ศบค. สธ. เห็นชอบฉีดสูตรไขว้ ปลอดภัย สร้างภูมิเร็ว

ศบค. สธ. เห็นชอบ การเพิ่มวัคซีนสูตรไขว้ แอสตร้าเซเนก้า-ไฟเซอร์ ใช้ในช่วงเดือนตุลาคม ต่อจาก ซิโนแวค-แอสตร้าเซเนก้า ส่วนเข็มกระตุ้นผู้ที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ให้ใช้ แอสตร้าเซนเนก้า

วันที่3 ก.ย. 2564 ที่ ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวว่า จากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด สายพันธุ์เดลต้า ทำให้วัคซีนทุกตัวที่ใช้ มีประสิทธิภาพลดลง จึงมีการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพวัคซีนและกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับสายพันธุ์เดลตา

 

โดยการวิจัยของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ผลสอดคล้องกันว่า การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวค ตามด้วย แอสตร้าเซเนก้า ทำให้ภูมิคุ้มกันสูงในเวลารวดเร็ว ต่อสู้กับ สายพันธุ์เดลตาได้ ซึ่งหลายประเทศ เช่น เยอรมนีและอิตาลี ก็มีการฉีดสูตรไขว้แอสตร้าเซเนก้าตามด้วยไฟเซอร์

 

สำหรับการฉีดไขว้ในประเทศไทยนั้น วันนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด 19 หรือ ศบค.สธ. ได้เห็นชอบการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ คือ

 

1.วัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคและแอสตร้าเซเนก้า ระยะห่าง 3-4 สัปดาห์ เป็นสูตรหลักของประเทศไทย และเพิ่มสูตรไขว้แอสตร้าเซเนก้าตามด้วยไฟเซอร์ ระยะห่าง 4-12 สัปดาห์  ซึ่งสูตรนี้จะใช้แพร่หลายในเดือนตุลาคมเป็นต้นไป เนื่องจาก จะมีวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าและไฟเซอร์จำนวนมาก

 

2.การฉีดกระตุ้นในผู้ที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็มด้วยแอสตร้าเซเนก้า

 

3.ผู้ที่หายป่วยโควิดในช่วง 1-3 เดือน ซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนยังไม่ครบ 2 เข็ม หรือครบ 2 เข็มแต่ไม่ถึง 14 วันแล้วติดเชื้อ ให้ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยแอสตร้าเซเนก้าหรือไฟเซอร์ 1 เข็ม

 

นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ให้ประชาชนในประเทศไทยตามความสมัครใจตามนโยบายรัฐบาล ตั้งแต่ปี 2563 ได้ติดต่อกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อสั่งจองซื้อวัคซีน ขณะนั้น ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่ผลิตได้สำเร็จ การจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีการลงนามสัญญาจองซื้อตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่มีมีวัคซีนออกมา จึงไม่ได้กำหนดเวลาส่งมอบชัดเจน แต่มีการหารือมาเป็นระยะ และจากการที่โรงงานผลิตวัคซีนอยู่ในประเทศไทย เมื่อผลิตสำเร็จจึงมีการส่งมอบให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกและได้รับอย่างต่อเนื่องตามที่ตกลงกัน โดยเดือนกันยายนนี้ส่งมอบอย่างน้อย 7.3 ล้านโดส ตุลาคม 10 ล้านโดส และพฤศจิกายน-ธันวาคมเดือนละ 13 ล้านโดส

 

ส่วนวัคซีนไฟเซอร์นั้น กรมควบคุมโรคและสถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีการติดต่อประสานงานพูดคุยกับตัวแทนของทางไฟเซอร์เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง จนมีการลงนามในสัญญา 2 ฉบับ รวมวัคซีน 30 ล้านโดส ส่งมอบล็อตแรกปลายกันยายน 2 ล้านโดส ,  ตุลาคม ประมาณ 8 ล้านโดส และพฤศจิกายน-ธันวาคม เดือนละ 10 ล้านโดส จนครบ และก่อนหน้านี้ ได้รับบริจาค 1.5 ล้านโดส จาก สหรัฐอเมริกา ได้กระจายให้กลุ่มเป้าหมายแล้ว ซึ่งทำให้ วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าและไฟเซอร์ จะเป็นวัคซีนที่มีมากที่สุดใน 3-4 เดือนข้างหน้า ทำให้เกิดความมั่นคง และคนไทยเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ทักษิณ” ชี้พรรคร่วมฯลงสัตยาบันนิรโทษไม่แตะ 112 โพล่งตัวเองเป็นเหยื่อ เคยเตือน “ธนาธร” อย่าพยายามรื้อโครงสร้างสถาบันฯ
เด็ก ม. 4 บริจาค 5 อวัยวะต่อลมหายใจอีกหลายชีวิตหลังประสบอุบัติเหตุแม่และเพื่อนหลั่งน้ำตาสวดคืนสุดท้าย
ออกเกือบทุกปี! เลขเรือขบวนแห่งานนมัสการหลวงพ่อพระพุทธโสธรทางน้ำ ให้ชาวบ้านริมแม่น้ำบางปะกงกราบไหว้ขอพร ปีละครั้ง
“พม่า” โคตรแสบ! ตั้งตนเป็นเถ้าแก่เปิดแผงแย่งลูกค้า “เต้ อาชีวะ” เห็นแล้วของขึ้น
จังหวัดชลบุรีพิธีถวายสักการะวางพานพุ่มดอกไม้สดเนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2567
เด็กๆ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาหิน อบต.บ่อวิน ตื่นเต้นลอยกระทงโดยส่งเสริมวัสดุธรรมชาติ
"ผบช.ภ.9" ชี้พยานหลักฐานส่อเชื่อมโยง "กลุ่มโจรใต้" บุกยิงนายกเทศมนตรีรือเสาะ ดับสลดคาห้องประชุม
“อนุทิน” ย้ำ “พท.-ภท.” มีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ปชช.ประเทศ ลั่นไม่เคยขัดแย้ง ปมเขากระโดง
ฉุนหนัก เพื่อนรักล้วงเล่นเจ้าโลก คว้าขวดเบียร์ตีหัวแตก
“แสวง” เผยคำร้อง คุณสมบัติ “ทนายตั้ม” ยังเป็นตัวสำรองสว.ได้ จนกว่าศาลมีคำพิพากษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น