เปิดประวัติ “นครินทร์ เมฆไตรรัตน์” ประธานศาลรธน. 1 เสียงเดียว ชี้”พิธา” สิ้นสุดสส.เหตุขัดกม.ถือหุ้นสื่อ

เปิดประวัติ "นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" ประธานศาลรธน. 1 เสียงเดียว ชี้"พิธา" สิ้นสุดสส.เหตุขัดกม.ถือหุ้นสื่อ

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งอ่านคำวินิจฉัย เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่าสถานภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่

จากกรณีนายพิธา ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ อยู่ในวันสมัครรับเลือกตั้ง สส.บัญชีรายชื่อ

โดยผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (8:1) วินิจฉัยว่า ในวันที่พรรคก้าวไกลยื่นบัญชี รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต่อผู้ร้อง ผู้ถูกร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท

ไอทีวี จำกัด (มหาชน) แต่ข้อเท็จจริงในทางไต่สวนรับฟังได้ว่าบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ประกอบกิจการหรือมีรายได้จากกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ผู้ถูกร้องจึงมิใช่ผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ

สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 1 คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เห็นว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้อง สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3)

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับตุลาการเสียงข้างมาก 8 เสียง ประกอบด้วย

 

นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
นายปัญญา อุดชาชน
นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
นายวิรุฬห์ แสงเทียน
นายจิรนิติ หะวานนท์
นายนภดล เทพพิทักษ์
นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
นายอุดม รัฐอมฤต

ขณะที่ตุลาการเสียงข้างน้อย 1 ราย คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์

 

 

ทั้งนี้หากย้อนกลับไปช่วงหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหารเมื่อปี 2557 นครินทร์เข้ามามีบทบาททางการเมืองในยุค คสช. ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก่อนจะได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้กับ คสช. ที่มี บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน และหลังจากนั้นก็ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในปี 2558

 

เมื่อย้อนดูบทบาทของประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ จะพบว่า เคยมีคำวินิจฉัยในคดีสำคัญทางการเมืองมาตลอดหลังการรัฐประหาร เช่น คดีหุ้นวี-ลัค มีเดียของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ คดียุบพรรคอนาคตใหม่ คดีของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

และในปี 2567 ศาลรัฐธรรมนูญยังมีคดีการเมืองอีกหลายคดี เช่น คดีถือหุ้นบุรีเจริญของ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ คดีถือหุ้นไอทีวีของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และคดีล้มล้างการปกครองฯ จากนโยบายแก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น