื่องบินแอร์บัสทั้ง 10 ลำ มารวมกัน ทำให้การบินไทย ประสบภาวะการขาดทุนรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 62,803.49 ล้านบาท

โดยในเดือนกันยายน 2564 ป.ป.ช.ได้มีมติตั้งองค์คณะไต่สวนในเรื่องนี้ โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกตั้งไต่สวนคือ นายทักษิณเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกฯ ,นายสุริยะเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ,นายพิเชษฐ สถิรชวาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ,นายทนง พิทยะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย และนายกนก อภิรดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย แต่ทว่าในการพิจารณาขององค์คณะไต่สวนคดีนี้ของ ป.ป.ช. เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ป.ป.ช.กลับมีมติให้แจ้งข้อกล่าวหาเพียงนายทักษิณ ,นายพิเชษฐ ,นายทนง และนายกนก ส่วนนายสุริยะรอด โดยให้เหตุผลว่า การอนุมัติให้มีการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส จำนวน 10 ลำดังกล่าวนั้น นายสุริยะไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบและกำกับดูแลการบินไทย แต่เป็นนายพิเชษฐในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลการบินไทย

ซึ่งในเวลานั้นนายพิเชษฐถึงกับให้สัมภาษณ์ด้วยความมึนงงที่นายสุริยะรอด เพราะอำนาจในการจัดซื้อเป็นของบอร์ดการบินไทย จากนั้นจะเสนอเรื่องมาที่กระทรวงคมนาคม และคนที่จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุม ครม. คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น คือ นายสุริยะ อย่างไรก็ตามต่อมาในเดือนกรกฏาคม 2556 ป.ป.ช.ชุดใหญ่ ได้มีมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้อง ทำให้ นายทักษิณ นายทะนง นายพิเชษฐ และนายกนก พ้นข้อกล่าวหายกล็อตตามนายสุริยะ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง
รมว.วัฒนธรรม เปิดงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลครั้งที่ 14 ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว กระบี่ เร่งส่งเสริมวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวเล
ป้าย สุดเจ๋ง "รับซื้อบ้านผีสิง" เจ้าของป้ายรับซื้อจริง มารีโนเวทขาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น