คปภ.พร้อมสอบบ.ประกันภัยโดน “เต้ มงคลกิตติ์” ร้องกรมธรรม์ปลอม

แหล่งข่าวคปภ. เผยพร้อมเรียกตรวจสอบบริษัทประกันภัย ในสัปดาห์นี้ หรืออย่างช้าภายในต้นสัปดาห์หน้า หลัง “เต้ มงคลกิตติ์” ยื่นขอให้ตรวจสอบบริษัทประกันฯ อาจออกประกันสุขภาพให้แรงงานต่างด้าวปลอม

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 พรรคไทยศรีวิไลย์นำโดย นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ อดีต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ-อดีตหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ และนางสาวภคอร จันทรคณา อดีต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ-อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ เดินทางมายื่นหนังสือถึง นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ขอให้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เข้ามาตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ติดตาม บริษัทประกันภัย ที่รับทำประกันสุขภาพ จำนวน 14 บริษัท ให้กับ แรงงานต่างด้าว สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ให้มีมาตรฐาน คุณภาพ มีจริยธรรม ไม่ออกกรมธรรม์ปลอม และ ไม่ใช้วิธีติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ

 

 

ทั้งนี้ พรรคไทยศรีวิไลย์ ได้รับการร้องเรียน จากบริษัทนายจ้าง แรงงานชาวต่างด้าว บริษัทจัดหางาน ว่าในช่วงที่ผ่านมามี ชาวต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ได้ทำการขออนุญาตทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทุกรายต้องทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยที่กรมการจัดหางานรับรองเท่านั้น ในช่วงระยะที่ยังไม่สามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลของสำนักงานประกันสังคมได้ ประมาณ 4 เดือน ในช่วงที่ผ่านมา ถึง ปัจจุบัน มีบริษัทประกันภัย ที่รับทำประกันสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าว ติดสินบน หรือ จำยอมถูกรีดไถ ให้กับ ฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำในกรมการจัดหางาน หรือ ในกระทรวงแรงงาน จำนวนตัวเลขสูง ถึง 20%-30% อีกทั้งให้ข้าราชการประจำบีบบังคับให้ นายจ้าง แรงงานต่างด้าว บริษัทจัดหางาน ทำประกัน กับ บริษัท T. แล้วจะอนุมัติให้ ทำให้ต้นทุนการทำประกันสูงขึ้น กำไรน้อย จนทำให้บางบริษัทขาดทุน จนมีบาง บริษัท A. ต้องทำกรมธรรม์ปลอมให้กับแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก เมื่อแรงงานต่างด้าวเจ็บป่วย ก็ไม่สามารถเคลมประกันได้ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลายเคส ซึ่งน่าจะเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น พรรคไทยศรีวิไลย์ จึงเรียนมายัง นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. ขอให้ คปภ.เข้ามาตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ติดตาม บริษัทประกันภัย ที่รับทำประกันสุขภาพ จำนวน 14 บริษัท ให้กับ แรงงานต่างด้าว สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ให้มีมาตราฐาน คุณภาพ มีจริยธรรม ไม่ออกกรมธรรม์ปลอม หรือ ไม่ใช้วิธีติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด แหล่งข่าวจากคปภ. เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS ว่า ทางคปภ.ได้รับเรื่องไว้แล้ว เบื้องต้นจะเชิญ บริษัทที่นายมงคลกิตติ์ กล่าวอ้างถึง เข้ามาให้ข้อมูลที่มีการขายกรมธรรม์ ว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร และต้องมีการตรวจสอบอีกครั้ง โดยจะเชิญ 14 บริษัทข้างต้นที่มีการกล่าวอ้างถึง มาให้ข้อมูลภายในสัปดาห์นี้ หรือช้าสุดภายใต้ต้นสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ คปภ. มีสายงานที่เกี่ยวข้องที่จะไปตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งต้องบูรณาการร่วมกัน ขณะที่ส่วนหนึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับกรมการจัดหางาน เพราะจะมีแรงงานที่อยู่ในระบบ และนอกระบบ เรื่องประกันภัยจะเป็นในส่วนกฎหมายของกรมการจัดหางาน ที่บังคับใช้แรงงานต่างด้าว ต้องมีเรื่องของประกันภัย โดยเฉพาะประกันสุขภาพ

ส่วนผลกระทบในมุมของประชาชนที่เกิดขึ้นจากการเคลม ยังไม่มีการยื่นร้องเรียนเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยเมื่อวานนี้ ได้มีการขอข้อมูลกับนายมงคลกิตติ์ ซึ่งระบุว่ามีข้อมูลอยู่ แต่ยังไม่สะดวกที่จะให้ข้อมูล อย่างไรก็ตาม หากมีผลกระทบที่เกิดขึ้น หมายถึงมีการทำกรมธรรม์จริง แล้วเคลมไม่ได้ ทางคปภ.ก็จะดูแลเรื่องนี้

แหล่งข่าว ระบุว่า นายมงคลกิตติ์ ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า เกิดการฮั้วกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับบริษัทประกันภัย และใช้เรื่องประกันภัย เป็นเครื่องมือในการทุจริต ทำให้เกิดผลกระทบต่อแรงงานต่างด้าว ที่ทำกรมธรรม์แล้วไม่สามารถเคลมประกันได้ และมีรายชื่อทั้ง 14 บริษัทอยู่แล้ว โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการรับประกัน และมีการเคลมหรือไม่ รวมถึงการที่ไม่สามารถเคลมได้ เกิดจากสาเหตุอะไร น่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

 

ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียด 14 บริษัทที่มีการกล่าวอ้างถึงนั้น ขอให้ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นออกมาก่อน ว่า 1. เข้าข่ายการรับประกันโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ 2. กรมธรรม์ที่ออกไปมีการพูดถึงว่าเป็นกรมธรรม์ปลอม มันปลอมจริงหรือไม่ 3. กรมธรรม์ ที่ถูกต้องนั้น เมื่อเกิดเคลมได้รับค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่ พวกนี้เป็นประเด็นที่คปภ.ต้องตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่

“สัปดาห์หน้า มีความคืบหน้า อย่างน้อยเรื่องของการรับประกัน ว่าแต่ละบริษัทรับประกันกลุ่มแรงงานต่างด้าวไว้เป็นจำนวนเท่าไหร่ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเคลม ทั้งสถิติการเคลม และมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเท่าไหร่ อย่างไร แต่ถึงขนาดที่มีการฮั้วกันหรือไม่ อาจจะต้องไปดูในรายละเอียดเชิงลึก และอาจจะต้องทำงานร่วมกับกรมการจัดหางาน ซึ่งเป็นต้นทาง”

แหล่งข่าวจากคปภ. ระบุเพิ่มเติมว่า จะมีการทุจริต หรือฮั้วกัน หรือไม่ ต้องไปดูว่า ในระดับพนักงาน หรือระดับปฏิบัติการ มีสิ่งพวกนี้อยู่หรือไม่ อาจจะต้องแยกประเด็นกันพิจารณา ด้วย เนื่องจากหากมีการรับประกันโดยถูกต้องคงไม่ใช่ กรมธรรม์ปลอม หรือเถื่อน เพียงแต่ในระดับของตัวแทน นายหน้า ที่ต้องเป็นคนชี้ช่องจัดหาเรื่องพวกประกันภัย มาทำสัญญากับบริษัท การกระทำผิดเกิดขึ้นในส่วนไหน ก็ต้องไปดู อาจจะมีช่องว่างภายในบริษัทนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากคปภ. ยืนยันว่า ในมุมของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชน ถ้าเกี่ยวข้องกับประกัน มีการรับเบี้ยไปแล้ว ยังไงบริษัทก็ต้องรับผิดชอบ แต่จะรับผิดชอบในแง่ อาทิ ถ้ากรมธรรม์ไม่มีผลบังคับ เพราะเกิดจากการทุจริต จากการกระทำผิดกฎหมาย ก็ต้องคืนเบี้ยไป , แต่ถ้ากรมธรรม์มีสภาพสมบูรณ์ แต่เคลมไม่ได้ บริษัทก็ต้องชี้แจง ว่าทำไมถึงเคลมไม่ได้

ต้องแยกประเด็น อาญาในส่วนของการทุจริต การกระทำผิดกฎหมาย , ส่วนการดูแลเรื่องสินไหม ก็แยกส่วนกันพิจารณา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น