นบข.เคาะเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 เสนอครม. 14 พ.ย.นี้

นบข. มีมติสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ ปีการผลิต 2566/67 ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 2 หมื่นบาทต่อครัวเรือน มีเป้าหมาย 4.68 ล้านครัวเรือน เตรียมเสนอครม. 14 พ.ย.นี้ และเริ่มจ่ายเงินทันทีหลังมีมติครม.

วันที่ 10 พ.ย.66 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 2/2566 ว่า ที่ประชุม นบข. มีมติสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ และไม่เกิน 2 หมื่นบาทต่อครัวเรือน รวมใช้เงินทั้งสิ้น 56,321 ล้านบาท โดยมีเป้าหมาย 4.68 ล้านครัวเรือน ซึ่งจะนำเสนอครม.ในวันที่ 14 พฤศจิกายน และเริ่มจ่ายเงินทันทีหลังมีมติครม. โดยผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร คาดว่าชาวนาจะได้รับเงินภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

อย่างไรก็ตาม สำหรับเงินช่วยค่าบริหารจัดการ 1,000 บาทนั้น ในปีฤดูกาลผลิตหน้า นายภูมิธรรม ระบุว่า จะมีการพิจารณาอีกครั้ง โดยจะไม่มีการจ่ายในรูปแบบเดิม และจะเน้นการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าแทน โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปคิดวิธีการเพื่อนำมาเสนออีกครั้ง

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายภูมิธรรม กล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุม นบข.ยังได้กล่าวถึงมติครม. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สำหรับโครงการสินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกนาปี 2566/2667 ได้แก่

1.เห็นชอบราคารับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิสด ความชื้นไม่เกิน 25% โดยจะให้สินเชื่อตันละ 12,000 บาท และให้ค่าเก็บรักษาคุณภาพ ตันละ 1,500 บาท ระยะเวลา 5 เดือน ดังนั้น หากเกษตรกรที่เก็บรักษาผลผลิตด้วยตัวเองจะได้ เงินสินเชื่อ 13,500 บาทต่อตัน แต่กรณีชาวนาไม่มีที่เก็บต้องไปฝากสถาบันเกษตรหรือสหกรณ์ช่วยเก็บให้ สหกรณ์จะได้เงิน 1,000 บาท ส่วนเกษตรกรได้ 500 บาท โดยมีเป้าหมายที่ประมาณ 3 ล้านตัน

2. ขณะที่ โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 วงเงิน481.25 ล้านบาท เพื่อเข้าไปแทรกแซงตลาดหรือแย่งซื้อข้าวเปลือกในราคานำร่อง โดยข้าวเปลือกหอมมะลิความชื้นไม่เกิน 25% ตันละ 12,200 บาท เพื่อให้สูงกว่าราคาตลาดและเมื่อนำมาซื้อและขายได้แล้วจะต้องแบ่งกำไรให้กับชาวนา ตันละ 200-300 บาท เป้าหมายดูดซับ 1 ล้านตัน

 

 

 

โดยทั้ง 2 โครงการจะใช้งบประมาณจ่ายขาด 10,600 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นสินเชื่อ 44,437 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของโครงการแรก ดอกเบี้ย ธ.ก.ส. รัฐบาลช่วยจ่าย แต่ในโครงการที่ 2 ดอกเบี้ย 4.50- 4.85% รัฐบาลจะช่วย ชดเชย 3.50-3.85% ขณะที่สถาบันการเงินจะชดเชยให้ 1% เมื่อรวม 3 โครงการ คิดเป็นวงเงินรวม 6.6 หมื่นล้านบาท จากเเหล่งเงินตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น