“ดร.ธนวรรธน์” มอง “เศรษฐา” เยือนญี่ปุ่นดึงเงินทุนกว่าหมื่นล้าน-จ้างงานเพิ่ม

"ดร.ธนวรรธน์" มอง "เศรษฐา" เดินทางเยือนญี่ปุ่นพบภาคเอกชน เสนอให้มีลงทุนในไทยมากขึ้น คาดการลงทุนโดยรวมจะเกิดขึ้นเกิน 1 หมื่นล้านบาท จ้างแรงงานเพิ่ม 500 -1,000 คน ส่วนโครงการแลนด์บริดจ์ ยังเป็นภาพรวม ต้องรอรายละเอียดที่ชัดเจน เพื่อติดตามว่านักลงทุนมีความสนใจจริงหรือไม่

สืบเนื่อง จากกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมASEAN-Japan ที่ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 14-18 ธ.ค.66 และมีโอกาสพบกับนักลงทุนภาคธุรกิจ และบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นหลายราย อาทิ Honda , Nissan , Mitsubishi , Mazda , Toyota , Panasonic เป็นต้น โดยเสนอให้มีการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น พร้อมชวนร่วมลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ ลงทุนเรื่องรถยนต์ รถอีวี เป็นต้น นั้น

 

 

 

 

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยกับทีมข่าว TOPNEWS ว่า จากการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเทศไทยจะได้อะไรจากการเดินทางในครั้งนี้นั้น จะต้องแยกประเด็นออกเป็น 2 อย่าง คือ หนึ่ง ในส่วนของโครงการลงทุนใหม่ และสอง คือ การลงทุนเดิม

โดยการลงทุนเดิม นักลงทุนชาวญี่ปุ่นได้มีฐานการลงทุนอยู่ในประเทศไทย ทั้งการลงทุนในกลุ่มยานยนต์ และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับกลุ่มยานยนต์ จะมีการลงทุนในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า(EV) จะเป็นการต่อยอดธุรกิจ ซึ่งอาจจะเป็นการสร้างไลน์การผลิตใหม่ หรือการลงทุนในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ที่จะเป็นการสร้างไลน์การผลิตใหม่ คาดว่า การลงทุนทั้ง 2 กลุ่ม จะมีการเพิ่มแรงงานเข้าไปในระบบไม่มากนัก แต่จะเป็นการนำเอาแรงงานกลุ่มเดิมเข้าไปในไลน์การผลิตใหม่

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อีกทั้ง ต้องติดตามว่า ในการลงทุนแต่ละประเภทจะมีการนำเครื่องจักรเติมเข้าไปมากน้อยเพียงใด แต่เชื่อว่า ในการลงทุนโดยรวมที่จะเกิดขึ้นจะทะลุเกิน 1 หมื่นล้านบาท และมีการจ้างแรงงานเพิ่ม 500-1,000 คน แต่ทั้งนี้ จะต้องติดตามการตอบรับของนักลงทุนญี่ปุ่นหลังการเดินทางไปเยือนของนายกรัฐมนตรี ว่า จะมีการตอบรับมากน้อยเพียงใด เพราะประเทศญี่ปุ่นเองก็มีโรงงานและค่ายรถยนต์อยู่แล้ว และบางค่ายได้มีการผลิตรถยนต์ EV เพื่อส่งออกต่างประเทศ จึงต้องติดตามข้อมูลข่าวสารต่อไป

 

 

รศ.ดร.ธนวรรธน์ ระบุว่า ส่วนการลงทุนใหม่ หรือ การลงทุนในโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย – อันดามัน (ชุมพร – ระนอง) หรือแลนด์บริดจ์ นักลงทุนญี่ปุ่นอาจจะมีความสนใจ แต่จะต้องดูรายละเอียดของการลงทุนว่าจะลงทุนอย่างไร จึงอาจยังเร็วเกินไปในการสรุปในเรื่องนี้ว่า จะมีการลงทุนมากน้อยแค่ไหน เพราะขณะนี้เรายังไม่ทราบมากมายว่าแลนด์บริดจ์ โครงการเต็มรูปแบบคืออะไร แต่จะเห็นว่ารัฐบาลมีการชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุนในระยะนี้ จากมติของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่ให้มีการเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือการให้สัมปทาน 50 ปี หมายความว่าผู้ที่จะมาลงทุนพัฒนาพื้นที่และพัฒนาโครงการจะได้รับสัมปทาน 50 ปี และยังไม่ทราบว่าสัมปทานที่ได้รับ จะแยกเป็นสัมปทานระบบราง สัมปทานระบบถนน หรือระบบของท่าเรือ ซึ่งยังเป็นภาพโดยรวมอยู่ จึงยังไม่เห็นรายละเอียดที่ชัดเจน

 

ดังนั้น จึงต้องติดตามข้อมูลของเรื่องแลนด์บริดจ์ อีกระยะหนึ่ง 3-4 เดือนขึ้นไป เพื่อมาติดตามว่า หนึ่ง นักลงทุนมีความสนใจแลนด์บริดจ์ จริงหรือไม่ สอง จะต้องติดตามว่า นักลงทุนเหล่านี้จะลงทุนในประเภทใดบ้าง และรายละเอียดของเรื่องโครงการแลนด์บริดจ์ คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าแลนด์บริดจ์ จะมีองค์ประกอบสำคัญอะไร รู้เพียงแค่โครงการนี้จะร่นระยะเวลาการเดินทางอย่างน้อย 4 วัน และมีท่าเรือทั้งสองฝั่งที่ชุมพรและระนอง และมีรถไฟระบบรางคู่ และราง 1.4 เมตร กับ 1 เมตร รวมถึงมีถนนหนทางแต่ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดว่า นักลงทุนชาติใดสนใจจะลงทุนอะไรซึ่งจะต้องติดตามรายละเอียดต่อไป

 

 

 

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ ได้กำหนดรูปแบบการลงทุนเป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยรัฐบาลดำเนินการจัดหาที่ดินและให้สิทธิเอกชนดำเนินงาน ลงทุนค่าก่อสร้าง บริหารจัดการ และรับผลประโยชน์จากการพัฒนาโครงการเป็นระยะเวลา 50 ปี พร้อมทั้งส่งเสริมการต่อยอดอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม 5 New S-curve ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ซึ่งเป็นการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ระดับภูมิภาค ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกัน ลดระยะเวลาการขนส่งทางทะเล ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เกิดเป็นศูนย์กลางการขนส่ง และการค้าแห่งใหม่ของโลก

ทั้งนี้ รัฐบาล คาดว่าโครงการแลนด์บริดจ์ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในภาพรวม จะเกิดการสร้างงานในพื้นที่จำนวนไม่น้อยกว่า 280,000 อัตรา และคาดว่า GDP ของประเทศไทยจะเติบโตถึง 5.5% ต่อปี หรือประมาณ 6.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อมีการพัฒนาโครงการอย่างเต็มรูปแบบ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทรัมป์" มั่นใจ Apple สามารถผลิต iPhone ในสหรัฐฯ ได้ "นักวิเคราะห์" ชี้ ราคาอาจสูงถึง 3,500 ดอลลาร์
"วราวุธ" นำทีมผู้บริหาร พม.แถลงผลงาน 6 เดือน สร้างมั่นคงชีวิตคนไทย สานโครงการพระราชดำริ พร้อมเดินหน้าพันธกิจเรือธง 9 ด้าน
"ผู้ว่าฯสงขลา" พร้อมปธ.แม่บ้านมหาดไทย นำส่วนราชการ-พี่น้องปชช. ร่วมสวมผ้าไทยใส่บาตร ปูสาดริมเล สืบสานวัฒนธรรม เสริมสิริมงคล
"สก.นภาพล" ชงสภากทม. ชี้จำเป็นลดภาระดอกเบี้ยวันละ 5 ล้าน ควรยึดคำพิพากษา "ศาลปกครองสูงสุด" เร่งชำระหนี้ BTS งวด 2 กว่า 2 หมื่นล้าน
ผู้นำจีนลั่นจะยกระดับความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านเอเชีย
“พิพัฒน์” ย้ำดูแลผู้ประสบภัยเหตุตึกสตง.ถล่ม พร้อมรับข้อเสนอ ส.ส.ผลักดันมาตรการป้องกันเกิดเหตุซ้ำ
กลุ่ม ปตท. จับมือกับโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จุดประกายอนาคตนักวิทย์ไทย ผ่านโครงการส่งเสริมสะเต็มศึกษา 2568
รองผบช.น. เผยสอบพยานแล้ว 98 ปาก เอาผิดผู้เกี่ยวข้อง "ตึกสตง." ถล่ม เร่งตรวจวัตถุพยานที่เกิดเหตุ
"สหพัฒนพิบูล" ชวนชอปคลายร้อน ต้อนรับซัมเมอร์ สหพัฒน์เดลิเวอรี พร้อมส่งตรงความสุขถึงหน้าบ้านด้วยโปรโมชันส่งฟรี
"บ.ไชน่าเรลเวย์" ล้มโต๊ะเจรจาค่าจ้าง ปัดไม่เคยค้างเงิน ด้าน "9PK" โชว์เอกสารเบิก ขอช่วยจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น