BTSC ชี้ส่งผลดีธุรกิจ สภากทม.อนุมัติใช้คืนหนี้กว่า 2 หมื่นล้าน

สืบเนื่องจากประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 3) ประจำปี 2567 โดยมีระเบียบวาระสำคัญคือ เรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอขอความเห็นชอบในโครงการการรับมอบงานทรัพย์สินระบบการเดินรถ หรือไฟฟ้าและเครื่องกล โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 กรอบวงเงินรวม 23,488 ล้านบาท ซึ่งเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องจากค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล หรือ E&M เช่น งานระบบเก็บตั๋ว ระบบอาณัติสัญญาณ งานระบบสื่อสาร งานระบบจ่ายไฟ ระบบศูนย์ควบคุมสั่งการ ฯลฯ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เป็นคู่สัญญา โดยมีค่าจ้างงานอยู่ที่ 23,488 ล้านบาท และครบกำหนดต้องชำระ

 

 

 

 

 

โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มมาก่อนที่พวกเราเข้ามา แต่เป็นหน้าที่ของเราในการหาข้อยุติ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนและของกทม.เป็นหลัก ซึ่งขั้นตอนหากวันนี้สภากทม.เห็นชอบในการโอนหรือรับค่าจ้างติดตั้งงาน E&M ก็จะนำเรื่องเสนอกระทรวงมหาดไทยและรายงานต่อครม. เพราะว่าหนี้ส่วนดังกล่าวอยู่ในแพ็คเกจที่อยู่ในครม. เพื่อขยายสัมปทานไปถึงปี พ.ศ.2604 ฉะนั้นถ้าเราจะทำก็ต้องให้ครม.เห็นชอบให้เราชำระเงินก่อน ถ้าครม.ไม่ขัดข้อง กทม.ก็จะทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และนำเข้าสภากทม.อีกครั้ง หากทุกอย่างผ่านก็จะสามารถเบิกจ่ายเงินได้

 

ส่วนถามว่าทำไมเราต้องรับE&Mมา ไม่ปล่อยให้เขาฟ้องนั้น นายชัชชาติ ชี้แจงว่า เพราะปริมาณผู้โดยสารและรายได้จากรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 มีผู้โดยสารทั้งหมดคิดเป็น 18% ของผู้โดยสารที่ใช้รถไฟฟ้าทั้งหมดของกทม. ซึ่งอยู่วันละประมาณ 1.5 ล้านคน จึงเป็นหัวใจสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ดังนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องให้ระบบเดินต่อได้ ไม่เช่นนั้นประชาชนจะลำบาก อีกทั้งงานระบบE&Mได้ติดตั้งแล้วจริงแล้ะมีการเดินรถตั้งแต่ปี 63 และครบกำหนดชำระตามที่กรุงเทพธนาคม หรือ KTแจ้งมา รวมถึงมีภาระดอกเบี้ย ค่าปรับต่างๆหากเราไม่ชำระตามเวลา ขณะเดียวกันหากเรามีระบบตรงนี้ทำให้เราสามารถต่อรองการจัดการเดินรถได้ในอนาคต

ขณะที่นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร สก.เขตจอมทอง พรรคเพื่อไทย อภิปรายแสดงความเห็นว่า ผู้ว่าฯกทม.ต้องดำเนินการให้เร็ว เพราะรอช้าไม่ได้ โดยเสนอร่างพระราชบัญญัติยืมเงินสะสมจ่ายขาด เพื่อมาจ่ายเงินตรงนี้ไป จะได้จบสักทีเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพราะหากไปเสนอครม.ก่อน กว่าจะประชุมและไม่รู้เมื่อไหร่จะส่งเรื่องกลับมา อาจจะ 3 เดือนหรือ 4 เดือน จะทำให้กทม.มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกจากดอกเบี้ย

ข่าวที่น่าสนใจ

จากนั้นที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร ได้มีมติเห็นชอบในโครงการดังกล่าว จำนวน 44 เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียง 1 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 45 คน จึงถึงว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับญัตตินี้ ซึ่งนายชัชชาติ ได้กล่าวขอบคุณ ส่วนที่สภากรุงเทพมหานครเห็นว่าเราควรดำเนินการในส่วนของเราต่อเนื่องไปเลย ฝ่ายผู้บริหารก็ไม่ขัดข้อง ส่วนที่เสนอให้ฝ่ายบริหารเสนอร่างพระราชบัญญัติยืมเงินสะสมจ่ายขาดนั้น จะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งน่าจะเสนอให้ที่ประชมสภากรุงเทพมหานครวันพุธหน้า ส่วนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ฝ่ายบริหารจะไปดำเนินการคู่ขนานกันไป

ล่าสุด นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOPNEWS ถึงกรณีสภากรุงเทพมหานคร มีมติเห็นชอบให้จ่ายหนี้คืนเอกชน ในส่วนของค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล หรือ E&M โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เป็นคู่สัญญา โดยมีค่าจ้างงานอยู่ที่ 23,488 ล้านบาท ว่า การที่สภากทม. ได้มีมติเห็นชอบให้มีการจ่ายเงินค่าจ้างติดตั้งระบบไฟฟ้า และเครื่องกล ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้บริษัทได้มีเม็ดเงินเข้ามาเพื่อดำเนินธุรกิจ

 

 

 

 

หลังจากที่บริษัทได้เป็นหนี้จากการกู้เงินจาก บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ บีทีเอสซี รวมถึงการออกหุ้นกู้ เพื่อระดมเงินมาเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจให้กับบริษัท ดังนั้นการได้รับเงินคืนหนี้จากกทม. ในส่วนของค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล ทางบริษัท จะได้นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้บางส่วน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสภาพคล่อง เพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งเม็ดเงินส่วนนี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหนี้อีกด้วย อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการดำเนินการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าว จะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอีกสักระยะตามขั้นตอนของกรุงเทพมหานคร แต่ก็ถือเป็นเรื่องทีดีสำหรับบีทีเอสซีในฐานะบริษัทเอกชนคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐ

 

 

สำหรับในส่วนของมูลหนี้ ระหว่างบีทีเอสซี กับกทม.และกรุงเทพธนาคม (เคที) ปัจจุบันมีมูลค่ารวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท  แบ่งเป็นค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล หรือ E&M  จำนวนกว่า  2.3 ล้านบาท และค่าจ้างเดินรถไฟ้าอีกกว่า  3 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด จากการที่บีทีเอสซียื่นฟ้องให้มีการบังคับชำระหนี้ เช่นเดียวกับกรณี  ค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล หรือ E&M

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”
รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ฯ นำ จนท.ตรวจสารเสพติดทหารใหม่ 2,911 นาย เพื่อค้นหาผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
รถบรรทุกปูนพลิกคว่ำขวางถนนรถติดยาวหลายกิโล
รองนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำภาคอีสาน คุมเข้มแผนบริหารจัดการน้ำ พร้อมเร่งขับเคลื่อนมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้ง
เลือกตั้งสหรัฐ: ทั้งสองพรรคมั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้ง
แคปซูลส่งกลับ 'เสินโจว-18' ของจีนแตะพื้นโลกปลอดภัย
ผู้เสียหายรวมตัวแจ้งความ "หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง" เอาผิดฐานฉ้อโกง หลังหลอกให้สั่งซื้อวัตถุมงคลแพงลิ่ว
แวะปั๊มก่อนเลย พรุ่งนี้น้ำมันขึ้นราคา เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับทุกชนิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น