“เลขาธิการกฤษฎีกา” แนะการสันนิษฐานว่ามีการกระทำตามที่กฎหมายห้ามหรือไม่นั้น มี 2 หลักการ คือ Per se rule กับ Rule of reason

กดติดตาม TOP NEWS

"ปกรณ์ นิลประพันธ์" มือกฎหมาย “เลขาธิการกฤษฎีกา” แนะการวางบทสันนิษฐานว่ามีการกระทำตามที่กฎหมายห้ามหรือไม่นั้น มีสองหลักการ คือ per se rule กับ rule of reason

Per se rule จะกำหนดจำนวน ปริมาณ หรืออัตราส่วน (threshold) ไว้ชัดเจน เช่น มีของกี่ชิ้น มีส่วนแบ่งตลาดสำหรับสินค้านั้น ๆ ร้อยละ 15 เป็นต้น

ส่วน rule of reason นั้นจะดูจากพฤติกรรมพฤติการณ์และบริบทแวดล้อม เป็นรายกรณีว่ามีการกระทำตามที่กฎหมายห้ามหรือไม่

ทั้งสองหลักมีดีมีด้อยต่างกัน per se rule ดูง่าย เกินที่กำหนดก็ “สันนิษฐานไว้ก่อน” ว่ามีการกระทำตามที่กฎหมายห้าม แต่ก็เป็นเพียงการสันนิษฐานเบื้องต้นเท่านั้น ต้องสืบเสาะต่อว่ามีการกระทำเช่นนั้นจริงหรือไม่ มีเจตนาหรือไม่ คือกล่าวหาก่อน สวบสวนทีหลัง แต่ก็จะมีปัญหาทางนโยบายในการกำหนดว่าทำไมต้องเท่านั้นเท่านี้ชิ้น

ส่วน rule of reason นั้นต้องสืบต้องสอบกันแต่แรกว่าพฤติกรรมพฤติการณ์นั้นการกระทำตามที่กฎหมายห้ามหรือไม่ ถ้าใช้ข้อสันนิษฐานอย่างหลังนี่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีหน้าที่และอำนาจสืบเสาะแสวงหาข้อเท็จจริงให้แน่นหนาก่อนตั้งข้อกล่าวหาด้วย

ในเรื่องทางอาญา ไม่ควรใช้ per se rule เพราะหลักการทางอาญานั้นต้องพิสูจน์ได้จนปราศจากข้อสงสัยว่ามีเจตนากระทำความผิด ถ้าใช้ per se rule ไปกล่าวหาว่าเขากระทำความผิด ต่อมาพิสูจน์ได้ว่าเขาไม่มีเจตนากระทำความผิด ผู้ถูกกล่าวหาก็เสียหายไปแล้ว ทั้งเกียรติยศชื่อเสียงของตน ของครอบครัว ของวงศ์ตระกูล ดีไม่ดีอาจสูญเสียเสรีภาพไปฟรี ๆระหว่างดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม ถึงจะเรียกร้องค่าเสียหายได้ แต่มันก็ไม่มีทางคุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

อีกอย่าง per se ratio มันเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้ตาม “นโยบาย” ซึ่ง dynamics ไปตามเสียงเรียกร้องของสังคม ยุคหนึ่ง threshold อาจสูง อีกยุคหนึ่ง treashold อาจต่ำ กลับไปกลับมาได้

การใช้หลักการสันนิษฐานอย่างใดจึงไม่ใช่ “แบบ” แต่เป็น “ความเหมาะสมกับเรื่อง” ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น