เปิดตัวสุดยอดผลงานวิจัย เครื่องต้นแบบลดควันมลพิษ PM 2.5 จากไอเสียรถยนต์ ด้วยพลาสมาไอออน (Plasma ION) นวัตกรรมฝีมือคนไทย ต้นทุนต่ำ

นครราชสีมา - เปิดตัวสุดยอดผลงานวิจัย เครื่องต้นแบบลดควันมลพิษ PM 2.5 จากไอเสียรถยนต์ ด้วยพลาสมาไอออน (Plasma ION) นวัตกรรมฝีมือคนไทย ต้นทุนต่ำ ไม่กระทบเครื่องยนต์ ช่วยลดมลพิษทางอากาศได้จริง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมผลักดันนำไปใช้งาน หวังลดปัญหามลพิษเมือง

วันนี้ (26 ธันวาคม 2566) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) รศ.ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นประธานแถลงข่าวผลงานวิจัย และนวัตกรรม “เครื่องต้นแบบลดควันมลพิษ PM 2.5 จากไอเสียรถยนต์ ด้วยพลาสมาไอออน (Plasma ION)” โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุลประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมชมสาธิตการทำงานของเครื่อง พร้อมผลักดันขยายผลสู่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และการขนส่ง หวังเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหามลพิษทางอากาศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น ผลงานวิจัย และนวัตกรรมชิ้นนี้ คิดค้นขึ้นโดยนักวิจัยฝีมือคนไทยนำโดย รศ.ดร. ชาญชัย ทองโสภา อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มทส. และคณะนักวิจัย

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รศ.ดร. ชาญชัย ทองโสภา นักวิจัย และอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มทส. เปิดเผยว่า เครื่องต้นแบบลดควันมลพิษ PM 2.5 จากไอเสียรถยนต์ด้วยพลาสมาไอออน (Plasma ION)” ได้แนวคิด และพัฒนานวัตกรรม มาจากสภาพแวดล้อมทางอากาศในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยมลพิษ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ทั้งฝุ่นละออง ควันไอเสียจากยานยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยหลักการทำงานของเครื่องนี้ก็คือ การสร้างสนามไฟฟ้าสถิตที่มีขั้วไฟฟ้าที่แตกต่างกันขึ้นมา ระหว่างควันมลพิษ PM 2.5 จากไอเสียรถยนต์ กับแผ่นเพลทโลหะ ทำให้ควันมลพิษ PM 2.5 ถูกดูดมาติดที่แผ่นเพลทโลหะ ทั้งนี้จากการทดสอบค่าควันมลพิษ PM 2.5 ที่ปล่อยจากท่อไอเสียรถตู้ ขนาดเครื่องยนต์ดีเซล 2800 ซีซี อายุใช้งานประมาณ 5 ปี เมื่อติดเครื่องยนต์มีค่าควันอยู่ที่ประมาณ 2,200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อทำการเปิดเครื่องพลาสมาไอออนพบว่า ค่าลดลงมาเหลือประมาณ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แสดงผลได้ว่าเครื่องพลาสมาไอออน สามารถช่วยลดค่าควันมลพิษ PM 2.5 ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ได้เป็นอย่างดี

 

 

สำหรับการติดตั้งเครื่องพลาสมาไอออน (Plasma ION) จะทำการติดตั้งต่อโดยตรงที่ท่อไอเสียหรือแทนที่ท่อพักของไอเสียรถยนต์ จึงไม่มีผลกระทบต่อเครื่องยนต์ อีกทั้งยังมีราคาถูก ผลิตได้เองภายในประเทศ สะดวก ดูแลรักษาง่าย สามารถถอดไส้กรองล้างทำความสะอาดได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถขยายต่อยอดไปสู่ภาคอุตสาหกรรมด้านการขนส่ง และด้านยานยนต์ เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเมืองใหญ่

 

 

 

 

 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า นวัตกรรมช่วยลดควันมลพิษ PM 2.5 จากไอเสียรถยนต์ของคณะนักวิจัย มทส.ในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นที่เข้ามาช่วยลดปัญหามลภาวะของเมืองอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาทางภาคเอกชนได้มีความพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานภาครัฐมาโดยตลอด และจากผลสำเร็จของงานวิจัยในครั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ และขยายผลไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมด้านการขนส่ง และยานยนต์ เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสังคมไทยต่อไป.

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว ศรัณย์ วงศ์สารสิน ผู้สื่อข่าว จ.นครราชสีมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อดีตสว.สมชาย" แฉโพย ฮั้วเลือกสว. ชี้เป็นหลักฐาน ดีเอสไอ เร่งนำลากไส้ตัวการใหญ่
‘ทักษิณ’ ปลื้มลงพื้นที่นราธิวาส ในรอบ 19 ปี ปชช.รอต้อนรับ
นายกฯ รับรายงาน ตร.ไทย-กัมพูชา ร่วมมือทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ฝั่งปอยเปต ช่วยเหยื่อคนไทยนับร้อย หลุดพ้น
“เทพไท” เชื่อ 44 อดีตสส.ก้าวไกล ลงชื่อรื้อ แก้ 112 ถูกตัดสิทธิ์ กระทบหนักยิ่งกว่าถูกยุบพรรค
"หม่องชิต ตู่" ส่งกำลังทหารกว่า 150 นาย คุมเข้มเคเคปาร์ค จับหัวหน้าแก๊งคอลเซนเตอร์ กวาดต้อน 450 เหยื่อต่างชาติ
ใต้ป่วนต่อเนื่อง คนร้ายลอบวางบึ้มหน้าร้านสะดวกซื้อ บันนังสตา ตร.เจ็บ 7 นาย-ชาวบ้านอีก 4 เช้านี้บึ้มรถยนต์อีก หน้าห้างสนามบินนราฯ
พรรคไทยก้าวหน้า แถลงขอโทษปชช. แจงคดี “สส.ปูอัด” ขอรอผ่านชั้นอัยการ ก่อนตัดสินใจขับพ้นพรรค
"นิด้าโพล" คนไทยส่วนใหญ่ เชื่อ "เพื่อไทย-ภูมิใจไทย" ขัดแย้งจริง แต่เคลียร์จบได้
มาแน่ เช็กรายชื่อ 39 จังหวัด รับมือพายุฝนถล่ม ลมแรง กทม.โดนด้วย ร้อนสุด 37 องศา
"ตม." งัดข้อมูลซัด "โรม" หน้าหงาย ระบบ Biometrics บันทึกข้อมูลทุกคน ระบบ PIBICS คุมคนต่างด้าว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น