กทท.เร่งผู้รับเหมาสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3

การท่าเรือฯ เร่งรัดผู้รับเหมาเดินหน้าโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ส่งมอบพื้นที่ให้เสร็จทั้งหมดตามสัญญา มิ.ย. 69 ล่าสุดถูกจ่ายค่าปรับในส่วนงานถมทะเลแล้ว 600 ล้านบาท หลังงานช้ากว่าแผน ด้านผู้รับเหมาปรับแนวทางการทำงาน มั่นใจส่งมอบงานได้ทันตามกำหนด

 

เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2566 ที่ผ่านมา นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เป็นประธานในการแถลงความคืบหน้าและรายงานแผนการดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โดยมี นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กลุ่มกิจการร่วมค้า CNNC และผู้ควบคุมงานก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแถลง

 

 

นายเกรียงไกร ระบุว่า โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ถือเป็นหนึ่งในโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนที่สำคัญตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) มูลค่าโครงการรวมประมาณ 114,000 ล้านบาท แบ่งเป็น กทท. 47% คิดเป็น 53,489.58 ล้านบาท และเอกชน 53% คิดเป็น 60,557.35 ล้านบาท โดยเป็นการพัฒนาและดำเนินการในส่วนของท่าเทียบเรือ F เป็นลำดับแรก ระยะเวลาสัมปทาน 5 ปี โดยมุ่งผลักดันท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูสู่การค้าการลงทุน และเสริมยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางน้ำของภูมิภาคได้อย่างเต็มศักยภาพ

 

การลงทุนของโครงการฯ แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. งานก่อสร้างทางทะเล 2. งานก่อสร้างอาคาร ท่าเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค 3.งานก่อสร้างระบบรถไฟ และ 4. งานจัดหาและติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับขนย้ายสินค้า พร้อมออกแบบและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับบริหารท่าเรือและ ระบบโครงสร้างพื้นฐานกลาง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายเกรียงไกร ระบุว่า โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ตามแผนการทำงาน ต้องทำงานให้ได้ 15.13% แต่ ณ วันที่ 31 ต.ค.66 พบว่า กิจการร่วมค้าฯ สามารถทำงานส่งมอบให้โครงการฯ ได้แล้วที่ 13.26% มีความล่าช้าจากแผนการทำงาน 1.87% โดยผู้รับเหมาได้ส่งมอบพื้นที่งานส่วนที่ 1 คือ งานถมทะเล 1 และพื้นที่ถมทะเล 2 แล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างถมทะเล 3 ซึ่งตามแผนจะส่งมอบพื้นที่ภายในวันที่ 7 มิ.ย.67 ส่วนพื้นที่อื่นๆ จะต้องส่งมอบภายในเดือน มิ.ย. 69

 

 

ส่วนงานจ้างก่อสร้างโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ส่วนที่ 2 (งานก่อสร้างอาคาร ท่าเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค) ตามงบประมาณ 7,425 ล้านบาท อยู่ระหว่างการประกาศประกวดราคา โดยจะมีการยื่นเสนอราคาในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างภายในเดือนมกราคม 2567 และเมื่อได้ผู้รับจ้างแล้ว ผู้ควบคุมงานก่อสร้างจะต้องกำกับการทำงานให้เป็นไปตามแผนบูรณาการงานก่อสร้างของโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลา โดยคำนึงถึงระยะเวลาที่ กทท. ต้องส่งมอบพื้นที่ให้บริษัท GPC ตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทาน

นอกจากนี้ งานจ้างก่อสร้างส่วนที่ 3 (งานก่อสร้างระบบรถไฟ) ตามงบประมาณ 799.5 ล้านบาท และส่วนที่ 4 (งานจัดหาและติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับขนย้ายสินค้า พร้อมออกแบบและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับบริหารท่าเรือและระบบโครงสร้างพื้นฐานกลาง) ตามงบประมาณ 2,257.8 ล้านบาท กทท. อยู่ระหว่างดำเนินการ ปรับเอกสารประกวดราคาให้เป็นปัจจุบัน และจะเริ่มประกวดราคาในเดือนเมษายน 2567

ทั้งนี้ หากงานการดำเนินงานของกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ไม่แล้วเสร็จตามแผนงานที่ได้ระบุไว้ จะต้องมีดำเนินการตามรายละเอียดในการบริหารสัญญา รวมถึงมาตรการที่ผู้รับเหมาได้สิทธิ์ ในเรื่องค่าปรับเป็น 0 แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ในการบริหารสัญญาได้มีการกำหนดการยกเลิกสัญญาไว้อย่างชัดเจน โดยจะสามารถวัดได้คือ ในเดือน มิ.ย. 67 และหากความคืบหน้าการดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนงาน จะสามารถบอกเลิกสัญญาได้โดยที่ทางผู้รับเหมายอมรับเงื่อนไขตามสัญญาและมาตรการของกรมบัญชีกลาง

 

 

 

 

 

 

 

 

นายเกรียงไกร ระบุว่า กรณีที่เอกชนผู้รับจ้างถูกปรับ ค่างานก่อสร้างงานทางทะเลในส่วนของงานพื้นที่ถมทะเล 1 (Key Date 1), พื้นที่ถมทะเล 2 (Key Date 2) ในโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะกระทบต่อแผนดำเนินงานในปัจจุบันหรือไม่นั้น ตามระเบียบของกรมบัญชีกลางให้สิทธิการจ่ายค่าปรับเป็น 0% นับจากวันที่เลยกำหนดของสัญญา ในเดือนพฤษภาคม 2568 ระยะเวลา 422 วัน โดย กทท.ได้กำหนดบทลงโทษชำระค่าปรับแก่ผู้รับจ้างหากส่งมอบพื้นที่ถมทะเลล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด ดังนี้ งานพื้นที่ถมทะเล 1 (Key Date 1) จ่ายค่าปรับ จำนวน 150,000 บาทต่อวัน ,พื้นที่ถมทะเล 2 (Key Date 2) จ่ายค่าปรับ จำนวน 500,000 บาทต่อวัน และพื้นที่ถมทะเล 3 (Key Date 3) จ่ายค่าปรับ จำนวน 2,500,000 บาทต่อวัน

ส่วนแนวทางการบอกเลิกสัญญาของโครงการฯ มีเงื่อนไขดังนี้ 1.มีผลงานไม่ถึง 25%ของวงเงินตามสัญญา 2.มีผลงานรายเดือนไม่ถึง 50% ของแผนใหม่ และมีผลงานสะสมไม่ถึง 50% ของวงเงินตามสัญญา โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.67 เป็นต้นไป 3. มีผลงานสะสมไม่ถึง 65% ของวงเงินตามสัญญาของวงเงินตามสัญญา โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.68 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขบอกเลิกสัญญากำหนดให้ผู้รับเหมาต้องดำเนินการก่อสร้างถมทะเลคืบหน้า 37.5% เพิ่ม 23.5% จากเดิมในปัจจุบัน ผู้รับเหมาได้ดำเนินการถมทะเลทั้ง 3 ส่วน คืบหน้า 13.26% ล่าช้า 1.87%

 

นายเกรียงไกร ระบุว่า จากคำยืนยันของผู้รับเหมา เชื่อว่าจะเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนว่า การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะเป็นไปตามแผนงาน เนื่องจากผู้รับเหมามีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทราบว่าหากไม่สามารถดำเนินการได้ ผู้รับเหมาจะถูกยกเลิกสัญญา รวมถึงจะต้องถูกปรับและถูกลงโทษ ดังนั้น ผู้รับเหมาจึงได้มีการเร่งนำเครื่องจักร แรงงาน บุคคลากรกว่า 2 เท่าตัว และทางด้านเทคนิคต่างๆ เพื่อเร่งรัดการทำงาน จึงทำให้ผู้รับเหมาเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ

 

 

ด้านนางสาวลัลลิฬา จิตร์สม ผู้อำนวยการโครงการร่วมโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ส่วนที่ 1 งานก่อสร้างงานทางทะเลกิจการร่วมค้า CNNC กล่าวว่า ในส่วนของสัญญาการชำระค่าปรับงานก่อสร้างงานถมทะเลทั้ง 3 ส่วน เบื้องต้นผู้รับเหมาได้ขอใช้สิทธิ์ตามมาตรการของรัฐในช่วงเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยยื่นหนังสือถึงผู้ว่าจ้าง เพื่อพิจารณา และปัจจุบันอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท. พิจารณาเห็นชอบ และเตรียมทำหนังสือถึงกรมบัญชีกลางในการพิจารณาการจ่ายค่าปรับเป็น 0% เนื่องจากได้รับผลกระทบในสัญญา ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

 

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ผู้รับเหมาถูกจ่ายค่าปรับในส่วนงานถมทะเลทั้ง 3 ส่วน จำนวน 600 ล้านบาท และหากการยื่นหนังสือครั้งนี้ไม่ได้รับการอนุมัติให้ยกเว้นการจ่ายค่าปรับจะทำให้ผู้รับเหมาถูกจ่ายค่าปรับเพิ่มขึ้นตามที่กำหนด ทั้งนี้ บริษัทยืนยันไม่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินแต่อย่างใด ขณะนี้ผู้รับเหมามีบริษัทพาร์ทเนอร์ที่ระดมเงินทุนสามารถนำมาช่วยเสริมสภาพคล่องได้

 

อย่างไรก็ตาม กิจการร่วมค้าฯ ได้มีแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลา ทั้งการเพิ่มจำนวนเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มกำลังแรงงาน บุคลากร กว่าเท่าตัว รวมถึงปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานเพื่อให้การดำเนินงานและการส่งมอบงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบงานได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน

 

นอกจากนี้ นายเกรียงไกร ระบุถึงผลการดำเนินงานในรอบ 12 เดือน (ตุลาคม 2565 ถึงกันยายน 2566) โดยผลการดำเนินงานด้านการเงินมีรายได้สุทธิ 16,579 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.14% กำไร 6,954 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.80% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งสูงสุดในประวัติการณ์ 72 ปี รวมทั้งมีการขนส่งรถยนต์ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง รวม 1.5 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 25%

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นฤมล" ชี้ผลชนะเลือกตั้งซ่อมนครศรีฯ เพิ่มมั่นใจ "กล้าธรรม" ปักธงทั่วประเทศ ไมใช่แค่ภาคใต้
“อิตาเลียนไทย” เข้าพบ DSI แจงปมตึกสตง.ถล่ม-กิจการร่วมค้าไชน่าเรลเวย์
"สำนักงานสลากฯ" สัญจรออกรางวัลงวดวันที่ 2 พ.ค.2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
จนท.ฝ่ายมั่นคง คุมตัว 7 ผู้ต้องสงสัย เชื่อมโยงเหตุรุนแรงพื้นที่ชายแดนใต้ สอบปากคำ
เปิดเวทีฟังเสียงประชาชน เดินหน้าสมาร์ทซิตี้ขยายพื้นที่เพิ่ม 1,880 ไร่
“กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี” โบกพระหัตถ์ส่งเสด็จฯ จนสุดสายพระเนตร
สะเทือนใจ รถป้ายเขียว ไม่หลีกทางให้รถฉุกเฉิน สุดท้ายผู้ป่วยเสียชีวิตบนรถ
"ภูมิธรรม" ลั่นยึดกม.ดำเนินคดี "ดร.พอล" ตอบสื่ออย่าคาดเดา ไทยจะยกผิดให้แลกเจรจาภาษีสหรัฐ
"ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร" นำกำลังจนท.บุกทลาย "เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์" เมืองมหาชัย ให้บริการเฉพาะแรงงานพม่า เปิดเสรีอัพยาเสพติด
พระราม 2 อีกแล้ว! ก้อนปูนทางด่วนร่วงใส่รถ กระจกแตกยับ คนขับเจ็บหนัก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น