“ชัยธวัช” กร้าวสภาฯมีอำนาจ อย่าให้ศาลเป็นเจ้าของรธน. มองขั้นตอนขอศาลรธน. ตีความประชามติ ใช้เวลามากเกินไป

"ชัยธวัช" ย้ำ สภาฯมีอำนาจโดยสมบูรณ์ ขออย่าทำให้ "ศาล" เป็นเจ้าของ "รธน." มองขั้นตอนขอศาลรัฐธรรมนูญ ตีความประชามติ ใช้เวลามากเกินไป

วันที่ 11 ธ.ค. 66 นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงแนวทางที่พรรคเพื่อไทยอาจจะมีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ขัดกับคำวินิจฉัยเดิม เพื่อหาช่องถามศาล ในฐานะฝ่ายค้านสนับสนุนแนวทางนี้ หรือมีมุมมองอย่างไรบ้าง ว่า จุดยืนของพรรคก้าวไกลเราเห็นว่า สภาฯ มีอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้วินิจฉัยว่า ต้องทำ แต่แนะนำให้ทำประชามติก่อน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า ข้อเสนอของพรรคก้าวไกล เราเสนอให้ทำประชามติตั้งแต่แรก ไม่ใช่เพราะเราเห็นว่า ต้องทำตามการตีความ หรือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่เราคิดว่ามีประโยชน์ในทางการเมือง ไม่ต้องไปเสียเวลา ทำจนติดขั้นของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่จะทำให้เสียโอกาส อย่าลืมว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 จะต้องผ่านเสียง 1 ใน 3 ของ สว.ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา สว.ก็มีจุดยืนชัดว่า ถ้าจะแก้ไขทั้งฉบับ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 ให้มี สสร. มาทำใหม่ทั้งฉบับ ควรจะต้องทำประชามติ

นายชัยธวัช กล่าวอีกว่า อีกหนึ่งมิติที่สำคัญ คือเรา สามารถใช้โอกาศในการทำประชามติครั้งแรก เพื่อหาฉันทามติร่วมกันของประชาชนได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ เพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองกับข้อเสนอที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มี สสร. ส่วนประเด็นที่ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันในสังคม ก็สามารถใส่เข้าไปเป็นคำถามพ่วงของประชามติได้ เพื่อหาข้อยุติในความเห็นที่แตกต่างกัน ตามกระบวนการประชาธิปไตย สิ่งนี้ก็มีข้อดีของมัน

เมื่อถามถึงข้อกังวลจากฝ่ายรัฐบาล ต่อคำถามพ่วงที่พรรคก้าวไกลเสนอ จะสามารถหาข้อยุติได้อย่างไร นายชัยธวัช กล่าวว่า เรื่องที่ควรมีคำถามพ่วง มาจากจุดยืนกับข้อเสนอของพรรคก้าวไกล ที่เราอยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จริงๆ เราจึงไม่อยากให้ออกแบบคำถามหลักในการถามประชามติ ที่ใส่เงื่อนไขยิบๆ ย่อยๆ จนทำให้ประชาชนที่เห็นด้วยกับการทำธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่เห็นด้วยกับคำถามยิบย่อย มาโหวตไม่เห็นด้วย หรือโหวตไม่ประสงค์ลงคะแนน ดังนั้น คำถามหลักจึงควรเป็นคำถามที่กว้าง และมีจุดร่วมมากที่สุด ส่วนประเด็นที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก็ให้มาถามที่คำถามย่อย แต่จะถามอะไรบ้าง ตนคิดว่ายังมีเวลาที่จะหารือกัน

เมื่อถามว่า การที่พรรคเพื่อไทยเปิดให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ จะดูเหมือนการเตะถ่วง หรือดูไม่จริงใจ กับการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ นายชัยธวัช กล่าวว่า เราอาจมองได้ว่า การไปถามศาลรัฐธรรมนูญก่อน เป็นการเพิ่มความชัดเจนให้กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ได้ อย่าไปมองมิติเดียว แต่อาจจะทำให้ใช้เวลามากจนเกินไป ซึ่งตนคิดว่า ต้องอย่าไปทำให้ศาลรัฐธรรมมนูญเป็นทุกอย่าง เป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ เพราะเราใช้คำวินิจฉัยของเราเองได้ แต่ประเด็นสำคัญ คือการหาแนวทางที่จะทำให้เราได้รับเสียง สว.เกิน 1 ใน 3 ได้อย่างไร ซึ่งเราสามารถใช้เสียงของพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ในการทำประชามติครั้งแรก มาให้ สว.ยอมรับได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ลุค อิชิคาว่า" นักแสดงลูกครึ่ง ร้องปอท.ถูกใส่ร้ายผ่านโซเชียลฯ สร้างความเสื่อมเสีย วอนชาวเน็ตอย่าเชื่อพวกหิวแสง
แน่นสำนักพม.ขอนแก่น "ผู้พิการ" แห่ต่ออายุ-ทำบัตรใหม่ รอรับเงินหมื่น
สุดเศร้า "สาวใหญ่" ร้องถูก "ผัวตำรวจ" ซ้อมอ่วม ซ้ำพยายามล่วงละเมิดลูกเลี้ยง ยันขอดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
บริษัทผลิตเพจเจอร์มรณะที่แท้เป็นของอิสราเอล
เลบานอนแบนเพจเจอร์และวอล์กกี้ทอล์กกี้บนเครื่องบิน
“ชนินทร์” จวก “เท่าพิภพ” หยุดเอาดีเข้าตัว ป้ายผู้อื่นเป็นโจรสลัด ชี้ปมร่างสุราก้าวหน้า ถ้าอยากเปลี่ยนแปลง ต้องแสวงหาความร่วมมือ
คุณยายครูเบญเปิดใจทั้งน้ำตา หลังจากที่หลานสาวสอบติดพนักงานราชการแต่ชื่อหาย
"ซีอีโอ TSB" เปิดใจ พัฒนารถเมล์ก้าวสู่ปีที่ 3 พร้อมรับฟัง-นำข้อมูลปรับปรุงทุกจุด ประกาศชัด "รถเมล์คนไทยโตอย่างยั่งยืน"
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราร่วมกิจกรรมประชุมสภากาแฟครั้งสุดท้าย ก่อนเกษียณอายุราชการ พร้อมปล่อยพันธุ์กุ้งกุลาดำจำนวน 2 แสนตัว เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมประมง
"พิพัฒน์-สุรศักดิ์" จับมือ สร้างโอกาส นศ.ทำงานปิดเทอม หมื่นอัตรา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น