“นิกร” ห่วงประชามติแก้รธน. คนออกใช้สิทธิไม่ถึงครึ่ง โยนสภาแก้กม.ให้คลี่คลาย

"นิกร" ห่วงประชามติแก้รธน. คนออกใช้สิทธิไม่ถึงครึ่ง โยนสภาแก้กม.ให้คลี่คลาย

วันนี้ (8 พ.ย.66) นายนิกร จํานง ประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เปิดเผยภายหลังการหารือกับกลุ่มนักศึกษาถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เราตั้งใจหารือกับคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นผู้ใช้รัฐธรรมนูญนานกว่าคนรุ่นของตนเอง โดยวันนี้เชิญกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มราษฎร 63 ที่เคยจัดชุมนุมและให้ความเห็นเรื่องการทำประชามติ โดยเราได้ส่งคำถามที่ใช้ถามต่อสมาชิกรัฐสภาให้กับกลุ่มนักศึกษาที่เข้ามาพูดคุยด้วย เพื่อดูว่ามีความเห็นอย่างไร และทดสอบคำถามไปในตัวด้วย ทั้งนี้เมื่อได้มติจากคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นแล้ว จะนำคำถามเหล่านี้ไปสอบถามต่อสมาชิกรัฐสภา 750 คน เมื่อมีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยจะขออนุญาตนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอเรื่องนี้เข้าไปในที่ประชุม สส.และ สว. คาดว่าจะเข้าที่ประชุม สส.ในวันที่ 13-14 ธ.ค.66 และเข้าที่ประชุม สว.ในวันที่ 18-19 ธ.ค.66 จากนั้นจึงจะประชุมในวันที่ 22 ธ.ค.66 กับนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ

เพื่อให้ได้ข้อสรุป จากที่ได้หารือกับนายวุฒิสาร ตันไชย ประธานอนุกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติ ซึ่งเมื่อเช้าเชิญ กกต. มาหารือ กกต.ได้สอบถามค่าใช้จ่ายในการทำประชามติ ที่ประชุมจึงเสนอจํานวน 3,250 ล้านบาท และอาจจะต้องใช้แอปพลิเคชัน เนื่องจากเราไม่มีเครื่องมือ และอาจต้องใช้งบสูงถึง 10,000 ล้านบาท ส่วนที่มีข้อเสนอให้ทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งอื่น ๆ พบว่ามีข้อกฎหมาย 3 ฉบับซ้อนกัน ดังนั้นหากมีการสอบถามความเห็นการทำประชามติในขั้นตอนแรกก็คงไม่ทัน เพราะต้องรอไปถึงเดือน พ.ย.67 แต่อาจจะทําซ้อนได้ในการทําประชามติครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลเรื่องกฎหมายที่ใช้ทำประชามติ กำหนดให้มีเสียงข้างมาก 2 ชั้น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ประชาชนใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของทั้งหมด เท่ากับ 20 กว่าล้านคน ทำให้มีข้อกังวลว่าเมื่อไม่ใช่การเลือกตั้ง สส. จะทำให้การออกมาของประชาชนเป็นเรื่องยาก การที่ประชาชนจะออกมาเกินกึ่งหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย มีโอกาสจะเดี้ยง เพราะในกึ่งหนึ่งนั้นจะต้องมีส่วนเห็นชอบด้วยกึ่งหนึ่ง โดยการทำประชามติครั้งแรกอาจได้รับความสนใจ แต่ในรอบ 2 ประชาชนจะเข้าใจในมาตรา 256 เรื่องการตั้ง ส.ส.ร.หรือไม่ อาจเป็นตัวเร่งให้ทำซ้อนพร้อมกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แต่อาจจะตกม้าตาย เพราะประชาชนออกมาไม่ครบ จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าหากกฎหมายทําประชามติมีปัญหาก็ต้องแก้ เป็นเรื่องที่สภาฯ ต้องไปคุยกัน แต่คณะอนุฯ ของเราไม่รอ จะทำตามกฏหมายที่มีอยู่ ส่วนการแก้ไขกฎหมายประชามติ คงใช้เวลาไม่นาน เพราะถ้าแก้กฎหมายทําประชามติแล้ว ก็น่าจะเริ่มขั้นตอนถามความคิดเห็นจากประชาชนเรื่องการทําประชามติในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.67 ส่วนตัวมองว่าทำไม่ได้ เพราะประชาชนออกมาใช้สิทธิไม่ครบ ทั้งนี้ หากมีการถามเรื่องประชามติในช่วง เม.ย.67 น่าจะใช้เวลาประมาน 90-120 วัน ก่อนจะทำประชามติต่อไป

นิกร" พร้อมโหวตหนุนร่างแก้รธน. ของพรรคเพื่อไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ผู้ต้องหาเยาวชน" หนีตำรวจ กระโดดลงคลองแสนแสบ จมน้ำดับสลด
สลด! หนูน้อย 6 ขวบ ลื่นตะไคร่หัวปักจมอ่างเก็บน้ำดับ แม่ร่ำไห้แทบขาดใจ พุ่งกอดศพลูกด้วยความอาลัย
ไม่มีละเว้น "ทบ." สั่งขังสิบเวร ปมลงโทษทหารเกินกว่าเหตุในหน่วยลพบุรี
เปิดผลสำรวจ ความสุขในฐานะทางการเงินของชีวิตคนไทย เพิ่มขึ้น
"ป้า" น้องปูอัด ฮีโร่รถบัสไฟไหม้ สุดงง "แม่" โผล่ทวงสิทธิ รับเงินเยียวยา 1.2 ล้าน ทั้งที่ไม่เคยเลี้ยงดู
ตร.ตามจับหนุ่มใหญ่ติดแบล็คลิสต์ สวมเลขบัตรปชช.คนอื่น ทำบัตรเครดิต หนีหนี้กว่าครึ่งล้าน
"อนุทิน" สละเงินเดือน มอบให้ อส.ช่วยน้ำท่วม พร้อมขอโทษชาวบ้าน ยอมรับว่าสถานการณ์ปีนี้หนัก
"จตุพร" ประกาศตามหา "ทักษิณ" อยู่ไหน แย้มแว่วๆ ได้ข่าวมา "แพทยสภา" ส่งเรื่องชั้น 14 ให้ กสม.แล้ว
"กรมการขนส่ง" ออกโรงแจง หลังโซเชียลแชร์ว่อน รถบัสนักเรียนมีควันท่วม
แม่ค้าสัตหีบ ผวา แบงค์ปลอมระบาด ส่องดูในหลวงหาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น