รู้จัก อาการ "กินแล้วง่วง" (Food Coma) เปิด 5 สาเหตุสำคัญ อาการตลกร้ายหลังท้องอิ่ม พร้อมแจก 4 เคล็ดลับเอาชนะอาการง่วงซึม เลิกถ่างตาหลังท้องอิ่ม
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่อาการ “กินแล้วง่วง” หนังท้องตึง หนังตาหย่อน หลังรับประทานอาหาร (Food Coma) อาการไม่พึงประสงค์ที่คนทำงานไม่อยากเจอ แจก 4 เคล็ดลับ เลิกถ่างตาหลังท้องอิ่ม ต้องทำยังไงบ้าง มีคำตอบให้แล้ว
“กินแล้วง่วง” คืออะไร
- ทางการแพทย์เรียกว่า ฟู้ดโคม่า (Food Coma) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้เมื่อเรารับประทานอาหารในแต่ละมื้อที่มักประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
- เมื่อผ่านระบบการย่อยอาหารแล้วร่างกายจะกลั่นกรองน้ำตาล หรือกลูโคส ที่สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดนำไปใช้เป็นพลังงานในการใช้ชีวิตประจำ
- แต่ก็ยังมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งมาจากอาหารที่ทานเข้าไปเช่นเดียวกัน เรียกว่า ทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งสารนี้จะเข้าสู่สมองและระบบประสาททำให้ลดความตึงเครียด และทำให้เกิดอาการง่วงนอน
5 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิด กิน แล้วง่วง
เกิด Food Coma ได้หลายสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากการกินอิ่มเกินไปอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึง
- การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การโหมงานหนักมากเกินไปในช่วงเวลาเช้า
- การทานอาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารมากเกินไป
- ทานอาหารที่มีกรดไขมันมากไป ทำให้สมองหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน และเมลาโทนินออกมา ซึ่งมีผลทำให้ง่วงนอน ซึม และรู้สึกเหนื่อยล้า
4 วิธีป้องกัน ก่อนง่วง
- ควรนอนหลับให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน เพราะ เป็นเวลาที่ไม่มากเกินและไม่น้อยเกินไป และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของการนอนหลับที่ดี
- เลือกใช้เวลาในการพักเที่ยงเดินย่อย ออกกำลังกายเบา ๆ ให้เลือดไหลเวียนและสมองทำงานได้เต็มที่ รวมถึงยังสามารถช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นในเวลากลางคืนอีกด้วย
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน เพื่อให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น
- จัดการงานกองโตที่แสนน่าเบื่อบนโต๊ะทำงานในช่วงเช้า เพราะ เป็นช่วงที่สมองกำลังตื่นตัว หากสะสมมาทำตอนช่วงบ่าย หรือหลังรับประทานอาหารมื้อกลางวัน อาจทำให้เรารู้สึกเบื่อ เหนื่อย เพิ่มความล้า และกระตุ้นการง่วงนอนได้
4 วิธีแก้ อาการง่วง นอน หลังกินข้าว เอาชนะอาการ Food Coma เลิกถ่างตาหลังท้องอิ่ม
เทคนิคสร้างความตื่นตัว
- หลังกินอาหารเที่ยงเสร็จควรหากิจกรรมอื่น ๆ ทำก่อนไปลุยงานนั่งโต๊ะทำงาน
- หรือลองเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าปกติ เลือกงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนไว้ทำช่วงหลังพักเที่ยง
เทคนิคปรับพฤติกรรมการกิน
- สำหรับคนที่ชอบง่วงหลังมื้ออาหารเป็นประจำ แนะนำให้กินอาหารพอดีคำ เคี้ยวช้า ๆ ลดความเร็วในการกินอาหาร เพื่อให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนัก
- นักวิจัยพบว่า อาหารที่อ่อนหรือมีลักษณะเป็นของเหลวจะช่วยลดอาการ Food Coma ได้ และดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อเป็นการบังคับให้ร่างกายตื่นตัว ทำให้อยากเข้าห้องน้ำ จะได้ไม่นั่งแช่นาน ๆ
เทคนิคเลือกกิน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง แป้ง ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่มรสหวานจัด
- เปลี่ยนไปทานผลไม้ยามบ่ายที่มีรสเปรี้ยวแทน เพราะ อาหารที่มีไขมันสูงมักจะทำให้เราง่วงเร็ว
- ลองหาสมดุลคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่เราต้องการในแต่ละวัน โดยให้อยู่ในระดับที่จะไม่ทำให้เราหิวโหยมากนัก
- ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้เรารู้สึกง่วงหนักจนเกิน พยายามรักษาสัดส่วนของอาหารที่ทานในแต่ละมื้อไว้
เทคนิคเชื่อร่างกาย
- ไม่ไหวอย่าฝืน สุดท้ายแล้วหากร่างกายยังฝืนถ่างตาไว้ไม่ไหวจริง ๆ อาจต้องขอเวลาไปนอนพักสัก 10 นาที
- วิธีการง่าย ๆ แบบนี้ก็อาจช่วยให้กลับมากระปรี้กระเปร่าพร้อมลุยงานอีกครั้งได้แล้ว
ข้อมูล : กรมสุขภาพจิต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง