เชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี แจงดราม่า ปมสัตว์ป่าตายปริศนา เดือนเดียวมากถึง 13 ตัว

เชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี แจงดราม่า ปมสัตว์ป่าตายปริศนา เดือนเดียวมากถึง 13 ตัว

(15 มกราคม 2567) จากกรณีเกิดกระแสดราม่า สัตว์ป่าในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีตายปริศนา 13 ตัว ภายในเดือนธันวาคม 2566 เพียงเดือนเดียว สร้างความตกใจให้กับผู้ที่ทราบข่าว และมีการตั้งคำถามถึงมาตรการในการดูแลสัตว์ป่าของเชียงใหม่ และซาฟารี นั้น

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย

ล่าสุดเวลาประมาณ 13.30 น.วันนี้ นายกฤษดา ลาพิมล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร ปฎิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร ชี้แจงประเด็นข่าวที่เกิดขึ้น โดยระบุว่าเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2548 มีการนำสัตว์เพื่อเข้ามาแสดง ซึ่งสัตว์ที่นำมาแสดงในช่วงแรก ๆ ปัจจุบันสัตว์กลุ่มนี้อยู่ในวัยชรา และอยู่ภายใต้การดูแลเป็นอย่างดีและอยู่จนสิ้นอายุขัยของสัตว์แต่ละประเภทนั้น ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกสวนสัตว์ต้องเจอและไม่ใช่การตายปริศนาแต่อย่างใด

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ สำนักงานมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาสาเหตุการตายของสัตว์เบื้องต้น และเมื่อทราบถึงสาเหตุก็ได้รายงานให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนครทราบ และการดำเนินงานของสำนักงานฯ ได้มีมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ตามมาตรการ WAZA (World Association of Zoo and Aquarium s ) และ SEAZA (South East Asian Zoo Association)

ไม่มีคำอธิบาย

จากการตรวจสอบการตายของสัตว์เดือนธันวาคม 2566 พบตายเพียง 4 ตัว ไม่ใช่ 13 ตัว ตามที่เป็นข่าว ประกอบด้วย หมาจิ้งจอก ตายด้วยสาเหตุเนื้องอกตับอ่อน , ค่างห้าสี ตับอักเสบ , หมาป่าฟินิกส์ ตับอักเสบ และ แมวดาว สิ้นอายุขัย โดยสาเหตุที่ทำให้สัตว์ป่าเป็นโรคเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นได้ในสัตว์ที่อายุมากไม่ต่างจากมนุษย์และส่วนหนึ่งอาจจะมาจากสัตว์ภายนอก อย่างเช่นนกพิราบที่บินเข้ามาเป็นพาหะนำโรคมาแพร่ได้

โดยสำนักงานมีกระบวนในการชันสูตรซาก มีการผ่าชันสูตรทุกตัวและเก็บตัวอย่างขึ้นเนื้อและอวัยวะส่งตรวจต่อไปยังห้องปฏิบัติการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกรมปศุสัตว์ และ สำนักงานจะรายงานสัตว์เกิดสัตว์ตาย ต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประจำทุกเดือนยกเว้นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทเสือโคร่ง ที่ต้องรายงานภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

ส่วนการตายของลีเมอร์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 พบสาเหตุจากถูกงูเหลือมกิน เนื่องจากเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี มีพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ในช่วงฤดูฝนมีเลื้อยคลานประเภทงูจำนวนมากและมีบางตัวที่เล็ดลอดเข้าไปในส่วนจัดแสดงลีเมอร์ได้ โดยเรื่องนี้ได้เร่งดำเนินการจัดทำมาตรการในการป้องกันและปัจจุบันไม่พบปัญหานี้แล้ว

เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีสัตว์ประมาณ 130 ชนิด ประมาณกว่า 1,000 ตัว มีทีมเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ปัจจุบันมีสัตว์ป่วยที่อยู่ในระหว่างการรักษามีประมาณ 10 ตัว ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤตแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เกิดขึ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการดิสเครดิต ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านการบริหารสำนักงานพัฒนาพิงคนครแต่อย่างใด

ไม่มีคำอธิบาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น