logo

เปิดมาตรการอุดหนุน ซื้อรถ EV ผลักดันไทยฮับผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

เปิดมาตรการอุดหนุน ซื้อรถ EV ผลักดันไทยฮับผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 1 พ.ย.66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

บอร์ดอีวี ได้เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2567 – 2570) เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนที่ครอบคลุมทั้งรถยนต์นั่ง รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ EV3 สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการใหม่นี้เพิ่มเติมได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแต่ละมาตรการด้วย

 

 

ย้อนดู มาตรการ EV 3.0 ที่มอบส่วนลดสูงสุดให้กับผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการ โดยส่วนลดสูงสุดที่ได้คือ 1.5 แสนบาท ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตาม บอร์ดอีวี เมื่อ 1 พ.ย.66 ได้เห็นชอบให้กรมสรรพสามิต ขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV 3 จากเดิมที่ต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้ขยายเวลาเป็นต้องจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 เพื่อให้ผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าภายในงาน Thailand International Motor Expo ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน -11 ธันวาคม 2566 ยื่นจดทะเบียนได้ทันภายในเดือนมกราคม 2567

โดยหากเปรียบเทียบกับมาตรการ EV 3 กับ EV 3.5 พบว่า EV 3.5 มีการปรับเกณฑ์ใหม่ทั้งขนาดแบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้น แต่เงินอุดหนุนลดลง โดยของเดิม EV 3 ให้เงินอุดหนุนตั้งแต่ 18,000 – 150,000 บาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับการเดินหน้า มาตรการ EV 3.5 เพื่อเดินหน้าตามนโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2573 ผลักดันไทยขึ้นแท่นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของภูมิภาค และ 10 อันดับแรกของโลก

โดยมาตรการ EV 3.5 รัฐจะให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ตามประเภทของรถ และขนาดของแบตเตอรี่ ดังนี้

– กรณีรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh (กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง) จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000 – 100,000 บาท/คัน สำหรับขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 20,000 – 50,000 บาท/คัน

– กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000 – 100,000 บาท/คัน

– กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 5,000 – 10,000 บาท/คัน

 

 

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดอัตราเงินอุดหนุนที่เหมาะสมและจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป

สำหรับมาตรการ EV 3.5 จะมีการลดอากรนำเข้าไม่เกินร้อยละ 40 สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU) ในช่วง 2 ปีแรก (พ.ศ. 2567 – 2568) กรณีเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และลดอัตราภาษีสรรพสามิตจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 2 สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท

 

 เงื่อนไขกระตุ้นการลงทุนในประเทศ สำหรับมาตรการ EV3.5

– ผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชดเชยการนำเข้า ในอัตราส่วน 1:2 ภายในปี 2569 ตัวอย่างเช่น นำเข้ามา 1 คัน ต้องผลิตชดเชย 2 คัน (มาตรการเดิม EV 3 นำเข้ามา 1 คัน ผลิตชดเชย 1 คัน เริ่มผลิตภายในปี 2567) และเพิ่มอัตราส่วน 1:3 ภายในปี 2570 กล่าวคือ นำเข้า 1 คัน ต้องผลิตชดเชย 3 คัน

– แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU ) ที่นำเข้าและที่ผลิตในไทยจะต้องได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานสากลจากศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC)

– เงื่อนไขการใช้แบตเตอรี่และชิ้นส่วนเป็นไปตามมาตรการ EV 3

 

 

ด้านนายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เปิดเผยว่า มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะแรก หรือ EV 3 ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมมาตรการสนับสนุนฯ แล้ว รวมทั้งสิ้น 13 แบรนด์ จาก 15 บริษัท ทั้งในประเภทรถยนต์นั่งไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า สร้างผลสำเร็จในการกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม – กันยายน 2566) มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่จำนวน 50,340 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.6 เท่า และนับตั้งแต่มีการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2560 ได้ก่อให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า มูลค่ารวม 61,425 ล้านบาท จากโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ การผลิตชิ้นส่วนสำคัญ รวมถึงสถานีอัดประจุไฟฟ้า

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นาทีสะพรึง ทอร์นาโดถล่มเมืองในมณฑลซานตง(คลิป)
ผู้บริจาครายใหญ่พักให้ทุน หากไบเดนไม่ถอนตัว
"ดร.นิว" ฝากให้คิด "รุ้ง ปนัสยา" ควรรู้แก่ใจ ทำไมต้องออกหน้าสู้ แล้วตัวเองติดคุกแทน
เจ้าอาวาส ถกจีวร ลงรถเจรจางูเหลือมยาวกว่า 4 ม. นอนเหยียดยาวขวางถนน ขณะเดินทางกลับวัด เชื่อเป็นลางแจ้งเตือนให้ระวังอย่าไปไหนให้รีบกลับวัด
นทท.แตกตื่น แห่ถ่ายรูป "ต้นไม้" โผล่กลางหาดทรายนาจอมเทียน
คิดว่าจะรอด ตำรวจทางหลวง สกัดจับรถกระบะ 4 ประตูลอบขนบุหรี่และเบียร์เถื่อนจากเขมร
"ทนายอนันต์ชัย" แจงเป็นคนดึง “ต้นอ้อ เป็นหนึ่ง” ร่วมทีมต้านลัทธิเชื่อมจิต ลั่นไม่ยุ่งส่วนตัว
“เครือข่ายกัญชา” รวมพลังบุกทำเนียบฯ 8 ก.ค.นี้ ลั่นต้านสุดกำลังค้านคืนบัญชียาเสพติด
ด่วน มติบอร์ดอ้างโพล ดัน "กัญชา" คืนบัญชียาเสพติด ชงป.ป.ส.เดินหน้าแก้ร่างกม.ให้มีผล 1 ม.ค. 68
"ราชกิจจาฯ" ประกาศรายชื่อ วัตถุห้ามใช้ เป็นส่วนผสมผลิตเครื่องสำอาง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น