พิพัฒน์ ตอบกระทู้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ยันเดินหน้าคิดสูตรใหม่ แยกรายอาชีพ พื้นที่

พิพัฒน์ ตอบกระทู้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ยันเดินหน้าคิดสูตรใหม่ แยกรายอาชีพ พื้นที่

วันที่ 11 ม.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม วาระกระทู้ถามสด โดยนายสหัสวัต คุ้มคง สส.ชลบุรี พรรคก้าวไกล ตั้งถาม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ต่อประเด็นการขั้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้ได้เรียกร้องให้เปิดเผยผลการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างรายจังหวัด รวมถึงพิจารณาปรับคณะกรรมการไตรภาคีที่พบว่ามีฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซง หรือยุบทิ้งได้หรือไม่ อย่างไรก็ดีหากรัฐบาลส่งเสริมนโยบายการมีบุตร ดังนั้นการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำให้สามารถมีชีวิตที่มีคุณภาพเลี้ยงครอบครัวได้ ควรพิจารณาให้สอดคล้องกัน

นายพิพัฒน์ ชี้แจงว่า วิธีการคิด และคำนวณค่าแรงขั้นต่ำ 20- 30 ปีใช้ข้อมูลฐานเดิม คือ ปี 2563 – 2564 ให้อนุไตรภาคีแต่ละจังหวัดเป็นผู้นำเสนอต่อคณะกรรมการไตรภาคีของกระทรวงแรงงาน ที่มีตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างรวมถึงฝ่ายรัฐ ทั้งนี้จากการทำงานของตนเกือบ 4 เดือน ต้องขออภัยที่ไม่สามารถทำให้มีค่าแรงขั้นต่ำได้สูงกว่าที่ประกาศและใช้ไปเมื่อ 1 ม.ค. 2567 อย่างไรก็ดีในการประกาศค่าแรงขั้นต่ำจะมีอีกครั้งในวันปีใหม่ไทย หรือ ในวันสงกรานต์ เดือนเม.ย. นี้ และในปี 2568

ข่าวที่น่าสนใจ

“ผมไม่ขอต่อล้อต่อเถียงในเรื่องกรรมการไตรภาคี เพราะท่านคงมีความรู้มากกว่าผม และทำการบ้านมามากกว่าผม ทั้งนี้กรรมการไตรภาคีนั้นเป็นการเลือกกันเองของลูกจ้างและนายจ้าง โดยกระทรวงแรงงานก้าวก่ายไม่ได้ อย่างไรก็ดีที่ถามถึงขั้นตอนการเลือกโดยไม่มีสหภาพแรงงานนั้นผมจะขอไปสอบถามให้อีกครั้ง อย่างไรก็ดีผมไม่มีสิทธิเข้าไปร่วมการประชุมไตรภาคี เพราะจะถูกมองว่าแทรกแซงการพิจารณา แม้จะเข้าไปทีแรกเพราะแนะนำตัวเท่านั้นโดยไม่มีสิทธิหน้าที่แทรกแซง” นายพิพัฒน์ ชี้แจง

ไม่มีคำอธิบาย

นายพิพัฒน์ ชี้แจงด้วยว่าที่ผ่านมาขอให้ผ่านไป ไม่ใช่ปัดสวะ ที่ผ่านมาคงแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ต่อไปจะหารือประธานบอร์ด และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการที่เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ไม่สามารถหารือกับฝ่ายนายจ้างหรือลูกจ้างได้ โดยตนจะดูและให้ความเห็นกับที่ปรึกษากรรมการ ว่าอะไรควรหรือไม่ ส่วนรายละเอียดเจาะลึก จะมุ่งเป้าไปยังกลุ่มธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อาชีพที่ไม่มีจะขึ้นตามอัตภาพ หรืออัตราส่วน สำหรับค่าแรง 3 จังหวัดภาคใต้ ที่อัตราสูงอาจไม่มีผู้ลงทุนในพื้นที่เพราะต้องมีค่าเสี่ยงภัย

นายพิพัฒน์ กล่าวด้วยว่าสำหรับค่าแรงของผู้มีบุตรนั้นตนเตรียมเสนอ ครม. เร็วๆ นี้เพื่อพิจารณาการจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนสำหรับผู้ที่ลาคลอดบุตร 98 วัน โดยให้นายจ้างอุดหนุนเงินเดือน 49 วัน และสำนักงานประกันสังคม จ่ายเงิน 49 วัน ซึ่งถือว่าจะได้รับเงินเดือนเต็ม ในช่วงที่ลาคลอด.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น