logo

เลขายูเอ็นใช้อำนาจมาตรา 99 สั่งอิสราเอลหยุดยิงกาซา

เลขาธิการยูเอ็นประกาศใช้อำนาจมาตรา 99 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติครั้งแรกในรอบหลายสิบปีกดดันคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นหรือ UNSC สั่งอิสราเอลหยุดยิงในกาซา ส่งผลให้นานาชาติออกมาขานรับ ส่วนอิสราเอลซัดกลับทันทีกล่าวหาเข้าข้างฮามาส

รอยเตอร์ส, AFP, BBC และ The Times of Israel รายงานว่านายอันโตนิโอ กูเตเรส เลขาธิการสหประชาชาติได้ยื่นจดหมายถึงประธานคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นหรือ UNSC เมื่อวานนี้ (พุธที่ 6 ธค.) โดยมีเนื้อหาว่าเขาได้ประกาศใช้อำนาจในมาตรา 99 ซึ่งเป็นหนึ่งในกฎหมายแม่บทของกฎบัตรสหประชาชาติเป็นครั้งแรก ขอให้ UNSC มีมติให้อิสราเอลหยุดยิงอย่างถาวรในกาซา พร้อมระบุว่าระบบมนุษยธรรมในกาซากำลังตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างร้ายแรงที่จะล่มสลาย และว่าสถานการณ์ในกาซาขณะนี้เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วเข้าสู่ความหายนะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของชาวปาเลสไตน์และทั้งภูมิภาค และว่าประชาคมโลกมีความรับผิดชอบที่จะใช้อิทธิพลในการยับยั้งความหายนะไม่ให้เกิดขึ้น

นายสเตฟาน ดูจาริก โฆษกยูเอ็นออกมากล่าวว่าการประกาศใช้อำนาจมาตรา 99 ของเลขาธิการยูเอ็นถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี และเป็นครั้งแรกของกูเตเรส ถือเป็นการกดปุ่มเตือนภัยคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น และอยู่ในอำนาจของเลขาฯยูเอ็นที่สามารถประกาศใช้ได้เมื่อรู้สึกว่ากำลังเกิดภัยคุกคามต่อสันติภาพและเสถียรภาพโลก

ด้านนายแมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐปฎิเสธที่จะออกความเห็นในเรื่องนี้ โดยบอกว่าสหรัฐจะพูดคุยกับกูเตเรสและสมาชิก UNSCE

ขณะเดียวกัน หลายฝ่ายออกมาขานรับมาตรา 99 ของเลขาฯยูเอ็นทันที รวมทั้งนายริยาด มานซูร์ ทูตปาเลสไตน์ประจำยูเอ็น ซึ่งกล่าวว่าตัวเขาและรัฐมนตรีชาติอาหรับอีกหลายชาติจะเดินทางไปสหรัฐในวันนี้เพื่อหารือในเรื่องดังกล่าว และว่ามาตรการหยุดยิงในกาซาจะต้องเกิดขึ้นโดยทันที เช่นเดียวกับนายเทดดรอส อัดฮานอม ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก, นายกรัฐมนตรีเปโดร ซานเชส ของสเปน, และโจเซฟ บอร์เรล ผู้อำนวยการนโยบายต่างประเทศของอียู ที่เรียกร้องชาติสมาชิกอียูให้สนับสนุนมาตรา 99 ของเลขาธิการยูเอ็น

อย่างไรก็ตาม นายเอลี โคเฮน รัฐมนตรีต่างประเทศอิสราเอลออกมาโต้กลับและตำหนิการใช้อำนาจมาตรา 99 ของกูเตเรสว่าเป็นอันตรายต่อสันติภาพโลก และถือเป็นการสนับสนุนและเห็นชอบกับฮามาสในการสังหารและทารุณชาวอิสราเอล

ทั้งนี้มติของ UNSC จะมีผลบังคับใชัได้จะต้องมีเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 9 เสียง ไม่นับรวมเสียงโหวตจาก 5 ชาติสมาชิกถาวรคือสหรัฐ, จีน, รัสเซีย, ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"โสภณ" ลั่น ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ต้องปฏิวัติการศึกษา เท่าเทียม ทั่วถึง ทันยุค
ครม.นัดพิเศษ แต่งตั้ง "หมอมิ้ง นพ.พรหมินทร์" นั่งเลขาธิการนายกฯ
ตามรวบ "สาวแสบมิจฉาชีพออนไลน์" ส่งลิ้งลวงเหยื่อ ขอคืนเงินค่า FT ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี เสียหายเกือบ 2 ล้านบาท
ททท.จัดต่อเนื่อง "Amazing Muay Thai Experiences" ตอกย้ำเสริมเสน่ห์ไทยด้วยกีฬา "มวยไทย" ชวนนักท่องเที่ยวเดินทางสัมผัสประสบการณ์ถึงถิ่นกำเนิดมวยดี 4 สาย
จนท.บุกตรวจ "แรงงานต่างด้าว" 149 คน แอบเช่าบ้าน 2 หลังในชุมชนขอนแก่น เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง
"วรชัย" วอน "เสรีพิศุทธ์" อย่าตั้งเป้าโจมตี ขอโอกาสรัฐบาลทำงาน ให้เวลาพิสูจน์แก้ปัญหาปชช.
“อ.ธรณ์” ห่วง “ฮาลองเบย์” สถานที่สวยงาม ถูกพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" พัดถล่ม หวังให้ทุกคนที่นั่นปลอดภัย
ไร้ปาฏิหาริย์ พบแล้ว "นทท.เบลเยี่ยม" หลังหายตัวลึกลับ ทีมค้นหาพบร่าง บริเวณท้ายฝาย "น้ำตกแม่เย็น"
"พิพัฒน์" เดินหน้า 1 ต.ค. ปรับค่าแรง 400 พร้อม 7 มาตรการ ลดกระทบนายจ้าง-ลูกจ้าง ถกพณ.คุมสินค้าแพง
เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ตราดรับฟังสถานการณ์บริหารจัดการน้ำรับมือน้ำท่วมหลังพายุไต้ฝุ่นนางิ และ ฝนตกหนักกลางเดือนกันยายน หวั่นท่วมรอบ 2

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น