กลับมาอีกครั้ง คณะอาคันตุกะศิลปินนานาชาติ 7 ประเทศ เข้าชมการแสดงช้าง พร้อมร่วมลงนาม MOU และมอบรางวัล“ช้างทองคำ” แก่ควาญช้างยอดเยี่ยม

สุรินทร์ - กลับมาอีกครั้ง คณะอาคันตุกะศิลปินนานาชาติ 7 ประเทศ เข้าชมการแสดงช้างที่ศูนย์คชศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พร้อมร่วมลงนามความเข้าใจ (MOU.) เปิดสนามวิจัยคชศาสตร์ และโครงการสัญลักษณ์ช้าง และมิตรภาพไทย เกาหลีใต้ บัลกาเรีย เนปาล อินเดีย ฮังการี, และ อิตาลี และมอบรางวัล“ช้างทองคำ” แก่ควาญช้างยอดเยี่ยม

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ภาณุรัตน์ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมฆาลัย, อินเดีย ประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ ผู้ประสานงาน และประธานโครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ได้นำคณะอาคันตุกะศิลปินนานาชาติ (International artist delegations) จำนวน 7 ประเทศ คือ  เกาหลีใต้ บัลกาเรีย เนปาล อินเดีย ฮังการี, อิตาลี และประเทศไทย จำนวน 110 คน เดินทางมาเข้าชมการแสดงช้างที่ศูนย์คชศึกษาจังหวัดสุรินทร์  (โลกของช้าง) ที่ ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์  ในรอบพิเศษ เวลา 11.00 น. โดยมี นายศิริศักดิ์ ร่วมพัฒนา รองนายก อบจ.สุรินทร์ เป็นตัวแทนให้การต้อนรับ พร้อมกับได้มอบรางวัลยอดเยี่ยม “ช้างทองคำ” ให้แก่ นายบุญมา แสนดี , หมอสะเดียงอาวุโส อายุ 99 ปี  , นายประไพ โมกหอม ควาญช้างแฝดพลายทองคำ-ทองแท่ง และนายเหมา ทรัพย์มาก ควาญช้างหนุ่มเสก ที่เคยแสดงในภาพยนตร์เรื่ององบาก 2 เมื่อปี 2551 ด้วย ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยัง วัดป่าอาเจียง บ้านหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์

 

 

 

 

 

โดยมี ดร.พระครูสมุห์หาญ ปัญญาธโร เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง และคณะให้การต้อนรับ ซึ่งที่ผ่านมาทางมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ และโครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย  มีการจัดกิจกรรมก็จะได้รับความอนุเคราะห์ และความร่วมมือเป็นอย่างดี จาก ดร.พระครูสมุห์หาญ ปัญญาธโร  ซึ่งวัดป่าอาเจียง นับเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องช้าง ศาสนา และวัฒนธรรม ทางมูลนิธิฯจึงได้ถวายรางวัลยอดเยี่ยมช้างทองคำแก่เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง ต่อจากนั้นผู้แทนอาคันตุกะศิลปินนานาชาติ  ได้ร่วมดำเนินการในพิธีลงนามความเข้าใจ (MOU.) และความร่วมมือในอนาคตตามความเหมาะสมกับผู้เกี่ยวข้อง คือ ร่วมลงนามเปิดสนามวิจัยคชศาสตร์ และโครงการสัญลักษณ์ช้าง และมิตรภาพไทย กาหลีใต้ บัลกาเรีย เนปาล อินเดีย ฮังการี, และ อิตาลี พร้อมกับรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ก่อนจะออกเดินทางไปร่วมงานบุญกฐินพระราชทาน รณรงค์เรื่องสันติภาพ และแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ฯลฯ ที่อำเภอบัวเชด ตามลำดับและยังมีโครงการดำเนินงานอีก 2 กลุ่มเป็นครั้งที่ 27 และ 28 ด้วย

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ภาณุรัตน์ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมฆาลัย, อินเดีย ประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ ผู้ประสานงาน และประธานโครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ได้กล่าวขอบพระคุณ และได้กล่าวว่า ในโอกาสต่อไป จะได้ประสานงาน ในหลายพื้นที่ เพื่อร่วมกิจกรรมต่อไป แบบพอเพียง แบบบวร และมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ส่งเสริมศาสนา และวัฒนธรรม การศึกษาวิจัย การท่องเที่ยว สร้างความสุข สุขภาพ และสันติภาพร่วมกันกับนานาชาติ และในบ้านเมือง   ของเราแบบซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) ซึ่งสอดคล้องกับนโบายของชาติต่อไป

 

 

 

 

นอกจากนี้ ตัวแทนศิลปิน และผู้นำทีม 3 ประเทศ คือ ฮังการี อิตาลี และเนปาล ยังให้สัมภาษณ์กับสื่อมอลชนถึงความพึงพอใจ และสิ่งที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้ ว่ามีประโยชน์ในหลายด้าน ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่ความสุข สุขภาพ และสันติภาพ โดยมีช้างเป็นสัตว์สัญลักษณ์แห่งความสุขและสันติภาพที่ทุกคนพึงพอใจที่ได้มาสัมผัส ได้เรียนรู้ ซึ่งในอนาคตจะได้ร่วมศึกษาวิจัยวิชาคชศาสตร์ เรื่องช้าง และสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในระดับนานาชาติต่อไป ส่วนตัวแทนจากประเทศเนปาล มีความต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการอบรมควาญช้างร่วมกัน ถ้ามาพักอบรมได้ก็ยิ่งดี หรืออบรมผ่านระบบออนไลน์ร่วมกัน โดยฝากความหวังร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือรัฐบาลต่อไป

 

 

 

 

 

ส่วน ดร.พระครูสมุห์หาญปัญญาธโร กล่าวถึงความร่วมมือในทุกกิจกรรมที่ผ่านมาว่า นานกว่าสิบปี ที่ได้มีกิจกรรมร่วมกันมา ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีหลายด้าน สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ประชาสัมพันธ์ เรื่อง ศาสนา วัฒนธรรม ช้าง การท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเศรษฐกิจ ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี ยินดีร่วมมือในทุกโอกาสแบบพอเพียงและตามความเหมาะสมต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

สำหรับมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ กองทุนเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติ หรือกองทุนซิป SIFFS Foundation  (Surin International Folklore Festival Foundation ) ปี พ.ศ. 2549 – 2559 นอกจากจะส่งเสริมวัฒนธรรมสุรินทร์ ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประเทศอาเซียน และขยายออกไปหลายประเทศ หลายทวีปตามลำดับ โดยใช้ “หลักศาสนา และวัฒนธรรมนำการพัฒนา การศึกษาควบคู่กัน สานสัมพันธ์สันติภาพไร้พรมแดน” สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และพัฒนาสู่การจัดการแสดงเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติ หรืองานซิป SIFFS (Surin International Folklore Festival) เมื่อปี 2549 ครั้งสุดท้ายจัดในเดือนมกราคม 2559 ครั้งที่ 11  จำนวน 19 ประเทศ 25 ทีม และโครงการ “เทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย” (Thailand International Folklore Festival / ไทยแลนดิฟฟ์  ThailandIFF) ปี พ.ศ. 2560-2566 เป็นการดำเนินงานที่มีส่วนร่วมในระดับนานาชาติ แบบ “บวร” (บอวอน) โดยการมีส่วนร่วมของ บ้าน วัด/ศาสนสถาน และราชการ ฯลฯ อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นปีที่มีการระบาดของโควิด-19

 

ยกตัวอย่างในปี 2563 จัดแสดงเทศกาลดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้นในหลายจังหวัด โดยใช้ชื่อว่า “เทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย” (Thailand International Folklore Festival / ไทยแลนดิฟฟ์  ThailandIFF) ได้เพิ่มทีมการแสดงออกเป็น 3 ชุด 23 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอัลจีเรีย (Algeria) บังกลาเทศ (Bangladesh) บัลกาเรีย (Bulgaria) สาธารณรัฐเชค (Czech Repupblic)แคนาดา (Canada) จีน (China) อียิปต์ (Egypt) ฮังการี (Hungary) อินเดีย (India) อินโดนีเชีย(Indonesia) อิสราเอล (Israel) ญี่ปุ่น (Japan) เกาหลี (Korea) เมกซิโก (Mexico) มอรอคโค (Morocco) นากาแลนด์ (Nagaland) เนปาล (Nepal) รัสเซีย (Russia) สโลวาเกีย (Slovakia) ศรีลังกา (Sri lanka) ใต้หวัน (Taiwan) และสหรัฐอเมริกา (ส่วนยูเครน ปีนี้ไม่ได้มา) ศิลปิน และทีมงานกว่า 600 คน ส่วนในปี 2566 จัดกิจกรรมเป็นหลายชุด หลายประเทศเช่นกัน.

 

 

 

ดร.สมศรี บุญมี รายงาน

เรียบเรียง / ชูชัย ดำรงสันติสุข ศูนย์ข่าวภูมิภาค TOP NEWS ภาคอีสาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น