"มะเร็งลำไส้ใหญ่" โรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 3 ของคนไทย เช็ค ๆ อาการ การตรวจเพื่อการวินิจฉัย การรักษา รู้เร็ว รู้ไว รักษาได้ทันท่วงที
ข่าวที่น่าสนใจ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็น “มะเร็งลำไส้ใหญ่” เมื่อมีอาการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ถ่ายมีมูกเลือด ท้องผูก ปวดเบ่งถ่ายตลอดเวลา อุจจาระลำเล็กลง ก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสการเสียชีวิตสูง การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ (การตรวจคัดกรอง คือการตรวจตั้งแต่ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ) หรือการมาพบแพทย์ทันทีตั้งแต่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสำหรับโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ แล้ว ถ้ารู้เร็ว รักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
มะเร็ง ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก มักพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย อายุเฉลี่ยของคนไทยที่ตรวจพบมะเร็งชนิดนี้อยู่ในช่วงอายุ 60 – 65 ปี ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก จะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะบุคคลในครอบครัวนั้นเป็นญาติสายตรงลำดับแรก ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง และบุตร
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ แต่เชื่อว่าการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารมาก ทานอาหารที่มีไขมันน้อย ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการป้องกันภาวะท้องผูก จะลดโอกาสการเกิดมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ ได้
สำหรับการตรวจพบแต่เนิ่น ๆ ต้องทำตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติ เรียกการตรวจนี้ว่า การตรวจคัดกรอง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ซึ่งแนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และมีหลายวิธี เช่น การตรวจเม็ดเลือดแดงในอุจจาระทุก 1 – 2 ปี, การสวนสารทึบรังสีตรวจลำไส้ใหญ่ หรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทุก 5 ปี เป็นต้น
อาการ ที่สังเกตและพบได้ในผู้ป่วยมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ได้แก่
- ขับถ่ายผิดปกติ (ถ่ายบ่อยหรือน้อยกว่าปกติ)
- ท้องผูก
- ปวดเบ่งในช่องทวารหนัก
- ถ่ายไม่สุด
- ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด หรือเป็นเลือดแดงสด (อาจมีเลือดปนมากับอุจจาระคล้ายกับโรคริดสีดวงหนักก็ได้)
- อุจจาระลำบากหรือลำอุจจาระมีขนาดเล็กลง
- คลำพบก้อนในท้อง ซีด
- เบื่ออาหารและน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ อาจจะไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ เลยก็เป็นได้
การตรวจเพื่อการวินิจฉัย
- เริ่มจากการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดโดยแพทย์ อาจรวมถึงการใช้นิ้วสอดเข้าตรวจทางทวารหนักด้วย แพทย์อาจพิจารณาทำการตรวจต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น การส่องกล้องเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจสอบเซลล์มะเร็ง และอาจมีการตรวจทางรังสีวิทยาเพิ่มเติม เช่น การตรวจอัลตราซาวน์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินระยะของโรคและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การรักษา
- สำหรับการรักษามะเร็ง ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก นั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง ระยะของโรค รวมถึงสภาพร่างกายและความพร้อมของผู้ป่วยขณะนั้นว่าเหมาะสมกับวิธีใดมากที่สุด โดยทั่วไปการรักษามะเร็ง ลำไส้ใหญ่ วิธีที่ดีที่สุด ได้แก่ การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ส่วนที่มีเนื้อร้ายออก สำหรับการให้ยาไปทำลายเซลล์มะเร็ง (เคมีบำบัด) และ/หรือ การฉายรังสีรักษา เป็นการรักษาเพิ่มเติมในกรณีที่มีข้อบ่งชี้
“อาการผิดปกติของระบบขับถ่ายแม้เพียงเล็กน้อยอาจเป็นอาการเริ่มแรกของมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ ก็เป็นได้ ดังนั้น หากมีความผิดปกติดังกล่าวข้างต้นควรมาพบแพทย์ เพราะ รู้เร็ว รู้ไว รักษาได้ทันท่วงที มีโอกาสหายได้”
ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.ดร.นพ.วรุตม์ โล่ห์สิริวัฒน์ , โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
Studio7 : Asus Gaming Gear 30 Nov – 17 Dec 2023
- ROG X EVANGELION EDITION แรร์ไอเทม เซ็ตเกมมิ่งเกียร์วางจำหน่ายแล้ว ออนไลน์เท่านั้น ช้อปเลย : คลิกที่นี่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง