ขุดโครงข่าย แพทย์ชนบท โยงใย สธ.- ตระกูล ส.

ชำแหละภูมิหลังเครือข่ายชมรมแพทย์ชนบท ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบเชื่อมโยงหน่วยงานสำคัญ ก.สาธารณสุข - ตระกูล ส.

ต้องยอมรับว่าในอดีต ความสำเร็จ และ การสืบทอดของ “แพทย์ชนบท” มีมาต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีการตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2525  สมัยนั้นมีผู้นำอย่าง นายแพทย์ประเวศ วะสี เจ้าของทฤษฎี  “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท อดีตประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส. อดีตที่ปรึกษากรรมการ สสส.ปัจจุบันยังมีบทบาทเป็น “ต้นแบบ” ได้รับการยอมรับจากบรรดาแพทย์ชนบทจนถึงปัจจุบัน

 

สมัยนั้น ชมรมแพทย์ชนบท เป็นที่รวมตัวของบรรดาคุณหมอ ในโรงพยาบาลชุมชน มีเป้าประสงค์ร่วมกันคือต้องการปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อสังคม และยังมีการเปิดโปงการทุจริตต่างๆในกระทรวงสาธารณสุขออกมาอย่างเนือง  ๆ ก็ต้องยอมรับว่า อุดมการณ์ที่จุดประกายตั้งแต่แรกเริ่มนั้น เป็นสิ่งที่ดีและน่ายกย่อง แพทย์ชนบทมามีบทบาทมากที่สุดในกระทรวงสาธารณสุข ในรุ่นกลุ่ม “หมอยังเติร์ก” ที่แตกหน่ออ่อนมาจากยุค 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 คือมีแนวคิดการเมืองที่ต้องการความยุติธรรมให้กับสังคม มีบทบาทการเคลื่อนไหวกับกลุ่มนักศึกษาสมัยนั้น

 

กลุ่มนี้มี นายแพทย์ สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลาธิการ สปสช.คนแรก นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ดูแค่ชื่อชั้นแล้วก็รู้ว่า “มีต้นทุนทางสังคมสูง” รวมถึงบุคคลเบื้องหลัง อย่าง นายแพทย์ ประทีป ธนกิจเจริญ  ผู้วางรากฐานการก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และเป็นรองเลขาธิการ สปสช. คนแรก ปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ให้ดำรงตำแหน่ง “เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ” คนล่าสุด

 

ความโดดเด่นของแพทย์ชนบท มามีบทบาทสูงสุดในปี 2540 เมื่อมีการผลักดันให้เกิด “ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ได้สำเร็จ ในสมัยรัฐบาลของ ทักษิณ ชินวัตร  โดย กลุ่ม“แพทย์ชนบท” ได้เจรจาสำเร็จในการก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งคอยรวบรวมเงินงบประมาณการสาธารณสุขรายปีไว้ใช้จ่ายเอง และมีการใช้นโยบายบังคับให้โรงพยาบาลรัฐบาลทุกแห่ง รักษาฟรี หรือในชื่อ “สามสิบบาทรักษาทุกโรค” ระบบนี้มีค่าอนันต์ กับคนไทยทั่วประเทศ ทำให้คนจำนวนมาก ชื่นชมคุณทักษิณมาจนถึงทุกวันนี้

 

ก่อนจะมีขยายก่อตั้งองค์การกลุ่มตระกูล สอ  คือมีชื่อ ส.นำหน้า ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) เป็นต้น หน่วยงานเหล่านี้ถูกจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติแยกออกมาต่างหากจากส่วนราชการ มีอำนาจในการออกประกาศเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง ระเบียบการเงิน ของตนเองแยกเป็นอิสระ ไม่ใช้วิธีการเดียวกับระบบราชการ แต่ยังใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีงบประมาณจำนวนมาก จึงได้เห็นคนที่อยู่ใน “ชมรมแพทย์ชนบท”  เข้ามามีบทบาทในองค์การเหล่านี้ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ลองไล่ดูการเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบท จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกับ “องค์การตระกูล สอ” มาโดยตลอด

 

ยกตัวอย่าง เช่น นายแพทย์วิจารณ์ พานิช อดีตเลขาธิการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส ประธานมูลนิธิ HITAP ประธานมูลนิธิ IHPP อดีตคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สปสช. อดีตคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สช. ตำแหน่งปัจจุบัน เป็นกรรมการบริหาร มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

 

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน อดีตกรรมการชมรมแพทย์ชนบท ประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส อดีตรองประธาน สสส คนที่ 2 ก่อนถูกปลดโดยมาตรา 44 อดีตกรรมการบอร์ด สปสช. ปัจจุบัน เป็นประธาน และคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ / นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ ผู้วางรากฐานการก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และเป็นรองเลขาธิการ สปสช. คนแรก ปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ให้ดำรงตำแหน่ง “เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ” คนล่าสุด / นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท อดีตเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  ปัจจุบันเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 

แต่ความแข็งแกร่งของแพทย์ชนบท ที่ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนาน กระทั่ง นายแพทย์ เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ มาเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบท เริ่มมีการเคลื่อนไหวผลักดันให้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ได้ C9 และเพิ่มค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ที่เป็นที่มาของมหากาพย์ “พีฟอร์พี” (Pay For Performance : P4P) คือเพิ่มเป็นการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน ในครั้งนั้นนายแพทย์ เกรียงศักดิ์ ถูกมองจากกลุ่มแพทย์ อีกกลุ่มว่าการเคลื่อนไหวนั้นทำเพื่อพวกพ้องของตัวเอง

 

เรื่องนี้ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เคยตั้งข้อสังเกต เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชมรมแพทย์ชนบท และสำนักงานตระกูล ส. ระบุว่า ที่ผ่านมาจะมีรายชื่อของส่วนราชการต่าง ๆ เข้ามาเป็นกรรมการ ในสำนักงานตระกูล สอ สับเปลี่ยนหมุนเวียนตามอำนาจหน้าที่ ที่ดำรงตำแหน่งในกระทรวง ทบวง กรม นั้น แต่สิ่งหนึ่ง ที่แทบจะเปลี่ยนแปลงเลยคือองค์กรภาคเอกชน หรือ NGO จะมีรายชื่อคนเก่า หน้าเดิมซ้ำ ๆ ถูกแต่งตั้งมาต่อเนื่องนับจากมีการตั้งสำนักงานตระกูล ส.กำเนิดขึ้น

 

เรื่องนี้ แพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล นายกสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย (สพอท.) ยืนยันว่า กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ในปัจจุบันจึงรู้ดีว่า ชมรมแพทย์ชนบท ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแพทย์ส่วนใหญ่ที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกล และผู้ที่มีบทบาทจริง ๆ ในการใช้ชื่อ ชมรมแพทย์ชนบท เดินเรื่องผลักดัน ในประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ  ตอนนี้มีเพียง 3 คน คือ  นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ และนายแพทย์ อารักษ์ วงศ์วรชาติ และนพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบทคนปัจจุบัน

 

แพทย์หญิงอรพรรณ์ ระบุว่า ตอนนี้ส่วนตัวเชื่อว่าคนในวงการสาธารณสุข และคนในสังคมจำนวนมาก “รู้เท่ากัน” เกมของคนกลุ่มนี้แล้ว ไม่เช่นนั้นการออกมาเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบทในครั้งนี้ คงจะมีแรงสะท้อนจากสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้

 

และที่กำลังเป็นเรื่องที่สังคมจับตามากในขณะนี้ คือประเด็นที่ นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม ได้ยื่นคำร้องสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ร้องเรียนพฤติกรรมของ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายชมรมแพทย์ชนบท ในฐานะ ประธานคณะทำงาน คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน มีคําสั่งที่ 5/2564 แต่งตั้ง คณะทำงานกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ

 

และ นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล ในฐานะคณะทํางาน กระทําผิดต่อพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ. 2542 กรณีการจัดหาชุดตรวจสําหรับ COVID-19 ประเภท Antigen Test Kits จํานวน 8,500,000 ชุด  โดยทั้งสองคน ที่ออกมาคัดค้านการจัดซื้อ ATK ที่องค์การเภสัชกรรม ได้เปิดซองประมูลไปแล้ว อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู จนเป็นที่มาของการที่นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ทำหนังสือร้องเรียนไปที่ ปปช.ในวันนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เซเว่นฯ เดินหน้านโยบาย “2 ลด ลดพลาสติก ลดพลังงาน" เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชม. เชิญชวนคนไทย ลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
“ภูมิธรรม”คาด 4 ลูกเรือไทยได้รับการปล่อยตัว 4 ม.ค. นี้ ยืนยันกลาโหม-กองทัพไม่ได้อ่อนแอ
ฮาร์บินเปิด ‘สวนสนุกน้ำแข็ง-หิมะ’ จีนใหญ่สุดในโลก
ทรัมป์เสนอยูเครนสละดินแดนเพื่อยุติสงคราม
โฆษกกห. ยัน ไม่ได้ปิดด่านชายแดนจังหวัดตาก แค่สกัดโรค อุดช่องทางธรรมชาติ
“พิพัฒน์” ลุยปฏิรูป “ก.แรงงาน” ก้าวใหม่สู่ยุค AI สร้างทักษะพัฒนาฝีมือ ดูแลสวัสดิการทุกมิติ
"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น