“สนธิญา” ร้อง ป.ป.ช. ฟัน “รักชนก” ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง

“สนธิญา” ร้อง ป.ป.ช. ฟัน “รักชนก” ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง หลังศาลอาญาพิพากษาความผิด ม.112 ชี้ไม่เหมาะกับไปนั่งเป็นสส. เชื่อ ป.ป.ช. ใช้เวลาไม่นาน

วันนี้ ( 15 ธ.ค.) นายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ยื่นหนังสือขอให้สำนักงานคณะป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตรวจสอบ น.ส.รักชนก ศรีนอก สส.แบบเขต กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล จากกรณีศาลอาญารัชดา พิพากษาให้จำคุก 6 ปี ไม่รอลงอาญา และได้รับการประกันตัวไปแล้วนั้นในความผิดมาตรา 112 และ พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ด้วยหลักฐานและคำพิพากษาแม้จะเป็นศาลชั้นต้น แต่การกระทำเหล่านั้นสำเร็จสมบูรณ์ไปแล้ว และไม่เหมาะสมมาทำหน้าที่ในสถาบันนิติบัญญัติอีกต่อไป จึงขอให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตรวจสอบในประเด็นฝ่าฝืน หรือไม่ปฎิบัติมาตรฐานจริยธรรมและความผิดร้ายแรง ตามข้อบังคับประมวลจริยธรรม สส.- สว.ปี 2563 และมาตรฐานทางจริยธรรมที่ร้ายแรงตามรัฐธรรมนญพุทธศักราช 2560 ประกอบการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560

นายสนธิญา ระบุว่า เมื่อน.ส.รักชนก เข้ามาทำหน้าที่เป็น สส. ก็ต้องอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ และกรอบจริยธรรม 2 ฉบับ คือประมวลจริยธรรม ว่าด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมมาธิการ 2563 ซึ่งน.ส.รักชนก กระทำการขัดและฝ่าฝืนต่อจริยธรรมร้ายแรงในหมวด 1 อุดมการณ์
ในข้อที่ 4,6,7,18 และฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตราฐานทางจริยธรรม ม.219 และรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับกับองค์กรอิสระ องค์ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งครอบคลุมถึง สส. สว. ตามข้อที่3 (4) วรรค 2 ประกอบข้อที่ 5,6 และข้อที่ 19 ตนจึงมาใช้สิทธิที่ตามรัฐธรรมนูญ ยื่นต่อป.ป.ช. ให้ตรวจสอบพิจารณาและวินิจฉัยว่าน.ส.รักชนก กระทำการฝ่าฝืน ไม่ทำตามจริยธรรมตามที่ตนกล่าวหาหรือไม่ พร้อมหยิบยกคำวินิจฉัยของศาลอาญา ที่ระบุว่า “จำเลยกระทำการผิดวิสัย ของบุคคลทั่วไปในฐานะ ปวงชนชาวไทย ซึ่งต้องเคารพและไม่ละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญทุกฉบับ”

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ยังเห็นว่า บุคคลที่โพสต์ข้อความหรือรีทวีต ที่มีลักษณะเป็นการอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบัน เข้าข่ายผิดตามม.112 และเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อีกด้วย ก็จะโดนความผิดสองเด้ง และจากคำวินิจฉัยจากศาลอาญา ศาลให้ความเมตตาโดยลงโทษต่ำสุด ตามที่กฎหมายกำหนด จึงขอเรียกร้องไปยังน.ส.รักชนก ให้ระมัดระวังเพื่อไม่ให้ผิดเงื่อนไขต่อศาล ในการใช้เป็นเงื่อนไขขอประกันตัวชั่วคราว ซึ่งในช่วง1-2 วันที่ผ่านมา ตนได้ดูสื่อโซเชียลของน.ส.รักชนก พบว่า ค่อนข้างที่จะมีความหมิ่นเหม่ จึงขอให้ใช้ความระมัดระวัง เพราะหากกระทำการขัดต่อข้อตกลงกับศาล อาจจะมีคนไปร้องขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยและยกเลิกการประกันตัว เช่นเดียวกันกับ กรณีนายอานนท์ นำภา ที่ผิดเงื่อนไขต่อศาล ตนได้ขอให้ยกเลิกการประกันตัวนายอานนท์ ที่ไปร่วมชุมนุมจนผิดเงื่อนไข

“จากกฎหมายทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า น.ส.รักชนก กำลังกระทำการที่ฝ่าฝืนและไม่ปฎิบัติตามประมวลจริยธรรม ทั้ง 2 ฉบับ จึงขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบและวินิจฉัย ซึ่งกรณีคดีความอาญาก็สู้กันไป 3-4 ปี แต่ในกรณีจริยธรรม เป็นเรื่องที่พิจารณาได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีความซับซ้อน ป.ป.ช.สามารถพิจารณาได้ในเวลาอันรวดเร็ว จนเชื่อว่าไม่เกิน 6 เดือน ป.ป.ช อาจจะสามารถชี้มูลได้ ”

ส่วนกรณีที่มีแนวร่วมแสดงความคิด ว่าไม่ควรจะมีใครถูกดำเนินคดีตาม ม.112 นั้น นายสนธิญา เห็นว่า การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับม.112 สามารถกระทำได้ในทางวิชาการการให้เหตุผล แต่ไม่ใช่การด่า หรือหมิ่นประมาท ต่อสถาบัน หากจะแสดงความคิดเห็นวิเคราะห์วิจารณ์ว่าจะดำเนินการอย่างไรกับม.112 ตนมองว่าก็ไม่มีใครเดือดร้อนจาก ม.112 แต่หากมีคนออกมาแสดงความเห็นมากขึ้นก็ขอให้พึงระวัง เพื่อไม่ให้ถูกดำเนินคดี และกระบวนการที่จะนำไปสู่การแก้ไข ม.112 ก็อยู่ในชั้นของสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว และหากพรรคการเมืองใดต้องการแก้ไข ม.112 ก็ขอให้ประกาศต่อประชาชน ว่าจะดำเนินการแก้ไขอย่างไรบ้าง หากประชาชนเห็นด้วยทั้งประเทศ ตนเชื่อว่าไม่มีใครค้าน ก็ขอให้สู้กันในสภา

ส่วนที่เลือกยื่นตรวจสอบจริยธรรมต่อ ป.ป.ช. มากกว่ายื่นให้กับสภาผู้แทนราษฎร เพราะการดำเนินการของสภาผู้แทนราษฎร ค่อนข้างล่าช้า และการดำเนินการค่อนข้างไม่มีผลกับทางกฎหมาย แต่กรณีของ ป.ป.ช.เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ม.234 ที่กำหนดว่า ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฎิบัติตามประมวลจริยธรรม ป.ป.ช.สามารถส่งเรื่องต่อไปยังศาลฏีกา หาก ป.ป.ช. รับเรื่องของตนภายใน 3 เดือน แล้วส่งเรื่องไปให้ศาลฏีกา เมื่อถึงศาลแล้ว น.ส.รักชนก หรือคนที่ถูกร้อง ก็จะถูกคำสั่งให้ยุติการปฎิบัติหน้าที่ จนกว่าจะมีความวินิจฉัย

“จนถึงวันนี้ ผมยืนยันชัดเจนว่า คุณรักชนก ไม่สมควรที่จะเข้าไปนั่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติแล้ว จึงมาร้อง ให้ ป.ป.ช. พิจารณาวินิจฉัยด้วยความรวดเร็ว ขณะนี้สส. ส.ว. หรือว่าใครก็ตาม กลัวเรื่องจริยธรรมมากที่สุด เพราะมีความแรงและเร็ว มี สส.หลายคนที่โดนจริยธรรม บางคนถึงขนาดถูกห้ามเล่นการเมืองตลอดชีวิต นี่คือตัวที่คอยกำกับการทำงานของ สส. เพราะที่ผ่านมาจะเห็นว่าคุณจะทุจริตหรือทำอะไรก็ตาม กว่าจะจบคดีก็ปาเข้าไป 9-10 ปี แต่คดีนี้ผมเชื่อว่า ป.ป.ช.จะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 4-5 เดือน เพราะไม่มีอะไรทับซ้อน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็น ศาลได้ตัดสินมาแล้ว หากเป็นคนทั่วไปก็ไม่มีปัญหา แต่นี่เขาเป็น สส.”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น