อัปเดต อาการพลายเดือน “ลูกช้างป่า” ทับลาน หลงฝูง แม่ไม่มารับ

ลูกช้างป่า, ลูกช้าง, บาดเจ็บ, ทับลาน, หลงฝูง, ใส่เฝือก

อัปเดต อาการน้องพลายเดือน "ลูกช้างป่า" ทับลาน หลังพลัดหลงฝูง แม่ไม่มารับ ล่าสุด เตรียมใส่เฝือกรักษาอาการบาดเจ็บที่ขาแทนการผ่าตัด

อัปเดต อาการน้องพลายเดือน “ลูกช้างป่า” ทับลาน พลัดหลงฝูง แม่ไม่มารับ ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญการรักษาช้าง​ ได้ข้อสรุปจากการประเมินจากการดูแล พบว่า ลูกช้างยังคงมีอาการปวดขาหลัง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากทีมสัตวแพทย์กรมอุทยานฯ​ ที่หารือร่วมกับทีมสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาช้าง​ ได้ข้อสรุปจากการประเมินจากการดูแล “ลูกช้างป่า” บาดเจ็บ พบว่า ลูกช้างยังคงมีอาการปวดขาหลัง

 

ลูกช้างป่า, ลูกช้าง, บาดเจ็บ, ทับลาน, หลงฝูง, ใส่เฝือก

 

จากการปรึกษาอาจารย์ด้านกระดูกและสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านช้างหลายท่าน มีความคิดเห็นว่า ควรเปลี่ยนจากการผ่าตัดเป็นการใส่เฝือก เนื่องจาก วิธีผ่าตัดที่น่าจะได้ผลในกรณีการใส่อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกภายนอก (ilizarov) แต่ทั้งนี้ต้องรอสั่งทำอุปกรณ์พิเศษ เนื่องจาก ปัจจุบันยังไม่มีขนาดที่เหมาะสมกับลูกช้าง ซึ่งน่าจะกินเวลา 5-7 วัน และอาจจะช้าไปสำหรับช้างเชือกนี้

 

ลูกช้างป่า, ลูกช้าง, บาดเจ็บ, ทับลาน, หลงฝูง, ใส่เฝือก

ประกอบกับสภาพตัวลูก ช้างป่า ค่อนข้างไม่พร้อมต่อการเคลื่อนย้ายรวมถึงไม่พร้อมต่อการผ่าตัดใหญ่ ถึงแม้ว่าการใส่เฝือกจะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสมที่สุดแต่วิธีนี้ใช้เวลาในการเตรียมการระยะสั้น สามารถปฏิบัติการได้ในวันศุกร์นี้ ณ จุดเลี้ยงและดูแลลูก ช้างป่า โดยไม่ต้องขนย้ายตัวลูกช้าง ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อตัวลูก ช้างป่าในปัจจุบันมากที่สุด

ทั้งนี้ ทีมสัตวแพทย์ จากโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ จังหวัดลำปาง และองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย โดยทีมสัตวแพทย์จะเดินทางเข้าประเมินสภาพลูก ช้างป่าในวันพฤหัส ที่ 16 พฤศจิกายน 66 และวางแผนใส่เฝือกวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 66 นี้

 

ลูกช้างป่า, ลูกช้าง, บาดเจ็บ, ทับลาน, หลงฝูง, ใส่เฝือก

 

โดยทีมสัตวแพทย์จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยังเฝ้าติดตามดูแบอาการของลูกช้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อพยุงอาการปวดขา​ ทีมสัตวแพทย์จึงใช้วิธีการพันขาหลังข้างขวา และขาหลังข้างซ้าย เพื่อทำการซัพพอร์ตน้ำหนัก และกระดูกที่แตกหัก ใช้อุปกรณ์พยุงตัว สำหรับลดการปวด และอักเสบ โดยอุปกรณ์พยุงตัวจะช่วยยกขาหลังทั้ง 2 ข้างให้ทิ้งน้ำหนักลงดินน้อยที่สุด นอกจากนี้ให้ยารักษา แคลเซียม วิตามินซี และผงโปรไบโอติก และยังได้ทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อลดปวด ลดอักเสบ ควบคู่กับการรักษาทางยา โดยจะทำการใช้เครื่องปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตามโปรแกรมการรักษาด้วย

ข้อมูล : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น