สปสช. จ่ายชดเชย 110 ลบ. อาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน

สปสช. ช่วยเหลือเบื้องต้น ผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิดไปแล้ว 2,875 ราย เป็นเงินกว่า 110 ลบ. พิจารณาไม่จ่าย 914 ราย กรณี ไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน

วันที่2 ก.ย. 2564 นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ สปสช. เปิดให้ ผู้มีอาการไม่พึงประสงค์ หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถยื่นขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. 2564 ข้อมูลจนถึงวันที่ 27 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา มีผู้ยื่นคำร้องเข้ามาทั้งหมด จำนวน 3,888 ราย และยังอยู่ระหว่างรอข้อมูลเพิ่มเติมอีก 99 ราย โดยทางคณะอนุกรรมการระดับเขต ได้พิจารณาจ่ายเงินชดเชยแล้ว 2,875 ราย และพิจารณาไม่จ่าย 914 ราย รวมเป็นเงินที่จ่ายชดเชยเบื้องต้นไปแล้ว 110,295,000 บาท

 

นพ.จเด็จ กล่าวว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินเยียวยาเบื้องต้น จะแบ่งเป็น 3 ระดับตามความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์นั้น ๆ โดยระดับ 1.มีอาการป่วยต้องรักษาต่อเนื่อง จ่ายไม่เกิน 1 แสนบาท มีผู้รับเงินเยียวยาแล้ว 2,641 ราย ระดับ 2.เกิดความเสียหายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ หรือ พิการจนมีผลต่อการดำรงชีวิต จ่ายไม่เกิน 2.4 แสนบาท มีผู้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว 12 ราย และ ระดับ 3.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท มีญาติผู้เสียชีวิตรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว 222 ราย

 

นพ.จเด็จ กล่าวด้วยว่า หากพิจารณาแยกตามเขต พบว่า สปสช.เขต 13 กทม. มีผู้ยื่นคำร้องเข้ามามากที่สุด จำนวน 840 ราย รองลงมาคือ สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ จำนวน 559 ราย และ สปสช.เขต 10 อุบลราชธานี 451 ราย อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากจำนวนเงินที่มีการจ่ายเยียวยาไป พบว่า สปสช.เขต 4 สระบุรี จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวนประมาณ 13 ล้านบาท รองลงมาคือ สปสช.เขต 10 อุบลราชธานี จำนวนประมาณ 11 ล้านบาท และ สปสช.เขต 6 ระยอง จ่ายเงินแล้วจำนวนประมาณ 10 ล้านบาท ส่วนเขตที่มีผู้ยื่นคำร้องมากที่สุดอย่าง สปสช.เขต 13 กทม. มีการจ่ายเงินเยียวยาไปแล้ว ประมาณ 7.5 ล้านบาท

 

นพ.จเด็จ กล่าวว่า หลักการจ่ายเงินเยียวยาเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ สปสช.นั้น ไม่ไช่การพิสูจน์ถูกผิด หรือชี้ชัดว่าเป็นผลที่เกิดจากการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด แต่เป็นเงินเยียวยาเพื่อลดผลกระทบที่เกิดแก่ประชาชนเมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ซึ่งแม้ในภายหลังจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าสาเหตุของอาการต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากวัคซีน ก็ไม่เป็นเหตุให้เรียกเงินคืนแต่อย่างใด

 

ทั้งนี้ ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ใน 3 จุด คือ ที่หน่วยบริการที่ไปรับการฉีด ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือที่ สปสช.เขตพื้นที่ ซึ่งหลังจากได้รับคำร้องแล้ว จะมีคณะอนุกรรมการในระดับเขตซึ่งประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนภาคประชาชนเป็นผู้พิจารณาว่าจะจ่ายเงินเยียวยาหรือไม่และจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด ตามหลักฐานทางการแพทย์และระดับความหนักเบาของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีผู้มายื่นคำร้องแล้ว คณะอนุกรรมการฯ ระดับเขตพื้นที่จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อเลขาธิการ สปสช. ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บริษัท บลูสโตน ครีเอชั่นส์ จำกัด ร่วมกับ สมาคมคนพิการภาคตะวันออก จัดกิจกรรม CSR ประจำปี 2567 มอบสิ่งของแก่คนพิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
2อุทยานฯ ร่วมมือปราบปราม การลักลอบขุดหาแร่ทองคำ
ปิดหีบเลือกตั้ง "นายก อบจ.สุรินทร์" เริ่มนับคะแนน รอลุ้นผล
ชาวบ้านแห่ส่องเลขเด็ดคึกคัก ในพิธีอัญเชิญ “เจ้าพ่อพระศรีนครเตาท้าวเธอ” เจ้าเมืองคนแรกของชาวอำเภอรัตนบุรี
"บิ๊กจ้าว" ลงดาบ "ผกก.สน.หนองค้างพลู" สั่งปลดออกจากราชการ ชี้มูลผิดวินัยร้ายแรง ม.157
สีกากียอมรับ "บิ๊กต่าย" ไม่หวั่นโดนบางฝ่ายบีบวางมาตรฐานแต่งตั้ง "ตร." "เอก อังสนานนท์" คือผู้ยืนยัน
"หลวงพี่น้ำฝน" แจงสั่งตามลูกศิษย์ ส่งตัวให้ตร. ยืดอกรับผิด ย้ำไม่สนับสนุนความรุนแรง เตือน "พระปีนเสา" ปากจะพาเดือดร้อน
"ศปช." ย้ำ "ภาคใต้" ฝนกระหน่ำต่อเนื่อง “ภูมิธรรม” กำชับเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
"ภรรยา-ลูกสาว" ของหมอบุญ เข้ามอบตัวกับตร. ตามหมายจับร่วมกันฉ้อโกง กว่า 7.5 พันล้านบาท
“บิ๊กก้อง” สั่ง ปอศ.ส่งสำนวน ‘หมอบุญ’ ฉ้อโกงปชช.-หลอกลวงลงทุน ให้ดีเอสไอ เป็นคดีพิเศษ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น