เตรียมชม “ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566” ราชาแห่งฝนดาวตก 17-18 พ.ย. นี้

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566, ฝนดาวตก, ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต, ราชาแห่งฝนดาวตก, ฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด

ห้ามพลาดชม! ปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566" เจ้าของฉายาราชาแห่งฝนดาวตก ฝนดาวตกที่สว่างที่สุด คืนวันศุกร์ที่ 17 - เช้า 18 พ.ย. นี้

ปักหมุดวันให้พร้อม เช้าวันที่ 17-18 พ.ย. นี้ ชมปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566” หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต ฝนดาวตกที่สว่างที่สุด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

รู้จัก “ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566” ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต

  • จะเกิดในช่วงระหว่างวันที่ 6 – 30 พฤศจิกายนของทุกปี ในปี 2566 นี้
  • มีอัตราการตกสูงสุดหลังเที่ยงคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลาประมาณ 01:00 น. จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566
  • ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวสิงโต ทางทิศตะวันออก ในคืนดังกล่าวไร้แสงจันทร์รบกวน สามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่าในที่มืดสนิท
  • โดยจะปรากฏให้เห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟ พาดผ่านท้องฟ้า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ เนื่องจาก การเกิดฝนดาวตกจะเกิดขึ้นทั่วท้องฟ้าบริเวณกว้าง

 

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566, ฝนดาวตก, ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต, ราชาแห่งฝนดาวตก, ฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด

 

ฝนดาวตก ลีโอนิดส์ เกิดขึ้นได้อย่างไร

  • เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) ที่มีคาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ 33 ปี
  • ขณะที่โลกเคลื่อนผ่านวงโคจรของดาวหางดังกล่าว แรงโน้มถ่วงของโลกได้ดึงดูด เศษหิน และเศษฝุ่น ที่หลงเหลือไว้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ
  • เกิดการเสียดสี และเผาไหม้ ปรากฏให้เห็นเป็นแสงคล้ายลูกไฟสว่างวาบเคลื่อนผ่านท้องฟ้า ทิศทางวงโคจรของฝนดาวตก ลีโอนิดส์นั้นสวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
  • ส่งผลให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้างมาก มีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที
  • โดยความพิเศษของฝนดาวตก ลีโอนิดส์ เป็นนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จึงได้รับการขนานนามว่า ราชาแห่งฝนดาวตก

 

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566, ฝนดาวตก, ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต, ราชาแห่งฝนดาวตก, ฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด

ผู้สนใจแนะนำชมในสถานที่ที่มืด ไม่มีแสงไฟรบกวนหรือห่างจากเมือง ควรใช้เวลาปรับสายตาในที่มืด ประมาณ 30 นาที เพื่อให้สายตาคุ้นเคยกับความมืด และให้นอนรอชมปรากฏการณ์ เนื่องจาก ฝนดาวตกกระจายทั่วท้องฟ้าบริเวณกว้าง สำหรับการบันทึกภาพฝนดาวตกนั้นแนะนำใช้เลนส์มุมกว้างและถ่ายภาพทั่วทั้งท้องฟ้า เพราะ ไม่สามารถระบุทิศทางได้ ต้องอาศัยการคาดเดาและเปิดหน้ากล้องค้างไว้ให้ดาวตกวิ่งผ่านหน้ากล้อง

 

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 2566, ฝนดาวตก, ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต, ราชาแห่งฝนดาวตก, ฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด

 

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.
"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น