หมอธีระวัฒน์ อธิบายชัด ๆ ความเหมือน ลองโควิด-ผลกระทบจากวัคซีน อักเสบในเลือดคล้ายกัน

หมอธีระวัฒน์ อธิบายชัด ๆ ความเหมือน ลองโควิด-ผลกระทบจากวัคซีน อักเสบในเลือดคล้ายกัน

วันนี้(24 ม.ค.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการลองโควิดและผลกระทบจากการใช้วัคซีนโควิด-19 ว่า การอธิบายเรื่องของลองโควิดและผลกระทบของวัคซีนนั้น ถ้าดูจากรายงานของต่างประเทศอย่างเดียวจะพบว่ามีผลต่างกันถึงกับตรงกันข้ามกัน

ดังนั้น อาจจะทำให้เถียงกันไม่รู้จบ ความสำคัญอยู่ที่มีผู้ป่วยเหล่านี้อยู่จริง ทั้งในสองกรณี และผลกระทบของวัคซีนนั้นมีได้เหมือนกับลองโควิด ทั้งระยะสั้น คือภายในสองถึงสามอาทิตย์ ระยะกลางคือถึงระยะสามเดือน และระยะยาวคืออาการเก่าไม่ยอมหายหรือเกิดอาการใหม่ขึ้นมาและยาวนานเป็นปี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อมูลของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มสามารถทราบได้จากตาตนเอง จากครอบครัว จากคนรอบข้าง จากผู้ป่วยที่มาหาหมอ และอาจจะคิดไม่ถึงว่าเกิดจากอะไรแน่ ถ้าไม่ฟังประวัติให้ดี โดยทั้งๆ ที่สุขภาพปกติสมบูรณ์ก่อนหน้านี้

แต่ถ้าจะให้กล่าวถึงรายงานต่างๆ ก็สามารถยกตัวอย่างบางส่วนให้ได้ดังนี้

1 – วัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด ดังนั้น ถึงจะฉีดวัคซีนไปกี่เข็มก็ตาม ก็มีการติดเชื้ออยู่ดี

2 – การฉีดวัคซีนจะป้องกันการติดได้ค่อนข้างดีประมาณสามเดือน หลังจากสามเดือนไปแล้วโอกาสที่จะติดเชื้อกลับสูงกว่ากลุ่มที่ฉีดวัคซีนน้อยเข็มหรือไม่ได้ฉีดเลย

3 – ขณะนี้กลไกของลองโควิด ความจริงที่พิสูจน์แล้ว ก็คือ ตัวโควิดนั้นสามารถซ่อนอยู่ในเซลล์ในเนื้อเยื่อของทุกอวัยวะไม่ใช่แต่ในปอดอย่างเดียวแต่ยังรวมถึงสมองต่อมน้ำเหลือง อวัยวะภายในช่องท้องและสามารถพิสูจน์ได้จากศพของผู้เสียชีวิตหลังจากติดโควิดไปนานเจ็ดถึงแปดเดือนด้วยซ้ำ จากการพบโปรตีนที่เซลล์ และรวมทั้งตัวโควิดเหล่านี้สามารถเพาะให้เติบโตได้ในหลอดทดลอง (culturable) จากรายงานของกลุ่ม NIH ในวารสารเนเจอร์ 2022

4 – การเกิดลองโควิดนั้น ไม่ได้อธิบายอธิบายจากการเกิด idiotypic antibody คือแอนติบอดีต่อตัวแอนติบอดีที่หนึ่ง ซึ่งกลายเป็นเสมือนตัวไวรัสเอง เพราะแอนติบอดีลักษณะนี้หายไปเร็วมาก จากการศึกษาในต่างประเทศและจากการศึกษาของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่เอง

5 – ผลระยะยาวจากวัคซีนนั้นสามารถอธิบายได้เหมือนประการที่สามกล่าวคือวัคซีนนั้นสามารถซ่อนอยู่ในเซลล์ได้ทุกเนื้อเยื่ออวัยวะ ซึ่งพิสูจน์แล้วจากสัตว์ทดลองและความที่เป็นอนุภาคนาโนไขมัน และอยู่ในตัวผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากผลกระทบของวัคซีนไปนานหลายเดือนด้วยกัน

6 – แม้ว่ามีรายงานการฉีดวัคซีนจะลดอาการของลองโควิด ซึ่งมีการสรุปจาก Eric topol โดยในบทความสรุปนี้มีใจความว่า วัคซีนโควิดช่วยป้องกันการเกิดลองโควิด ได้ 40-50% โดยเฉลี่ย จากการฉีดหนึ่งสองหรือสามเข็ม

ทั้งนี้ จะให้น้ำหนักในรายงานสุดท้ายที่ทำใน 3 ประเทศ 4 cohort มากกว่าสิบล้านคน

อย่างไรก็ตาม รายงานของประเทศอังกฤษจาก King’s college ที่ติดตามประชากรทั้งในสายพันธุ์ อู่ฮั่น อัลฟ่าและเดลต้า ในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะมีอาการของลองโควิดเหมือนกัน บอกว่าการฉีดวัคซีนไม่ช่วยเรื่องลองโควิด

บทความสรุปของเอริค โทโพล ก็ย้ำว่า อย่างไรก็ดี ก็ไม่ควรเน้นเรื่องวัคซีนในการป้องกันลองโควิดมากเกินไป ทางที่ดีแล้วคือไม่ติดเลยจะดีกว่า (ซึ่งในโลกนี้คงไม่มีแล้ว) และถ้าเมื่อติดแล้วก็อย่าติดซ้ำ

ในสำหรับประเทศไทยแล้วเรามีฟ้าทะลายโจรเป็นตัวช่วยที่สำคัญ ดังนั้น ถ้าไม่สบาย แม้ไม่ทราบว่าเป็นอะไร ใช้ฟ้าทะลายโจรได้ เพื่อให้หายเร็วที่สุด ซึ่งการที่ผู้ร้ายถูกทำให้สงบลงได้ในเวลาอันรวดเร็วที่สุดนั้นน่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญ

อีกประการร่วมกับสุขภาพแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคนานาชนิดที่เรียกว่า innate immunity ดังที่เห็นในทวีปแอฟริกาซึ่งแทบไม่มีการฉีดวัคซีนเลย แต่กลับไม่พบปัญหาการระบาดของโควิดและไม่มีปรากฏการณ์ของผู้ป่วยอาการหนักหรือเสียชีวิตอย่างส่วนอื่นๆของโลก

7 – การศึกษาของผู้ป่วยในประเทศไทยของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ จุฬา โดยได้รับทุนจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ และ สวรส. กระทรวง อว. ยืนยันลักษณะเหมือนกันของลองโควิด (แม้ว่าหลังจากติดเชื้อโควิดที่อาการไม่รุนแรง) และ ลองวัคซีน ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มหลังนี้ บางรายก็เคยติดโควิดแล้ว และลองโควิดนั้น ทุกรายเคยได้รับวัคซีนหมดตั้งแต่สองเข็มขึ้นไป

ทั้งสองกลุ่มนี้แพตเทิร์นของการอักเสบในเลือดคล้ายกัน สามารถปรากฏได้ก่อนหน้าที่อาการจะเริ่มรุนแรง หรือ เมื่ออาการสงบไปแล้วการอักเสบที่ดูจาก 13 ตัว ของชนิดการอักเสบกลับไม่หายไปทั้งหมด

ผลกระทบต่อสมอง พบโปรตีนของอัลไซเมอร์ p-Tau amyloid จากที่ไม่เคยมีกลับมี
รวมทั้งโปรตีนที่บ่งบอกถึงการทำลายสมอง (NFL) และโปรตีนที่บ่งบอกถึงการอักเสบในสมองจากเซลล์เกลีย (GFAP)

8 – ทั้งสองกลุ่มนี้สามารถทำให้ดีขึ้นได้ แต่ไม่ทั้งหมดทุกคน โดยเข้าใกล้มังสวิรัติที่สุด งดเนื้อสัตว์บก ออกกำลังแบบไม่ฝืน เริ่มทีละน้อย และตากแดดลดแป้งไม่กินของหวาน

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น