สหรัฐ ใช้ขีปนาวุธ 70 ล. ยิงโดรนฮูตี 7 หมื่น

เพนตากอนหนักใจ ค่าใช้จ่ายปฏิบัติการในทะเลแดงบานเบอะ ยิงขีปนาวุธแต่ละลูกไม่ต่ำกว่า 70 ล้าน สกัดโดรนฮูตีที่คาดว่าลำละไม่เกิน 7 หมื่น

 

 

เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐ เปิดเผยว่า ในช่วงสองเดือนมานี้ เรือรบกองทัพเรือสหรัฐ ยิงมิสไซล์ 38 ลูก ทำลายโดรน ที่กลุ่มฮูตียิงออกจากพื้นที่ยึดครองในเยเมน พุ่งเป้าโจมตีเรือพาณิชย์ที่แล่นผ่านทะเลแดง เฉพาะวันเสาร์ที่ผ่านมา เรือพิฆาต ยูเอสเอส คาร์นีย์ ยิงสกัดโดรนถึง 14 ลำในวันเดียว ขณะที่ผู้นำกบฏฮูตีประกาศว่าจะไม่หยุดโจมตี จนกว่าอิสราเอลจะยุติปฏิบัติการเข่นฆ่าชาวปาเลสไตน์ในกาซ่า โพลิคิโค รายงานอ้างความเห็นของเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหม 3 คนว่า สิ่งที่น่ากังวลในเวลานี้ ก็คือค่าใช้จ่ายในการยิงขีปนาวุธทำลายโดรน ที่ไม่ได้มีเทคโนโลยีสลับซับซ้อนอะไรของฮูตี

 

เจ้าหน้าที่ไม่ยืนยันว่า เรือพิฆาตสหรัฐ ใช้อาวุธแบบไหนหรือพิสัยใดสกัดโดรน แต่ผู้เชี่ยวชาญและอดีตเจ้าหน้าที่เพนตากอน คาดว่า สำหรับภารกิจลักษณะนี้น่าจะเป็นการใช้ สแตนดาร์ด มิสไซล์-ทู หรือ SM-2 อาวุธป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลาง ที่มีระยะทำการ 92 หรือ 130 ไมล์ทะเล ขึ้นอยู่กับรุ่น รุ่นล่าสุด   Block IV  ราคา 2 ล้าน 1 แสนดอลลาร์ (ประมาณ 73 ล้านบาท)

 

ด้านหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า นี่คือเรื่องที่จะต้องรีบแก้ไข สหรัฐจำเป็นต้องหาหาทางเลือกป้องกันภัยทางอากาศที่ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า แต่อีกด้าน ก็มีเหตุผลว่าทำไมต้องเป็น SM-2

 

เรือพิฆาต อาจใช้ปืนประจำเรือขนาด 5 นิ้วพร้อมกระสุนระเบิดกลางอากาศ ที่เคยผ่านการทดสอบยิงโดรนหลายระยะได้ผลน่าพอใจ เป็นทางเลือกที่ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า แต่ทำลายเป้าหมายไกลออกไปไม่ถึง 10 ไมล์ทะเล ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้เกินกว่าจะวางใจ ส่วนทางเลือกแบบพิสัยใกล้สุด คือ มิสไซล์ อีโวลฟ์ ซี สแปร์โรว์ ( Evolved Sea Sparrow Missiles) พิสัยไม่ถึง 5 ไมล์ทะเล ราคา 1 ล้าน 8 แสนดอลลาร์ต่อการยิง 1 ลูก แต่ก็เหตุผลเดียวกัน ยิ่งอาวุธของฮูตีเข้าใกล้เรือมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะมากขึ้นตามไปด้วย การใช้อาวุธปล่อย SM-2 ตราบใดที่ยังสามารถทำได้ เพราะไม่ต้องการเสี่ยงให้อาวุธฝ่ายตรงข้ามเข้าใกล้เกินไป

 

อีกด้าน ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า โดรนฮูตี ซึ่งโดยหลัก ทำในอิหร่าน ราคาสูงสุดไม่น่าเกิน 2 พันดอลลาร์ ประมาณ 7 หมื่นบาท ส่วน โดรน ชาเฮด-136 ที่ลำใหญ่กว่า ประเมินว่าอยู่ที่ 2 หมื่นดอลลาร์ ซึ่งเป็นราคาค่าใช้จ่ายแตกต่างกันแบบเทียบไม่ติด ซามูเอล เบนเดตต์ ที่ปรึกษาศูนย์วิเคราะห์นาวี ซึ่งเป็นหน่วยงานคลังสมองของกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐ กล่าวว่า ณ เวลานี้ ดูเหมือนสหรัฐไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าอาวุธที่กำลังใช้อยู่ แต่การลดค่าใช้จ่ายระบบป้องกันในลักษณะนี้ มีความจำเป็นในระยะยาว

 

ส่วนกองกำลังแนวร่วมเฉพาะกิจทางทะเล ที่ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ประกาศจัดตั้งในชื่อ ปฏิบัติการผู้พิทักษ์ความรุ่งเรือง เพื่อปกป้องการเดินเรือและรับมือกับการโจมตีในทะเลแดง มีอย่างน้อย 19 ประเทศที่เข้าร่วม รวมถึงประเทศอาหรับบางส่วน แต่บางประเทศไม่ต้องการให้แนบชื่อประเทศของตนเข้าไป เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐ อธิบายว่า สถานการณ์ค่อนข้างซับซ้อนสำหรับประเทศอาหรับ เพราะมุมมองที่ว่า กองกำลังเฉพาะกิจนี้ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองเรือพาณิชย์ที่เชื่อมโยงกับอิสราเอล

 

ภาพปก CENTCOM

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตุลาคมนี้!! ห้ามพลาด… ทริปสุดคุ้ม ชวนเที่ยวสไตล์แอดเวนเจอร์ กับขบวน KIHA 183 เติมเต็มความสุขอย่างที่เคย
"ไพบูลย์" ชง "บิ๊กป้อม "ออกคำสั่ง "สามารถ" พ้นรองโฆษกพปชร.มีผลวันนี้
ตร.ปคบ.คุมตัว "บอสพอล" ดิ ไอคอน ฝากขังศาลอาญา พร้อมคัดค้านประกันตัว
อย่าลืมคนนี้! “เคลวิน” แฟนบอสมิน เป็นแค่พรีเซ็นเตอร์ หรือขึ้นแท่นบอส
โจ๋ยกพวกถล่มผิดคน หนุ่มไรเดอร์ถูกยิงดับ ย่านรามอินทรา จนท.เร่งตามตัวดำเนินคดีตามกม.
แชร์สนั่นโซเชียล! จวกยับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โยนขยะลงทะเลพัทยา
"ดร.อานนท์" เล่าเบื้องหลังตร.ทำคดี "ดิ ไอคอน" หลังได้เข้าไปช่วย "กองปราบ" วิเคราะห์รูปคดี
'ว.วชิรเมธี' เตือน 'หนุ่ม กรรชัย' อย่าทำตัวเป็นศาลเตี้ย ปล่อยให้คนใส่ร้ายป้ายสี โซเชียลเมนต์เพียบ ก่อนลบโพสต์ทิ้ง
อุตุฯ เตือน ฝนฟ้าคะนอง 31 จว.อ่วม ฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน กทม.เจอฝน 70%
"เกรียงศักดิ์" แนะรัฐบาลเร่งสร้างแบรนดิ้งประเทศไทย ควบคู่ขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power จริงจัง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น