รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการและมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินของจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 70 ราย พร้อมรับฟังปัญหาความเดือดร้องของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือต่อไป โดยเฉพาะราคาข้าวที่ต่ำกว่าทุนของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และกลุ่มผู้เลี้ยงปลากะพงที่มีราคาถูก

ที่ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ ได้เดินทางมาตรวจราชการและมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินของจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 70 ราย พร้อมรับฟังปัญหาความเดือดร้องของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือ โดยมีนายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องคอยให้การต้อนรับ //// ด้านนายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กล่าวว่า จังหวัดฉะเชิงเทราได้ประกาศเขตดำเนินการปฏิรูปที่ดิน บนเนื้อที่ประมาณ 1,023,775 ไร ในพื้นที่ 10 อำเภอ 50 ตำบล เนื้อที่ดำเนินการหลังกันพื้นที่สาธารณูปโภคและหนังสือสำคัญออกแลว จำนวน 919,603 ไร แยกเปน ที่ดินรัฐ 865,104 ไร พื้นที่ 4 อำเภอ 11 ตำบล ดำเนินการจัดที่ดินใหเกษตรกร 32,871 ราย 45,146 แปลง เนื้อที่ประมาณ 647,350 ไร และที่ดินเอกชน ประกอบดวย ที่พระราชทาน ที่ราชพัสดุ ที่บริจาค และที่ดินจัดซื้อ จำนวน 54,499 ไร ในพื้นที่ 7 อำเภอ 41 ตำบล ดำเนินการจัดที่ดินใหเกษตรกร 3,429 ราย 4,920 แปลง เนื้อที่ ประมาณ 52,114 ไร และผลการดำเนินงานในปงบประมาณ พ.ศ. 2566 ส.ป.ก.ฉะเชิงเทรา ไดมีการ ดำเนินงานจัดที่ดิน 220 ราย เนื้อที่ประมาณ 3,885 ไร และจัดที่ดินแทนที่ 736 ราย เนื้อที่ประมาณ 11,794 ไร รวมทั้งสิ้น จำนวน 956 ราย เนื้อที่ประมาณ 15,679 ไร นอกเหนือจากงานจัดที่ดิน

ยังมีงานพัฒนาเกษตรกร โดยการ อบรมให้ความรูดานการผลิต การแปรรูปและสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก เกษตรกรไดพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินอีกด้วย ในขณะที่นายสุทธิ มะหะเลา นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย ได้เป็นตัวแทนเกษตรกรผู้ทำการประมง ทำหนังสือยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงกรณีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าปลากะพงจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ราคาปลากะพงในประเทศมีราคาที่ตกต่ำ จำนวน 12 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา 1,087 ราย จังหวัดสมุทรปราการ 165 ราย จังหวัดสงขลา 186 ราย จังหวัดปัตตานี 163 ราย จังหวัดสมุทรสงคราม 63 ราย จังหวัดสมุทรสาคร 36 ราย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 27 ราย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 23 ราย จังหวัดนครศรีธรรมราช 13 ราย จังหวัดนครปฐม 12 ราย จังหวัดนครสวรรค์ 10 ราย และจังหวัดชุมพร 2 ราย รวมเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงได้รับผลกระทบจากราคาตกต่ำรวมแล้วทั้งสิ้น 1,787 ราย

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยวของจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ทำหนังสือยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงกรณีราคาข้าวต่ำกว่าทุน ประกอบกับในพื้นที่ของอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ไม่มีสหกรณ์การเกษตรของอำเภอที่จะเข้ามารับซื้อข้าว เพราะมีโรงสีจำนวนมากทำหน้าที่ในการรับซื้อข้าวจากเกษตรกร ทำให้ราคาข้าวที่จำหน่ายได้มีราคาเสมอต้นทุน หรือต่ำกว่าต้นทุน จึงได้รับความเดือดร้อน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับปากว่าจะหาแนวทางในการให้การช่วยเหลือต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พลภูมิ" ห่วงปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย เสนอมาตรการ 4 ด้านให้ทุกหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน
เพจดังเตือน 2 ภูมิภาค จับตา! “ดินถล่ม” เอฟเฟกต์ลูกใหญ่จากแผ่นดินไหว
กระจ่างไหม รมต.สหรัฐฯเก็บภาษีเกาะร้างเพื่อปิดช่องโหว่
สหรัฐฯเสริม THAAD ในอิสราเอล-โยกแพทริออตจากเกาหลีใต้
รัสเซียโวยึดหมู่บ้านในแคว้นซูมี
ทีมสุนัขกู้ภัย K9 แถลงยุติภารกิจช่วยผู้ติดค้าง "ตึกสตง." ถล่ม เตรียมกลับที่ตั้ง ส่งมอบการค้นหาให้จนท. ต่อไป
มีชื่อแล้ว "น้องแมวส้ม" รอดชีวิต ซากตึกถล่ม โซเชียลแห่กดไลค์ รอคัดกรองคนพร้อมรับดูแล
DeepSeek หนุนภารกิจ'กู้ภัยจีน'ในเมียนมา
‘ซิน เคอ หยวน’นัดสื่อ 9 เม.ย.นี้ พร้อมแถลงปมเหล็กเส้นใช้สร้าง ‘ตึก สตง.’

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น