สตม.ยันไร้ทรมานขู่เข็ญ ต่างด้าวชักชวนขอทานในไทย

สตม.ยันไร้ทรมานขู่เข็ญ ต่างด้าวชักชวนขอทานในไทย

วันที่ 27 พ.ย.66 พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม. , พล.ต.ต.เชิงรณ ริมผดี ผบก.ตม.2 /พ.ต.อ.รัฐโชติ โชติคุณ รอง ผบก.สส.สตม.ร่วมกันแถลงผลการจับกุมบุคคลต่างชาติ ที่เข้ามาขอทานในประเทศไทย และจับกุมเจ้าของบริษัทปลอมเอกสารยื่นขอวีซ่ากับสถานทูต โดยการจับกุมบุคคลต่างชาติที่ข้ามาขอทานในประเทศไทยแบ่งออกเป็น2กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นขอทานชาวจีน ที่ปรากฏในสื่อสังคมต่างๆไปก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถจับกุมขอทานชาวจีนได้ 6 ราย

รายที่1 นางเคง (นามสมมติ) อายุ 41 ปี ถูกจับกุมโดย สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 11 พ.ย.66 ที่บริเวณสกายวอร์ค BTS หน้าห้างสรรพสินค้าสยามสแควร์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โดยมี น.ส.นามี (นามสมมติ) สัญชาติไทย เป็นล่ามแปลภาษาในชั้นจับกุม ปัจจุบัน นางเคนได้ถูกผลักดันส่งกลับประเทศแล้วเมื่อวันที่ 17 พ.ย.66

 

 

 

รายที่ 2 นางวู (นามสมมติ) อายุ 34 ปี ถูกจับกุมโดย สน.พญาไท เมื่อวันที่ 18 พ.ย.66 ที่บริเวณสะพานลอยตรงข้ามห้างสรรพสินค้าแพลตตินัม ถ.เพชรบุรี แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ จากการสอบถามนางวูให้การว่า ตนเคยเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย พบเห็นมีคนขอทานตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ จึงเชื่อว่าสามารถทำเงินได้ดี จึงเข้ามาทำบ้างและได้เงินดีจริง จากนั้นต่อมาจึงได้กลับมาประเทศไทยอีกครั้งเพื่อมาเป็นขอทาน ซึ่งบางวันสามารถได้เงินจากการเป็นขอทานมากกว่า 10,000 บาท โดยเมื่อได้รับเงินแล้วจะนำไปแลกเป็นเงินสกุลหยวนเพื่อโอนเข้าบัญชี WeChat ของตนเอง และในวันที่ถูกจับกุมนางวูก็ได้โทรหา น.ส.นามี ให้นำหนังสือเดินทางและเสื้อผ้ามาให้กับตน ที่ สน.พญาไท

รายที่ 3 นางหยวน (นามสมมติ) อายุ 39 ปี ถูกจับกุมโดย สน.บางพลัด เมื่อวันที่ 19 พ.ย.66 ที่บริเวณ หน้าห้างสรรพสินค้าเมเจอร์ปิ่นเกล้า แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ จากการสอบถามนางหยวนให้การว่าตนเดินทางเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับนายอวู (นามสมมติ) สัญชาติจีน แฟนของตน ซึ่งทั้งคู่ประกอบอาชีพขอทานตั้งแต่ที่อยู่ในประเทศจีน และเคยไปประกอบอาชีพขอทานที่ประเทศมาเลเซียมาก่อนหน้านี้ ต่อมาเมื่อประมาณกลางปีได้มาเป็นขอทานในประเทศไทย ปรากฏว่ารายได้ดี จึงทำเป็นอาชีพเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อนางหยวนถูกจับกุม นายอวูเห็นข่าวแล้วจึงได้พยายามหลบหนี แต่นายอวูก็ได้ติดต่อ น.ส.สุรภา (นามสมมติ) สัญชาติไทย ให้เป็นผู้นำหนังสือเดินทางของนางหยวนไปให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตม. จึงได้เพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของนายอวู และติดตามควบคุมตัวนายอวู ได้ที่ อ.อรัญประเทศ จว.สระแก้ว ขณะกำลังจะเดินทางไปประเทศกัมพูชา นำส่ง กก.3 บก.สส.สตม. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รายที่4 นางหู (นามสมมติ) อายุ 28 ปี ถูกจับกุมโดย สน.ทุ่งมหาเมฆ เมื่อวันที่ 20 พ.ย.66 ที่บริเวณ BTS ศาลาแดง แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ จากการสอบถามนางหูให้การว่า ได้เข้ามาประเทศไทยเพื่อมาขอทาน เนื่องจากทราบจากเพื่อนมาว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้มาก

รายที่ 5 นายฟาร (นามสมมติ) อายุ 28 ปี ถูกจับกุมโดย สน.ลุมพินี เมื่อวันที่ 20 พ.ย.66 ที่บริเวณ BTS อโศก แขวงคลองเตยเหนือ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ จากการสอบถามนายฟารให้การว่า ตนเดินทางมาท่องเที่ยว ที่ประเทศไทย และได้ทำหนังสือเดินทางหาย จึงได้ยื่นขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานทูตจีน ประจำประเทศไทย โดยในขณะที่รอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ พบว่าไม่มีเงินพอใช้จ่าย จึงไปเป็นขอทานอยู่แถวย่านลุมพินี

และรายที่ 6 นายหวัง (นามสมมติ) อายุ 33 ปี ถูกจับกุมโดย สน.บางรัก เมื่อวันที่ 20 พ.ย.66 ที่บริเวณ ถ.สีลม ซ.4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ จากการสอบถามนายหวังให้การว่า ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อมาท่องเที่ยว พักอาศัยด้วยกันที่โรงแรมแห่งหนึ่ง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ แต่เงินที่เตรียมมาสำหรับท่องเที่ยวหมด จึงได้มาเป็นขอทานแถวถนนสีลม

 

 

จากการสืบสวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าขอทานสัญชาติจีนดังกล่าวทั้ง 6 ราย บางรายรู้จักกันบางรายไม่รู้จักกัน เมื่อเห็นว่าเพื่อนมาประกอบอาชีพขอทานที่ประเทศไทยแล้วทำเงินได้ดี ก็จะพากันมาทำแบบเพื่อน โดยกลุ่มขอทานชาวจีนเหล่านี้ไม่ได้เข้ามาแค่ในประเทศไทย แต่ยังเคยไปขอทานในประเทศอื่นด้วย เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ส่วนบาดแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายของกลุ่มขอทานดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากอุบัติเหตเพลิงไหม้ตั้งแต่ยังเด็ก ไม่มีรายใดให้การว่าถูกทรมานหรือถูกบุคคลอื่นทำร้ายแต่อย่างใด กลุ่มขอทานเหล่านี้ได้ใช้ความน่าสงสารของตนเพื่อดึงดูดให้ประชาชนทั่วไปเห็นใจและบริจาคเงินให้

 

 

ซึ่งบางวันได้รับรายได้มากกว่า 10,000 บาท โดยการมานั่งขอทานไม่มี การถูกบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด ประกอบกับการเดินทางมาขอทานตามจุดต่างๆ ทุกคนล้วนเดินทางมาเองโดยรถโดยสารสาธารณะ และการพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยทุกคนล้วนเช่าห้องพักด้วยตนเอง นอกจากนี้ได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินของขอทานทั้งหมด ปรากฏว่าเงินที่ได้จากการขอทานทุกคนได้เก็บเงินเข้าบัญชีวีแชทเพลย์ของตนเอง ไม่ได้ส่งหรือแบ่งให้กับผู้อื่น ส่วนกรณีหญิงไทยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มขอทานสัญชาติจีนดังกล่าวนั้น ข้อเท็จจริงทราบว่า มาทำหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษาให้กับกลุ่มขอทานสัญชาติจีน เนื่องจากบางคนเคยใช้ให้เป็นล่ามให้กันมาก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีขอทานหญิงชาวจีน1รายได้เดินทางกลับประเทศไปก่อนหน้านี้ และขอทานชายชาวจีน1ราย ซึ่งพบเบาะแสว่าของทานแถวตลาดลาดกระบัง อยู่ระหว่างการติดตามตัว

ส่วนที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าชาวจีนที่มีรูปลักษณ์เป็นคนพิการอาจจะถูกทรมาน หรือบีบบังคับหรือไม่ พล.ต.ต.เชิงรณ ริมผดี ผบก.ตม.2 เผยว่า จากการตรวจสอบหนังสือเดินทางกลุ่มคนเหล่านี้เดินทางเขามาด้วยใบหน้าตรงตามหนังสือเดินทาง บางคนอาจจะมีการสวมวิกผม ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้มองว่าเป็นการอำพรางใบหน้าแต่บางคนอาจจะใส่เพื่อปกปิดบาดแผลหรือสร้างภาพลักษณ์ตนเองให้ดีขึ้น นั้นหมายความว่าบาดแผลที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดในประเทศไทย ส่วนเงินที่ได้จากการขอทานนั้นจะถูกส่งต่อไปให้กลุ่มนายทุนหรือไม่ ต้องบอกว่าตอนนี้ยังไม่พบกลุ่มนายทุน แต่ทาง ตม.ได้ประสานไปยังทางการจีนแล้วเพื่อบอกว่ามีเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น และให้ทางการจีนเป็นผู้สืบสวนต่อทั้งในเรื่องบาดแผล และเส้นทางการเงิน

 

ขอทานในกลุ่มที่ 2 โดย บก.สส.สตม. ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการย่านซอยนานา เขตสุขุมวิท กรุงเทพฯ ว่า มีแก๊งขอทานลักษณะคล้ายคนตะวันออกกลาง ความเดือดร้อนรำคาญให้กับร้านค้าและนักท่องเที่ยวย่านซอยนานา เขตสุขุมวิท กรุงเทพฯ จึงได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มคนต่างด้าวดังกล่าว เป็นกลุ่มคนสัญชาติจอร์แดน ซึ่งพักอาศัยอยู่โรงแรมย่านซอยนานา สุขุมวิท กรุงเทพฯ โดยจะนัดรวมตัวกันบริเวณหน้าห้างนานาสแควร์ จากนั้นจะแยกย้ายกันขอทานในลักษณะรบเร้า เดินตามนักท่องเที่ยวที่กำลังซื้อสินค้าในร้าน และเมื่อนักท่องเที่ยวให้เงินแล้วยังเดินตามมาขอเงินซ้ำอีก โดยจะมาเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 2-3 ราย และจะอุ้มเด็กเล็ก จูงมือเด็กโต เพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้สึกสงสาร บางครั้งจะยืนรอนักท่องเที่ยวที่ตู้กดเงินสด เมื่อนักท่องเที่ยวมากดเงินจะเข้าไปหาเพื่อขอเงิน

 

ซึ่งนักท่องเที่ยวบางรายต้องให้เงินจำนวน 500-1,000 บาท กลุ่มคนดังกล่าวจึงจะยอมเลิกขอเงิน ทางเจ้าหน้าที่ สำนักงานตรวตคนเข้าเมือง ได้เข้าตรวจสอบโรงแรมย่านซอยนานา ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของกลุ่มขอทานดังกล่าว พบคนต่างด้าวสัญชาติจอร์แดนเป็นผู้ใหญ่ 7 ราย (ชาย 3 ราย, หญิง 4 ราย) และผู้ติดตาม 16 ราย จากการตรวจสอบพบว่าเป็นกลุ่มที่ตระเวนขอทานบริเวณซอยนานา และเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่ผู้ประกอบการถ่ายภาพ และคลิปวีดีโอไว้ จึงได้ตรวจสอบหนังสือเดินทางของกลุ่มดังกล่าวพบว่า ทั้งหมดเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว และจากการตรวจสอบในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตม. พบว่ามีคนต่างด้าว 1 ราย การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงแล้ว จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาและจับกุมตัวนำส่งพนักงานสอบสวน กลุ่มงานสอบสวน สตม. ดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนรายอื่นตรวจสอบพบว่า การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังไม่สิ้นสุด ผบก.สส.สตม.จึงได้เพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวดังกล่าว เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน เชื่อว่าเข้ามาเพื่อประกอบกิจการที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และขึ้นบัญชีเป็นคนต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร นำตัวส่ง กก.3 บก.สส.สตม. เพื่อดำเนินการกักตัวรอส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ขอทานชาวจีนและตะวันออกกลางไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ถ้าดูจากพฤติการณ์การก่อเหตุที่ต่างกัน

นอกจากนี้ สตม. ยังได้มีการระดมกวาดล้าง จับกุมคนต่างด้าว ในข้อหา กระทำการเป็นขอทานตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ เช่น เมืองพัทยา/ จ.เชียงใหม่ และจ.ภูเก็ต ทำให้สามารถจับกุมต่างด้าวขอทานได้อีก จำนวน 33 ราย โดยแบ่งออกเป็น สัญชาติกัมพูชา 27 ราย, สัญชาติเมียนมา 2 ราย, สัญชาติรัสเซีย 2 ราย, และสัญชาติจีน 2 ราย ซึ่งภายหลังจากการจับกุม คนต่างด้าวที่เข้ามาขอทานในประเทศไทยทั้งหมด จะถูกขึ้นบัญชีบุคคลต้องห้าม (Blacklist) ไว้ ก่อนพลักดันกลับประเทศต้นทาง

 

 

โดย พล.ต.ต.เชิงรณ ริมผดี ผบก.ตม.2 ยังได้เปิดเผยถึงมาตรการ การคัดกรองคนเข้าเมืองหลังจากนี้อาจจะต้องมีความเข้มงวดขึ้นว่า ทาง ทางนโยบายเรามีการวางแผนไว้แล้ว 2 ชั้น 1.คือการสกัดกั้น และการป้องกันบุคคลต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในลักษณะของภายสังคม หรือการก่ออาชญากรรม ก็จะเป็นด้านทางประตูทางเข้าของประเทศทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด่านทางอากาศ ทางบก หรือทางเรือ โดยเฉพาะด้านทางอากาศที่ต้องเพิ่มความเข้มในการตรวจสอบโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ได้มีการกำชับเจ้าหน้าที่ให้สังเกตุชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมการณ์ หรือส่อไปในทางก่ออาชญากรรมหรือภัยสังคม ส่วนคนพิการต้องบอกว่า ความพิการของเขาไม่ได้เป็นสิ่งที่เราจะไปตัดสินให้เขาเข้าหรือไม่เข้าเมือง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการตรวจสอบ ซึ่งมาตรการก็อาจจะต้องมีการตรวจสอบการยืนยันที่พัก มีการชำระค่าที่พักหรือไม่อย่างไร ตั๋วเครื่องบินเดินทางกลับ มีแผนการท่องเที่ยวในประเทศอย่างไร ซึ่งทุกคนต้องเตรียมการตอบคำถาม มาตรการในชั้นที่ 2 คือการเข้าตรวจสอบการยืนยันที่พัก ซึ่งต้องขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการในการแจ้งยืนยันที่พักของบุคคลต่างชาติกับเจ้าหน้าที่ ตม.ด้วย เพื่แสะดวกต่อการตรวจสอบ นอกจากนี้ ตม.ทุกพื้นที่เอ็กซ์เรย์ในพื้นที่ว่ามีบุคคลต่างชาติที่ทำตัวเป็นภัยต่อสังคมหรือไม่ และทำการกาดล้างตรวจค้นยางไปจนถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ด้วย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น