“นอนหลับมากเกินไป” เสี่ยง ซึมเศร้า จริงหรือ เช็ค 7 วิธีแก้ไข

TOP News ห่วงใย นอนหลับมากเกินไป อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตอย่าง โรคซึมเศร้า ได้จริงหรือ เช็ค ๆ ข้อมูลจาก ผศ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงสาเหตุ ผลกระทบ และวิธีแก้ไข รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์

"นอนหลับมากเกินไป" อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตอย่าง โรคซึมเศร้า ได้จริงหรือ เช็ค ๆ สาเหตุ ผลกระทบ และวิธีแก้ไข รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์

TOP News ห่วงใย “นอนหลับมากเกินไป” อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตอย่าง โรคซึมเศร้า ได้จริงหรือ เช็ค ๆ ข้อมูลจาก ผศ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงสาเหตุ ผลกระทบ และวิธีแก้ไข รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์

ข่าวที่น่าสนใจ

TOP News ห่วงใย นอนหลับมากเกินไป อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตอย่าง โรคซึมเศร้า ได้จริงหรือ เช็ค ๆ ข้อมูลจาก ผศ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงสาเหตุ ผลกระทบ และวิธีแก้ไข รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์

การนอนหลับ คือการพักผ่อนที่ดีต่อสุขภาพและร่างกาย แต่การ “นอนหลับมากเกินไป” ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น ทำให้ร่างกายดูเฉื่อยชา ไม่สดชื่น ไร้ชีวิตชีวา ในบางครั้งอาจรับประทานอาหารน้อยแต่ทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ง่าย และการนอนที่มากเกินไปอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตอย่าง โรคซึมเศร้า ได้เช่นกัน

อาการที่บอกว่านอนมากเกินไป

  • การนอนมากเกินไป (hypersomnia) เป็นสิ่งที่ผิดปกติ เกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภาวะนี้จะมีลักษณะที่ต้องการนอนเพิ่มขึ้นทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน อาจรู้สึกง่วงเพลีย แม้เราจะหลับมาอย่างมากเพียงพอแล้ว เมื่อตื่นขึ้นมาอาจงัวเงีย ไม่สดชื่น บางครั้งอาจจะรู้สึกสมาธิหรือความจำแย่ลง รู้สึกเพลียทั้งวันไม่ค่อยมีแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ บางคนอาจหงุดหงิดง่ายทำให้มีปัญหาทะเลาะกับบุคคลอื่น ๆ เป็นประจำ และระหว่างวันมีความต้องการที่จะนอนหลับหลาย ๆ ครั้ง บางรายอาจเกิดขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ขับรถ ใช้เครื่องจักรที่อาจเกิดอันตราย ขณะคุยกัน หรือระหว่างรับประทานอาหาร

สาเหตุ

  1. อดนอนเป็นเวลานานและบ่อยครั้งจนร่างกายพักผ่อนไม่พอ
  2. ร่างกายแปรปรวน ปรับเวลาผิด เช่น การเดินทางข้ามประเทศที่ต่างช่วงเวลากัน
  3. ฮอร์โมนในร่างกายหรือสารเคมีในสมองไม่ปกติ
  4. นอนกรน มีภาวะการหยุดหายใจในช่วงนอนหลับทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่พอ
  5. สมองได้รับบาดเจ็บหรือโรคเกี่ยวกับทางสมอง
  6. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาคลายเครียด
  7. สุขภาพจิต เช่น ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า อาจมีเรื่องการนอนไม่หลับหรือบางคนหลับมากเกินไปรู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา ไม่อยากทำอะไร อยากนอนตลอดทั้งวัน

ผลกระทบ

  1. สมองเฉื่อยชา สมองล้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา
  2. ประสิทธิภาพการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อ ลดลงหากไม่มีการเคลื่อนไหวนาน ๆ
  3. น้ำหนักเกิน เนื่องจากระบบการเผาผลาญไขมันลดลง มีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง และไขมันในเลือดสูง
  4. ไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ ของตนเอง อาจถูกตำหนิต่อว่าจากคนรอบข้าง เกิดความรู้สึกขาดคุณค่า และเกิดเป็นภาวะซึมเศร้าได้

การนอนและภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์กันอย่างไร

  • ปัญหาการนอนเป็นส่วนหนึ่งของภาวะซึมเศร้า อาจนอนมากเกินไปหรือนอนไม่พอเมื่อมีภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้าทำให้มีความรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ไร้ค่า และไร้ประโยชน์ ไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่ได้ตามปกติ อาการซึมเศร้าที่ควรเฝ้าสังเกต
  1. รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า หรือหงุดหงิดง่าย
  2. รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า หรือรู้สึกผิด
  3. รู้สึกอ่อนเพลียและเชื่องช้า
  4. วิตกกังวลและกระวนกระวาย
  5. ขาดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ
  6. หมดแรง
  7. มีปัญหาเกี่ยวกับการทำสมาธิ การคิด หรือการตัดสินใจ
  8. ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไปทำให้น้ำหนักร่างกายเปลี่ยนแปลง
  9. ความอยากนอนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  10. คิดเกี่ยวกับการตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ วางแผนหรือพยายามทำร้ายตัวเอง

TOP News ห่วงใย นอนหลับมากเกินไป อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตอย่าง โรคซึมเศร้า ได้จริงหรือ เช็ค ๆ ข้อมูลจาก ผศ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงสาเหตุ ผลกระทบ และวิธีแก้ไข รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์

วิธีแก้ไขอาการ “นอนหลับมากเกินไป”

  1. เข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม เพราะปกติร่างกายจะนอนหลับเป็นรอบ ถ้าเริ่มตั้งแต่เคลิ้ม ๆ สะลึมสะลือจนถึงขั้นหลับลึก จะกินเวลารอบละ 90 นาที คืนละ 5-6 รอบ ยิ่งนอนหัวค่ำก็จะทำให้มีโอกาสนอนได้หลับลึกมากขึ้น
  2. กำหนดตารางเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดียวกันทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอ
  3. จัดห้องนอนให้โปร่งโล่ง อากาศระบายได้ดี ร่างกายที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้สมองเซื่องซึม และง่วงนอนตลอดเวลา
  4. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงก่อนเวลาเข้านอน
  5. นั่งสมาธิหรือกิจกรรมเบา ๆ เพื่อผ่อนคลายก่อนเข้านอน
  6. รับประทานอาหารเป็นเวลาสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการกินจนแน่นก่อนเวลาเข้านอน
  7. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน สูบบุหรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนช่วงเวลาเช้านอน

คำแนะนำแพทย์

  • แพทย์จะซักประวัติดูลักษณะการนอนเพื่อหาสาเหตุหากพบว่าเกิดจากสุขลักษณะการนอนที่ไม่ถูกต้อง แพทย์แนะนำให้ปรับสุขลักษณะการนอนให้ถูกต้องมากขึ้น เช่น การพยายามเข้านอนให้เป็นเวลาสม่ำเสมอการปรับเรื่องของกิจวัตรประจำวันก่อนการเข้านอน และการออกกำลังกาย และให้การรักษาที่สาเหตุของการนอนมากเกินไป

TOP News ห่วงใย นอนหลับมากเกินไป อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตอย่าง โรคซึมเศร้า ได้จริงหรือ เช็ค ๆ ข้อมูลจาก ผศ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงสาเหตุ ผลกระทบ และวิธีแก้ไข รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์

OfficeMate : FURRADEC (Haru, Comfy) 17 Oct – 31 Oct 2023

  • ดีลดี เก้าอี้ FURRADEC 2 รุ่นฮิต ลดพิเศษสูงสุด 51% + รับฟรี Central Gift Voucher มูลค่า 300.- ช้อปเลย : คลิกที่นี่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น