กลางดึกของวันที่ 4 มกราคม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กว่า วันนี้ติดภารกิจตลอดทั้งวัน เพิ่งมีโอกาสได้สรุปข้อเท็จจริง ช่วงหัวค่ำเมื่อวันที่ 3 มกราคม 66 ท่านศุภโชติ ไชยสัจ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายงบประมาณ ปี 2567 พาดพิงเรื่องที่รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนว่าทำให้เป็นปัญหาการเงินให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ กฟผ. น่าแปลกที่เรื่องเดียวกันท่านกลับเลือกพูดเรื่องปัญหาการเงินของ กฟผ. แทนที่จะพูดเรื่องประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการช่วยแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าให้ประชาชนทั้งประเทศ ที่ผมและรัฐบาลนี้ทำสำเร็จ ท่านบอกว่า กฟผ. มีสถานะเงินสดต่ำมากจนน่าเป็นห่วง โดยมีแนวโน้มตามกราฟฟิกที่นำมาแสดงว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 กฟผ.จะมีกระแสเงินสดเหลือเพียง 39,234 ล้านบาท และลดลงเรื่อยๆ ถึงขั้นมีกระแสเงินสดเหลือแค่ 10,000 กว่าล้านบาท โดยเฉพาะเดือนกรกฎาคม ตุลาคมและธันวาคม 2567 จะไปถึงขั้นกระแสเงินสดติดลบเอาเลย แถมยังมีหนี้สินที่ต้องชำระให้ ปตท. อีกหลายหมื่นล้านบาท ในขณะที่จะต้องส่งรายได้ให้รัฐอีกปีละหลายหมื่นล้านโดยปี 2566 กฟผ. ต้องนำรายได้ส่งรัฐ 17,142 ล้านบาท และปี 2567 ที่จะติดลบกระแสเงินสดด้วยนี้ กฟผ. กลับจะต้องนำส่งรายได้ให้รัฐถึง 28,386 ล้านบาท สูงกว่าปี 66 ถึง 65% แล้วจะทำอย่างไร นายพีระพันธุ์ ระบต่อว่า ฟังแล้วน่าตกใจว่ารัฐไปยัดปัญหาให้ กฟผ. เพิ่มทำไม ประชาชนทางบ้านและสื่อมวลชนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงก็จะตกใจตามไปด้วย ผมก็ตกใจครับ ไม่ได้ตกใจในข้อมูลและตัวเลขที่ท่านพูด แต่ตกใจว่าทำไมท่านเลือกเอาข้อมูลที่เป็นเพียง “ข้อมูลคาดการณ์” ที่ทำล่วงหน้าก่อนของจริงตั้งแต่ตุลาคม 2566 ปีที่แล้วมาพูด แทนที่จะเอา “ข้อมูลจริง” ที่ “เกิดขึ้นจริง” ณ เวลานี้ มาพูด ขอเรียนตามนี้ครับ
พีระพันธุ์ งัดข้อมูลจริง กฟผ. ฟาด สส.ก้าวไกล ตกใจเอาข้อมูลคาดการณ์มาอภิปราย
ข่าวที่น่าสนใจ
1) ข้อมูลตัวเลขต่างๆที่ผมนำมานั้น มาจากรองผู้ว่าการ กฟผ. ฝ่ายการเงิน หรือ CFO ที่ให้ข้อมูลผมตอนที่จะนำงบการเงินปี 2564 -2565 ของ กฟผ. รายงานต่อ ครม. เมื่อวันที่ 2 มกราคม 67 และอีกครั้งก่อนที่ผมจะตอบชี้แจงเมื่อคืน จึงเชื่อถือได้ว่าเป็น “ข้อมูลจริง” แต่ถ้าท่านไม่เชื่อคงต้องไปเถียงกับ กฟผ. เอาเองนะครับ ก) “ข้อมูลคาดการณ์” ที่ท่าน สส.ศุภโชติ แห่งพรรคก้าวไกล นำมาพูดนั้น เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าตั้งแต่ตุลาคม 2566 ก่อนมี “ข้อมูลจริง” ณ ปัจจุบัน ดังนี้ 1.ตารางหรือกราฟที่ท่าน สส.ศุภโชตินำมาใช้นั้น เป็นเพียงการคาดการณ์เพื่อแสดงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น และมิได้แปลว่าจะเกิดขึ้นจริงตามนั้น เพราะ กฟผ.จะต้องบริหารจัดการมิให้เกิดสถานการณ์เช่นนั้น อย่างไรก็ตาม กฟผ. ก็ต้องประมาณการแบบ “ร้าย“ หรือแบบ worst case scenario ไว้ก่อน และตารางหรือกราฟนั้นก็เป็นเพียงเอกสารภายใน ที่ใช้เพื่อชี้แจงพนักงานของ กฟผ. ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลจริงในการบริหาร และไม่อาจใช้อ้างอิงได้ เพราะไม่ใช่ข้อมูลที่จะเกิดขึ้นจริง ข. มีปัจจัยที่เป็น “ข้อมูลจริง” อื่นๆ ที่ทำให้ กฟผ.มีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ตามตารางที่นำมาแสดงอีกประมาณเกือบ 15,000 ล้านบาท เช่น กำไรจากการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 4,000 ล้านบาท กำไรจากการรับงานภายนอกองค์กรประมาณ 1,000 ล้านบาท กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 2,600 ล้านบาท ต้นทุนลดลงจากการบริหารจัดการประมาณ 5,000 ล้านบาท และกำไรจากรายได้อื่นๆ ประมาณ 2,100 ล้านบาท เป็นต้น ทำให้ ณ สิ้นปี 2566 กฟผ. มีเงินสดคงเหลือจริงประมาณ 91,000 ล้านบาท ไม่ใช่ 63,623.6 ล้านบาท ตามที่ปรากฎในตารางคาดการณ์ที่นำมาแสดง ค.อัตราค่าไฟฟ้าที่จะเรียกเก็บจากประชาชนตามการคาดการณ์ในตารางจะอยู่ที่ 3.99 บาท/หน่วย ตลอดปี 2567 และคาดการณ์ว่าเป็นภาระของ กฟผ. เองทั้งหมดแต่เพียงหน่วยงานเดียว แต่ “ข้อมูลจริง” ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่าง 4.15 ถึง 4.20 บาท/หน่วย ตั้งแต่มกราคมถึงเมษายน 2567 ส่วนค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกินเดือนละ 300 หน่วย ที่รัฐบาลคงไว้ที่ 3.99 บาท/หน่วยนั้น รัฐบาลเป็นผู้แบกรับภาระจากเงินงบกลางเป็นเงินประมาณ 1,995 ล้านบาท จึงไม่เป็นภาระของ กฟผ.ฝ่ายเดียว ตาม “ข้อมูลคาดการณ์” ที่นำมาแสดง ง.การแบกรับภาระอัตราค่าไฟฟ้าที่ลดลงทั้งสองครั้งนี้ ตาม ”ข้อมูลคาดการณ์” เป็นการคาดการณ์ว่า กฟผ. จะเป็นผู้แบกรับภาระเองทั้งหมดแต่เพียงหน่วยงานเดียว แต่ตาม “ข้อมูลจริง” รัฐบาลมีการบริหารจัดการและช่วยดำเนินการในหลายรูปแบบ โดยในครั้งนี้รัฐบาลมีการปรับโครงสร้าง Pool Gas และให้ กกพ. เรียกเก็บค่า Shortfall มาลดภาระ รวมทั้งใช้เงินงบกลางเข้ามาช่วยลดภาระ กฟผ.ด้วย ข้อมูลใน (ค) และ (ง) นี้ก็ไม่ปรากฎในตารางที่เป็น “ข้อมูลคาดการณ์” ที่นำมาพูด เพราะในเวลาที่ทำตารางเมื่อเดือนตุลาคม 2566 นั้น “ข้อมูลจริง” นี้ ยังไม่เกิดขึ้น
3) จากสถานะการเงินที่เป็น “ข้อมูลจริง” ณ สิ้นปี 2566 กฟผ. มีเงินสดในมือประมาณ 91,000 ล้านบาท จึงเป็นไปไม่ได้ที่ ณ เดือนมกราคม 2567 เพียงหนึ่งเดือนให้หลังกระแสเงินสดของ กฟผ. ก่อนหักค่าใช้จ่ายจะเหลือเพียง 39,234 ล้านบาท ตาม “ข้อมูลคาดการณ์” ที่นำมาแสดง 4) มาตรฐานทางการเงินของ กฟผ. จะต้องคงสถานะเงินสดไม่ให้ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท หากเมื่อใดมีแนวโน้มว่าจะลดต่ำลงกว่ามาตรฐานนี้ กฟผ. จะดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ทันที และที่ผ่านมา กฟผ.ก็ดำเนินการตามนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริงที่สถานะการเงินจริงของ กฟผ. ในปี 2567 จะลดลงเรื่อยๆจนถึงขั้นติดลบในเดือนกรกฎาคม ตุลาคม และธันวาคม 2567 ตาม “ข้อมูลคาดการณ์” ที่นำมาแสดง 5) ตาม “ข้อมูลจริง” นั้น กฟผ. ชำระหนี้เดิมที่มีกับ ปตท. หมดสิ้นแล้วตั้งแต่มกราคม 2566 สำหรับปี 2566 ทั้งปีนั้น กฟผ. ไม่ได้ติดหนี้อะไร ปตท. โดยมีการชำระหนี้ให้ ปตท. ตามกำหนดเวลาตลอดมา ณ วันนี้ กฟผ. จึงไม่มีหนี้สินอะไรกับ ปตท. อีก 6) การส่งรายได้ให้รัฐของ กฟผ. กำหนดมาตรฐานไว้ที่ประมาณ 50% ของกำไรในแต่ละปี สำหรับปี 2566 ที่ผ่านมา ตาม “ข้อมูลคาดการณ์” ที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าในปี 2566 ว่า กฟผ.จะนำส่งรายได้ให้รัฐ 17,142 ล้านบาท แต่ตาม “ข้อมูลจริง” กฟผ.จะนำส่งรายได้ให้รัฐสำหรับปี 2566 นี้ประมาณ 24,000 ล้านบาท ไม่ใช่ 17,142 ล้านบาท ตาม “ข้อมูลคาดการณ์” ที่นำมาพูด ข้อมูลที่นำมาพูดจึงผิดไปจากความจริงที่เป็น “ข้อมูลจริง” ถึง 28.575% และนี้ยังแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของ กฟผ. ด้วยว่าขนาดอัตราค่าไฟฟ้าลดลง แต่ กฟผ. ยังสามารถนำส่งรายได้สูงกว่า “ข้อมูลคาดการณ์” ที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า 7) สำหรับปี 2567 ล่าสุด กฟผ. คาดการณ์ว่าจะนำส่งเงินรายได้ประจำปี 2567 ให้รัฐประมาณ 20,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ประมาณ 16.6666% ไม่ใช่จะนำส่งรายได้เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ถึง 65% จาก 17,142 ล้านบาท เป็น 28,386 ล้านบาท ตาม “ข้อมูลคาดการณ์” ที่นำมาพูดอีกเช่นกัน แต่ไม่แน่นะครับ เอาเข้าจริง กฟผ. อาจสามารถบริหารจัดการให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เช่นเดียวกับปี 2566 ที่ผ่านมานี้ได้อีก ก็เป็นไปได้นะครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง