“สว.สมชาย” เปิดตัวเลขใช้งบฯทำประชามติ รื้อ ร่างรธน.ใหม่ เบ็ดเสร็จกว่าหมื่นล้าน

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา หรือ สว.และในฐานะอดีตประธานคณะกรรมาธิการสามัญพิจาณาญัตติฯเพื่อทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยผ่านเฟสบุ๊กว่า สรุปข้อมูลข้อกฎหมายและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ยกเลิกไว้ให้ครบถ้วนแล้ว อาจไม่จำต้องถกเถียงกันให้เสียเวลา หากสนใจจริงลองอ่านรายงานของคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาญัตติ ขอให้สภามีมติลงเรื่องที่มีเหตุสมควรจะให้มีการออกเสียงประชามติ ให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ ที่วุฒิสภาจัดทำรายงานต่อสภาแล้ว เนื้อหาทั้งหมด 169 หน้า อ่านครบจะเข้าใจชัดเจน

สำหรับรายงานฉบับนี้ สว.ได้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญมาพิจารณาญัตติด่วนของสภาผู้แทนราษฎร ที่ลงมติเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2565 เห็นชอบให้สภาฯพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีดำเนินการออกเสียงประชามติแก้รัฐธรรมนูญ โดยมีคำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ แทนที่รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน”

ข่าวที่น่าสนใจ

สาระสำคัญในรายงานของคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาญัตติ เห็นว่า ญัตติที่ขอให้มีการออกเสียงประชามติดังกล่าว มีลักษณะที่มุ่งเพียงการตั้งคำถามเท่านั้น แต่มิได้มีสาระสำคัญแสดงถึงข้อบกพร่องอันเกี่ยวกับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เหตุจำเป็นที่ต้องใช้วิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับเดิม และแนวทางของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อันเป็นเรื่องที่จะขอทำประชามติในลักษณะที่ชัดเจนเพียงพอให้ประชาชนสามารถเข้าใจเนื้อหาสำคัญในเรื่องดังกล่าวได้โดยสะดวก ญัตติดังกล่าวจึงอาจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้มีการออกเสียงประชามติ ตามมาตรา 11 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 และตามข้อ 48/1 ของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.2565 ตลอดจนข้อ 39/1 ของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2565

ในรายงานฉบับนี้ยังรายงานข้อมูลจากก กกต.ว่า การออกเสียงประชามติจะใช้งบประมาณ 3,500 ล้านบาท ดังนั้นในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ หากมีการทำประชามติอย่างน้อย 2 ครั้ง จะใช้งบประมาณการทำประชามติรวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็น การกระทบต่อการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ในกรณีที่ประชาชนออกเสียงประชามติให้ความเห็นให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว การดำเนินการภายหลังจากนั้น คือ กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งย่อมจะต้องเตรียมการ ด้านบุคลากรและงบประมาณเพื่อรองรับการดำาเนินการดังกล่าว คณะกรรมาธิการสามัญได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งปรากฏข้อมูลว่า เฉพาะในชั้นของการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2559 มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ การรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน และการจัดทำร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในระยะเวลา 6 เดือนของการทำหน้าที่ รวมงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 106,787,600 บาท

ทั้งนี้จากการพิจารณาแนวทางการทำประชามติ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับในขณะนี้ของคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีความเห็นเบื้องต้นว่าการทำประชามติจะต้องทำทั้งหมด 3 ครั้ง ดังนั้นหากเป็นไปตามนี้การทำประชามติเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่จะใช้งบประมาณถึง 10,500 ล้านบาท ยังไม่รวมงบประมาณที่จะต้องใช้ดำเนินการในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แองเจิล หยิน หวดสถิติใหม่ 28 อันเดอร์พาร์ คว้าแชมป์ฮอนด้า แอลพีจีเอ ไทยแลนด์ 2025 จีโน่-อาฒยา ดีสุดของไทยได้อันดับ 3  แพตตี้-ปภังกร โม-โมรียา อันดับ 4 ร่วม
"พุทธิพงษ์" หนุน "บ้านเพื่อคนไทย" ชี้ควรทำอย่างโปร่งใส กระจายโอกาสถึงผู้มีรายได้น้อยให้ครบทุกภูมิภาค
"อดีตสว.สมชาย" เผย "ท็อปนิวส์" ละเอียดยิบ ขบวนการทุจริต "ฮั้วเลือกสว." ลั่น "ดีเอสไอ" ต้องรับเป็นคดีพิเศษ
"ไทย-กัมพูชา" บุกจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมืองปอยเปต พบคนไทยกว่า 100 คน เตรียมส่งกลับประเทศพรุ่งนี้
"จุฬาราชมนตรี" แถลงเตรียมจัดงาน "เมาลิดกลาง แห่งประเทศไทย" ครั้งที่ 59 เริ่ม 18- 20 เม.ย.นี้
จนท.รวบ "หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย" หอบเงิน 15.7 ล้าน เข้าไทย อ้างเล่นพนันได้จากฝั่งปอยเปต
โผล่อีก “หมู่บ้านเขมร” จองแผ่นดินไทย อึ้ง! อุ้มลูกเดินยั้วเยี้ย ตร.เพิ่งจะจับ
งามไส้! “หนุ่มไทย” พกปืน-กระสุนใส่เต็มแม็ก คุ้มกัน “พม่าเถื่อน” เข้าเมือง
ผู้นำสหรัฐเรียกนายกฯแคนาดาว่า” ขี้แพ้”
เพจดังจับโป๊ะพรรคส้ม ขุดยับ “เท้ง-ไอซ์” นำทีมสส.ร่วมทริปกมธ. บินเกาหลีใต้ ใช้งบฯหลักล้านคาใจดูงานแน่เปล่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น