“กรมการท่องเที่ยว” เซ็น MOU 6 หน่วยงาน แก้ปัญหานอมินีธุรกิจท่องเที่ยว

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวฯ จับมือ 6 หน่วยงานเซ็น MOU ตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมแก้ปัญหานอมินีในธุรกิจท่องเที่ยว หวังปราบปรามและป้องกันการทำธุรกิจสีเทาให้หมดไปจากประเทศ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการท่องเที่ยวไทย

วันที่ 13 ธ.ค. 66 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดพิธีร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแก้ปัญหาการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวโดยใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพราง หรือเรียกว่า นอมินี (NOMINEE) ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันของ 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการท่องเที่ยว , สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา , กรมพัฒนาธุรกิจการค้า , กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) , กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว , และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยได้รับเกียรติจากนายกิตติ เชาวน์ดี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานและสักขีพยาน

 

 

 

นายกิตติ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และเป็นจุดดึงดูดให้บุคคลที่ไม่ใช่คนไทย เข้ามาแอบแฝงประกอบธุรกิจท่องเที่ยวโดยใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพราง หรือ นอมินี ซึ่งปัจจุบันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ยังพบการกระทำที่ผิดกฎหมายของผู้ประกอบการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ มีการแย่งชิงนักท่องเที่ยวระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเอง เกิดกับดักการตั้งราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องและไม่สามารถดำเนินการตามที่ตกลงไว้กับนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุของสภาพปัญหาต่างๆ ตามมา เนื่องจากผู้ประกอบการต้องหารายได้จากทางอื่นมาทดแทน เช่น ปัญหาการบังคับให้ซื้อสินค้าที่ระลึก หรือบังคับให้จำเป็นต้องซื้อรายการนำเที่ยวเสริม (Optional Tour) ที่ราคาสูงเกินจริง และปัญหาอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอย่างมาก

 

 

ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณทั้ง 6 หน่วยงาน ที่ได้ร่วมมือกันบูรณาการแก้ปัญหานอมินี อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เชื่อว่าหลังจากนี้ ประชาชนจะได้มั่นใจว่า การทำงานของหน่วยงานจะเกิดประสิทธิภาพ สามารถปราบปรามและป้องกัน การทำธุรกิจผิดกฎหมาย หรือธุรกิจสีเทา ให้ลดลง และหมดไปจากประเทศไทย ทำให้ประชาชนและประเทศชาติมีรายได้มากขึ้น รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการท่องเที่ยวไทย ตามวัตถุประสงค์ ของนายกรัฐมนตรีที่ ต้องการให้ปี 2567 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยถึง 35 ล้านคน ถือเป็นภารกิจสำคัญและ Quick Win ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอีกด้วย

 

 

 

นายกิตติ ระบุอีกว่า จากความร่วมมือที่เกิดขึ้นเนื่องจากเล็งเห็นว่าหากปล่อยให้มีการทำธุรกิจสีเทา หรือ การปล่อยให้บุคคลที่ไม่พึงประสงค์ เข้ามาในไทยมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยเสียหายได้ ดังนั้น หาก หากสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้โดยใช้องค์กรหลัก และบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นจะทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน

พร้อมยืนยัน การลงนามนั้น ไม่ได้ต้องการที่จะจับทุกคน เพียงแต่ต้องการป้องปรามไม่ให้เกิดขึ้น และกำจัดออกนอกประเทศ โดยขอให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามกฎหมาย

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การลงนามเอ็มโอยู เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย และจากหน่วยงานพันธมิตร จะเน้นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวถึงการทำผิดในเรื่องของนอมินีหรือไม่ โดยหลังการลงนามฯ กรมจะทำการวางแผนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลงพื้นที่ โดยเฉพาะตามจังหวัดท่องเที่ยวขนาดใหญ่ เพื่อตรวจสอบตามภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งกรมมีพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ที่จะต้องดูสัดส่วนของผู้ถือหุ้นมาตรวจสอบ หากพบต้องสงสัยมีการถือหุ้นเกินสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดจะมีการประสานกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อตรวจสอบเชิงลึกต่อไป

 

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบในปี 2565 มีบริษัทท่องเที่ยวที่ได้จดทะเบียนในไทยอยู่ที่ประมาณ 1.5 หมื่นราย พบธุรกิจต้องสงสัยประมาณ 400 ราย โดยจะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง ในธุรกิจ โรงเเรม รีสอร์ท ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และจะเน้นจังหวัดเเหล่งท่องเที่ยว เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา สมุย กรุงเทพมหานคร เพื่อลงไปตรวจสอบ ทั้งสัดส่วนการถือหุ้นและงบการเงินต่างๆ เป็นต้น หากพบการกระทำผิดจะดำเนินการตามกฎหมาย

 

 

 

 

ด้าน นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว ระบุว่า กรมการท่องเที่ยวจะดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมแก้ไขปัญหาการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวโดยใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพราง (NOMINEE) ใช้ชื่อย่อว่า “ศปต.” ซึ่งตั้งอยู่ที่กรมการท่องเที่ยว และจะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน ภายใต้กรอบความร่วมมือ 4 ด้าน ได้แก่

1. ด้านการจดทะเบียนและการอนุญาตประกอบธุรกิจ
2. ด้านการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูล
3. ด้านการกำกับดูแลและป้องปราม
4. ด้านการส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

 

 

 

สำหรับแนวทางการตรวจสอบธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่เข้าข่ายมีนอมินี ในเบื้องต้นจะเน้นการตรวจสอบบริษัทที่มีความเสี่ยง เช่น มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ ซึ่งต้องตรวจสอบว่าถือหุ้นไม่เกินสัดส่วนที่กำหนด 49.99% หรือไม่ ถ้าไม่เกินต้องดูต่อไปอีกว่ามีอำนาจการบริหารจัดการภายในบริษัท และมีสิทธิในการออกเสียงมากกว่าผู้ถือหุ้นคนไทยที่มีสัดส่วนการถือหุ้น 51% หรือไม่ ถ้ามีมากกว่าก็อาจเข้าข่ายเป็นนอมินี

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 02401 1111 และเว็บไซต์ของกรมการท่องเที่ยว www.tourism.go.th

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น