กลุ่มก้าวหน้า-ก้าวไกลเคลื่อนไหวหนัก จัดทีมชิงบอร์ดประกันสังคม อึ้งประวัติไม่ธรรมดา

จับตา!ก้าวหน้า-ก้าวไกลรุกหนัก ส่งคนสมัครเลือกตั้ง หวังยึดบอร์ดประกันสังคม ใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายพรรค เจาะฐานเสียงผู้ประกันตน 24 ล้านคน

กำลังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อขณะนี้สำนักงานประกันสังคม ได้เปิดรับสมัครเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม หรือ บอร์ดประกันสังคมเป็นครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 25-31 ตุลาคม 2566 ก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566 เวลา 08.00-16.00 น. โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 และนายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตน 1 คน สามารถลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนได้ 7 คน ส่วนนายจ้าง 1 คน สามารถลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทนฝ่ายนายจ้างได้ 7 คนเช่นกัน ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งได้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566

 

 

สำหรับบอร์ดประกันสังคม ประกอบด้วยฝ่ายรัฐบาล ที่นำทีมโดยปลัดกระทรวงแรงงาน 1 คน และกรรมการอีก 6 คน ต่อด้วยผู้แทนฝ่ายนายจ้าง อีก 7 คน และ ผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน หรือผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง อีก 7 คน รวมทั้งสิ้นเป็น 21 คน

ข่าวที่น่าสนใจ

ซึ่งประเด็นนี้มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจจากพรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้า ได้เปิดประเด็นการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมมาระยะหนึ่ง โดยใช้ทุกองคพายพและทุกแพลตฟอร์มในโซเชียลมีเดียในการจุดประเด็นเรื่องนี้ ทั้งจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ,สส.ของพรรคก้าวไกล ,เวทีสภาผู้แทนราษฎร รวมไปถึงกลไกลกรรมาธิการที่เป็นโควตาของพรรคก้าวไกล ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม

 

 

 

 

 

ส่วนสาเหตุที่คณะก้าวหน้าและพรรคก้าวไกลจุดประเด็นในเรื่องนี้อย่างหนัก นั่นเป็นเพราะว่าคณะก้าวหน้า ได้ส่งผู้สมัครของกลุ่มลงเลือกตั้งเป็นบอร์ดประกันสังคมด้วย ภายใต้ชื่อ “ทีมประกันสังคมก้าวหน้า” โดยลงสมัครในสัดส่วนผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง พร้อมชูสโลแกน “ประกันสังคม เป็นประชาธิปไตย ประกันสังคม สู่รัฐสวัสดิการ ประกันสังคมของเราทุกคน”

 

 

 

 

สำหรับทีมประกันสังคมก้าวหน้ามีผู้สมัครทั้งหมด 8 คน ประกอบด้วย

1.รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี หัวหน้าศูนย์วิจัยรัฐสวัสดิการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเจ้าตัวเป็นผู้ใฝ่ฝันรัฐสวัสดิกการ เคยเสนอแคมเปญล้างหนี้กยศ. จนถูกสังคมวิจารณ์อย่างหนัก เพราะไม่เห็นด้วย เจ้าตัวยังเคยมีความเห็นว่า ถ้าผมขอล้างหนี้กยศ.ให้เด็ก 3 ล้านคนทั่วประเทศ ขอเงินบำนาญถ้วนหน้า 3,000 บาท ให้ผู้สูงอายุ 11 ล้านคน ผมจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์

2.นายศิววงศ์ สุขทวี ที่ปรึกษาเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสามัญชน

3.นายชลิต รัษฐปานะ สมาชิกสหภาพคนทำงาน

4.นายธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง ซึ่งสหภาพกลุ่มนี้ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมในช่วงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์หลายครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 จัดกิจกรรมยื่นข้อเรียกร้องให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเร็ว หรือกรณีวันที่ 8 มีนาคม 2564 เนื่องในวันสตรีสากล ทางกลุ่มและเครือข่ายได้มาชุมนุมที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคพลังประชารัฐดำเนินนโยบายตามที่เคยหาเสียงไว้

5.นางสาวนลัทพร ไกรฤกษ์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่

6.ลักษมี สุวรรณภักดี ประธานสหภาพแรงงานมอลลิเก้ เฮลท์ แคร์

7.นางสาวธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน หรือ ไหม ธนพร ซึ่งเจ้าตัวเป็นหนึ่งในแนวร่วมม็อบ 3 นิ้ว ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ตั้งแต่ช่วงปี 2563 โดยใช้ประเด็นแรงงานบังหน้า โดยไหม ธนพร ถือเป็นคู่หูกับนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตผู้ต้องหาคดี 112 และเป็นแกนนำกลุ่ม 24มิถุนา ประชาธิปไตย ที่ออกมาจัดกิจกรรมในประเด็นต่างๆร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

8.นายบุญยืน สุขใหม่ ประธานสภาองค์กรลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย และเป็นแกนนำกลุ่มสมัชชาคนจน

ส่วนอำนาจหน้าที่ของบอร์ดประกันสังคมนั้น มีดังนี้

1. เสนอความคิดเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการในการประกันสังคมตามพระราชบัญญัติ
2.พิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกา การออกกฎกระทรวง และระเบียบต่างๆ
3.วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุน โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
4.วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคมโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
5.พิจารณางบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานประกันสังคม
6.ให้คำปรึกษาและแนะนำคณะกรรมการ/สำนักงานประกันสังคม
7.ปฏิบัติการอื่นใดตามกฎหมาย หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมอบหมาย

 

 

 

 

ซึ่งการที่คณะก้าวหน้าและพรรคก้าวไกลส่งตัวแทนเข้าไปสมัครเป็นบอร์ดประกันสังคมในครั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นแผนในการขยายฐานเสียงให้กับพรรคก้าวไกลไปในตัวหรือไม่ โดยนำนโยบายของพรรคก้าวไกลในด้านแรงงานไปขับเคลื่อนผ่านบอร์ดประกันสังคม เห็นได้จากการที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.และรองโฆษกพรรคก้าวไกล ได้ยอมรับเองว่า การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมในครั้งนี้ จะเป็นกลไกที่ดีในการส่งตัวแทนเข้าไปขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนทำงานและแปรเงินที่แต่ละคนส่งเข้ากองทุนให้ออกมาเป็นสวัสดิการที่ตอบโจทย์ที่สุด

ปัจจุบันมีจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 24 ล้านคน ส่วนจำนวนผู้ประกันตนที่มีสิทธิเลือกตั้งมีจำนวน 12 ล้านคน นี่จึงเป็นตัวเลขสำคัญ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งหน้า

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น