เมื่อเวลา 08.39 น. วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 พระครูบรรพตคณานุกูล เจ้าคณะอำเภอท่าตะเกียบ เจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำแรด หมู่ที่ 9 บ้านห้วยตะปอก ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วย นายบุญนาค พรพจน์ธนมาศ หรือนายกเล้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเกรา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมไหว้พระสวดมนต์ ณ ถ้ำพระพุทธชินราชบนยอดเขาถ้าแรดภายในถ้ำมีการบูชาพระพุทธรูปทั้ง สององค์ มีการร่วมใจคนในท้องถิ่นทั้งผู้ใหญ่บ้าน อสม. คณะครู น้องๆนักเรียน แต่งกายเป็นพระอินทร์ เทวดา นางฟ้า และเหล่านางสวรรค์ รวมถึงผีเสื้อสมุทรที่สื่อให้เห็นตามความเชื่อว่าครั้งหนึ่งผีเสื้อสมุทรมาติดอยู่ในถ้ำ กว่าจะออกมาได้ก็ช่วงวันออกพรรษา
หลังพิธีด้านบนถ้ำพระพุทธชินราชบนยอดเขาถ้าแรดเสร็จ ขบวนนำโดยพระอินทร์ ก็เดินนำลงมาตามขั้นบันได ตลอดสองฝั่งมีชาวบ้านกว่า500คน นำลูกโยน ข้ามต้มหาง ข้าวสารมากมาย พร้อมดอกไม้ในท้องถิ่นรอนำใส่บาตร พร้อมปัจจัยใส่ให้ทั้งเทวดา นางฟ้า พระอินทร์ ทราบว่าชาวบ้านที่มาทำบุญตักบาตรเทโว ไม่ใช่เพียงคนในสี่ห้าหมู่บ้านในพื้นที่เท่านั้น ยังมีมาจากกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ที่รู้ข่าวว่าที่อำเภอท่าตะเกียบ มีประเพณีตักบาตรเทโวลงมาจากถ้ำบนยอดเขา จึงทำให้ผู้ศรัทธาเนืองแน่น ทันทีที่ขบวนลงมาถึงด้านล่างก็สุดตระการตาเมื่อพระอินทร์ต้องนำขบวนผ่านอุโมงค์คน ที่ทางวัดจัดเตรียมเก้าอี้สำหรับผู้สูงวัยผู้พิการชาวบ้านเป็นทางยาวกว่า200เมตร ซึ่งระยะทางจากบนเขาลงมาจนถึงศาลาการเปรียญก็รวมประมาณ 500 เมตร ผู้คนก็รวมๆเกือบพันคน และทั้งวัดหอมไปด้วยกลิ่นกะทิจากข้ามต้น ลูกโยนล้นท้ายกระบะรถ
ด้านนายบุญนาค พรพจน์ธนมาศ หรือนายกฯเล้ง นายก อบต.คลองตะเกรา บอกกับผู้สื่อข่าวหลังเป็นตัวแทน ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ว่าจะผลักดันประเพณีดีงามนี้สอดคล้องไปกับนโยบายรัฐคือซอฟพราวเวอร์ ซึ่งท่านนายกเล้งก็ยังมารอใส่บาตรแบบทำหน้าที่ครบจบ ขณะที่พระครูบรรพตคณานุกูล เจ้าคณะอำเภอท่าตะเกียบ เจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำแรดกล่าวด้วยรอยยิ้มหลังนำขบวนใกล้เสร็จว่า ปีนี้ประชาชนมาแน่นกว่าทุกๆปี จะพยามนำสืบสานประเพณีของพระพุทธศาสนาสืบนานต่อไป
สราวุฒิ บุญสร้าง ผู้สื่อข่าวภูมิภาคฉะเชิงเทรา