สีสันวันลอยกระทง การเเสดงเเกลมอ ของนักเรียน เเบบประเพณีเขมรกวยลาว สร้างเสียงฮือฮาเป็นอย่างมาก

สุรินทร์ - สีสันวันลอยกระทง การเเสดงเเกลมอ ของนักเรียน เเบบประเพณีเขมรกวยลาว สร้างเสียงฮือฮา บรรยากาศคึกคัก เพราะเป็นพิธีดั่งเดิมของภาคอิสานใต้เเละไม่เคยเห็นเเสดงมาก่อน ในงานวันลอยกระทง ของเทศบาลอำเภอบัวเชด จ.สุรินทร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 27 พ.ย. 2566 ที่บริเวณลานพระใหญ่ ริมบึงบัวเชด ต.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของตลาดสดเทศบาลตำบลบัวเชด ได้มีการจัดประกวดนางนพมาศขึ้น เนื่องในวันลอยกระทง เเละประกวดกระทงเเต่ละชุมชนซึ่งปีนี้บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก

 

โดยภายในบริเวณในงาน ก็จะมีกระทงวางอยู่อย่างมากมายหลายชนิด และเมื่อถึงงานภาคกลางคืน นายสมชาย วงศ์จริยะเกษม นายอำเภอบัวเชด ได้เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยมีนายไตรภพ ดวงอินทร์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบัวเชด เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในวันนี้ พร้อมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน เเละประชาชนทั่วไปที่มาร่วมงาน

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยในงานได้มีการมอบรางวัลให้กับผู้ชนะการประกวดนางนพมาศประจำปี เเละการมอบรางวัลประกวดกระทง จากนั้นก็ได้ร่วมลอยกระทงกับประชาชนที่มาร่วมงาน เพื่อร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2566 ครั้งที่ 27 กันอย่างสนุกสนาน พร้อมการจุดพลุ เฉลิมฉลองเนื่องในวันลอยกระทง.

 

และไฮไลท์ของงาน ได้มีการเเสดงของเด็กนักเรียนหลายโรงเรียนเข้าร่วม เเต่การเเสดงที่สร้างเสียงฮือฮาไม่น้อย คือการแสดงของเด็กนักเรียนบ้านบัวเชด ต.บัวเชด อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ซึ่งออกมาเเสดงในการรำละเล่นเเกลมอ

 

 

 

 

 

สำหรับ “แกลมอ” เป็นภาษากูย “แกล” แปลว่า เล่น คำว่า”มอ” เป็นคำเฉพาะ ซึ่งแกลมอ หมายถึง “การเล่นมอ” พิธีกรรมแกลมอ มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าพิธีกรรมนี้มีมานานแล้ว ชาวกูยรับการถ่ายทอดต่อเนื่องกันมา จากรุ่นสู่รุ่น และปฎิบัติมาโดยตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยจัดพิธีนี้ขึ้นเนื่องในโอกาส 3 ประการ คือ

1. เพื่อเป็นการเคารพครูบาอาจารย์ ปู่ย่า ตายายที่เคยเคารพ เมื่อถึงวันสำคัญในรอบปีก็จะดำเนินพิธีกรรมขึ้นปีละ 1 ครั้ง ในวันอังคาร ขึ้น 8 หรือ 15 ค่ำ ของเดือนยี่ ตรงกับเดือนมกราคมของทุกปี

2. เพื่อแก้บน ตามที่ได้บนบานไว้

3. เพื่อรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมาให้ความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำผ่านล่าม หรือคนทรงเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย และหาทางรักษาตามความเชื่อชาวไทยกูย มีความเชื่อในเรื่องผีปู่ตา และเชื่อว่าตะกวด เป็นตัวแทนของผีปู่ตา เชื่อว่าตะกวดเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำ และฝน อันเป็นที่มาของความอุดมสมบูรณ์ โดยเซ่นไหว้ผีปู่ตาประจำหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการเล่นแกลมอ ภูมิปัญญารักษาโรคด้วยเพลงดนตรี ที่สืบสานกันมานาน ตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยกูย เป็นพิธีกรรมที่ช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคน กับคน คนกับธรรมชาติอีกด้วย.

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว พูนสิน ยั่งยืน ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.สุรินทร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วธ. เปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ "ร.ต.ทวี บูรณเขตต์" ศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างสรรค์ประติมากรรม "พระพุทธชินราช" จำลอง
ศาลให้ประกันตัว "สมรักษ์ คำสิงห์" ตีวงเงิน 4 แสนบาท คดีพรากผู้เยาว์-พยายามข่มขืนสาว 17
นาทีประวัติศาสตร์! นายกฯร่วมพิธีลงนาม FTA ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาล สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน
กรมโยธาธิการและผังเมือง เน้นย้ำ “มาตรการป้องกันฝุ่น” ก่อสร้างอาคาร ร่วมเดินหน้าเร่งแก้ไข PM 2.5
“เต้” เล่านิทานคืนสยองขวัญ “คนบนฝั่ง” อำนาจล้น-สั่งปิดปากคดี “แตงโม”
ผู้นำสิงคโปร์เตือนสงครามโลกหากถูกบังคับเลือกข้าง
ทหารเกาหลีเหนือพุ่งโขกเสาหนีโดนจับ
ผู้นำสหรัฐฯจี้ปูตินจบสงครามไร้สาระหรือเจอแซงชั่น
สหรัฐฯขึ้นบัญชีฮูตีองค์กรก่อการร้ายต่างชาติ
DSI เข้าเรือนจำ แจ้งข้อหาเพิ่ม ‘บอสพอล-สามารถ’ สมคบร่วมฟอกเงิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น