เปิด 2 ผลงานก่อนโดนจับข้อหาหนัก “ศรีสุวรรณ” ช่วยชาวบ้านสู้ 12 ปีชนะคดีมลภาวะโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อีก 8 ปี บ่อขยะขอนแก่น

เปิด 2 ผลงานก่อนโดนจับข้อหาหนัก "ศรีสุวรรณ" ช่วยชาวบ้านสู้ 12 ปีชนะคดีมลภาวะโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อีก 8 ปี บ่อขยะขอนแก่น

จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซ้อนแผนจับ นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน  ได้ที่บ้านพักย่านปทุมธานี หลังพบหลักฐาน ข่มขู่รีดเงินอธิบดีกรมการข้าว 3 ล้านบาท ก่อนจะเจรจาต่อรองเหลือเพียง 1.5 ล้านบาท เพื่อแลกกับการยุติเรื่องร้องเรียนโครงการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตด้านการปลูกข้าว และโครงการปรับปรุงการผลิตสำหรับผู้ปลูกข้าว โดยอ้างว่าพบข้อพิรุธที่ส่อไปในทางทุจริต ซึ่งผู้ร้องเรียนอ้างว่า นายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก ประธานกลุ่มรวมใจรักชาติ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานเขตราชการที่ 11 ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี พร้อม น.ส.พิมณัฏฐา จิระพุทธิภาคย์ อดีตผู้สมัคร สส.พรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมกับนายศรีสุวรรณ ข่มขู่เรียกเงินดังกล่าวด้วย

 

 

 

ต่อมาตำรวจสอบสวนกลาง ควบคุมตัว นายศรีสุวรรณ เข้ามา ที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดยในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวมา นายศรีสุวรรณ มีใบหน้ายิ้มแย้ม ไร้ความกังวล เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เกิดอะไรขึ้น ทางด้านของนายศรีสุวรรณ ตอบเพียงสั้นๆว่า ตนเองถูกกลั่นแกล้ง และขอให้เชื่อใจศรีสุวรรณ จากนั้นเดินเข้าลิฟท์ ขึ้นไปยัง ชั้น 19 เพื่อ รับการสอบสวน จากเจ้าหน้าที่ ทั้ง 4 หน่วยงาน

 

 

โดยภายหลังสอบปากคำนายศรีสุวรรณนานเกือบ 9 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการสอบปากคำในประเด็นต่างๆ มีการให้นายศรีสุวรรณชี้แจงภาพบริเวณจุดทิ้งถุงเงิน , โฉนดที่ดิน 5 แปลง เซิฟเวอร์คอมพิวเตอร์ รวมถึงของกลางที่ตรวจยึดมาได้จากที่บ้าน ก่อนแจ้งข้อหา สนับสนุนเจ้าพนักงานของรัฐเรียกรับทรัพย์หรือประโยชน์อื่นใด โดยมิชอบ, ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน, ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดฯ ตามหมายจับ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ซึ่งนายศรีสุวรรณให้การปฏิเสธทุกข้อหา ก่อนจะยื่นเงินสด 4 แสนบาทเพื่อขอประกันตัว ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่คัดค้านและอนุญาตให้ประกันตัว

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

หากย้อนกลับไปนายศรีสุวรรณได้ทำ 2 ผลงานก่อนที่จะถูกตำรวจรวบตัว โดยเมื่อวันที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา นายศรีสุวรรณ เปิดเผยว่า ศาลปกครองขอนแก่นได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับบ่อขยะบ้านไผ่แล้ว หลังจากที่สมาคมฯร่วมกับชาวตำบลหินตั้ง จังหวัดขอนแก่น ได้ยื่นฟ้องนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้ง และนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบ้านไผ่ นายอำเภอบ้านไผ่ และผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ต่อศาลปกครองขอนแก่นไปเมื่อ 8 ธ.ค.2558 ฐานกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตาม ม. 9(1)(2) แห่ง พรบ.จัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 เนื่องจากเทศบาลเมืองบ้านไผ่มาทำศูนย์กำจัดขยะใกล้ชุมชน ส่งกลิ่นเหม็นและน้ำเสียกระทบบ่อน้ำกินน้ำใช้และระบบประปาใต้ดินของวัดและชุมชนสร้างความเดือดร้อนและเสียหายอย่างมากนั้น

คดีดังกล่าว สืบเนื่องมาจากกรณีที่ นายก อบต.หินตั้งได้อนุญาตให้เทศบาลเมืองบ้านไผ่ ได้มาทำบ่อที่ทิ้งขยะบริเวณหลังมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดขอนแก่นมาตั้งแต่ปี 2544 โดยไม่เคยรับฟังความเห็นของประชาชนก่อนตามกฎหมายเลย รวมทั้งมีการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ กว่า 10 แห่งในอำเภอบ้านไผ่ ขนขยะมาทิ้งในพื้นที่ดังกล่าวได้ ทำให้บ้านโนนทองแหล่งทำการเกษตรที่ขึ้นชื่อ ต้องกลายเป็นพื้นที่รองรับขยะของอำเภอไปเสียสิ้น ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษกลิ่นเหม็น น้ำซะขยะ(Leachate) ไหลออกมาจากพื้นที่ทะลักเข้าพื้นที่นาข้าว ไร่อ้อย และบ่อน้ำส่วนกลางเพื่อการอุปโภค-บริโภคของชาวบ้านจนใช้ประโยชน์ใด ๆ ไม่ได้ นอกจากนั้นการทิ้งและฝังกลบขยะยังไม่เป็นไปตามหลักวิชาการหรือสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) ไม่มีการปูพื้นบ่อด้วยพลาสติก HDPE ทำให้น้ำขยะรั่วซึมปนเปื้อนระบบน้ำใต้ดิน ซึ่งกระทบต่อระบบสูบน้ำประปาของชาวบ้านและของวัดธรรมวิเวกประชาสรรค์ ซึ่งอยู่ใกล้บ่อขยะเพียง 200 เมตรก่อให้เกิดความเดือดร้อนและเสียหายต่อชาวบ้านอย่างมาก

คดีนี้ต่อสู้กันมากว่า 8 ปีกระทั่งบัดนี้ศาลปกครองขอนแก่นได้มีคำพิพากษาแล้วในขณะนี้ โดยสั่งให้นายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ ดำเนินงานปรับปรุงศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและดำเนินการกำจัดขยะให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาล และมีมาตรฐานของการจัดการน้ำทิ้งให้มีคุณภาพเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน และให้นายก อบต.หินตั้ง นายอำเภอบ้านไผ่ ผู้ว่าฯขอนแก่น ควบคุมกำกับดูแลให้เทศบาลเมืองบ้านไผ่ ปฏิบัติหน้าที่ในการกำจัดขยะให้เป็นไปตามกฎหมาย หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ยุติการนำขยะมูลฝอยไปทิ้งที่ศูนย์กำจัดขยะดังกล่าวโดยทันที

คำพิพากษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารเทศบาลเมืองของแก่นละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติโดยชัดแจ้ง ซึ่งเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างของการใช้อำนาจโยไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชนอีก สมาคมฯจะนำคำพิพากษาไปยื่นร้องต่อ ป.ป.ช.ให้เอาผิดผู้บริหารเทศบาลและเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องต่อไป นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

 

 

และอีกคดี นายศรีสุวรรณ ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นที่น่าดีใจว่าในที่สุดศาลได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง โดยให้ชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะชนะคดีหลังต่อสู้กันมาอย่างยาวนานกว่า 12 ปี

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และเครือข่ายสิทธิผู้ป่วย อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พร้อมด้วยผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง จำนวน 47 คน(ไม่รวมผู้ที่เสียชีวิตไปหลายคนแล้ว) ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า จ.ลำปาง (คพรฟ.) และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ต่อศาลปกครองกลางเมื่อ 15 ส.ค.2555

เนื่องจากทางคณะกรรมการ คพรฟ. มีการอนุมัติโครงการที่ใช้เงินจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าแม่เมาะไม่สอดคล้องกับการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า และขัดหรือแย้งกับระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยระเบียบกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ.2553 ที่กำหนดไว้ว่าโครงการต่างๆ จะต้องจัดทำโดยชุมชนเพื่อชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และจะต้องจัดโครงการให้มีการชดเชยเพื่อเยียวยาให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าทั้งด้านสุขภาพ อาชีพ และสิ่งแวดล้อม

แต่ขณะเดียวกันโครงการซึ่งเป็นของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ในนามองค์กรชาวบ้านที่มีชื่อว่า “เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ” ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินงานผลิตไฟฟ้า และการทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ และเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบตามตรงทางกฎหมาย จำนวน 11 โครงการ กลับไม่ได้รับความเห็นชอบ โดยที่คณะกรรมการกองทุนระดับตำบล หรือ คพรต. ไม่นำโครงการทั้ง 11 โครงการส่งให้ คพรฟ. ระดับจังหวัดและให้ กกพ.ได้พิจารณาแต่อย่างใด อันเป็นการตัดสิทธิของชาวบ้านไปโดยปริยาย ซึ่งคดีนี้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องไปเมื่อปี 2558 ในคดีหมายเลขแดงที่ ส.190/2558

แต่ทางสมาคมฯ และผู้ร้องทั้ง 47 คน ได้ยื่นอุทธรณ์และสู้ด้วยข้อเท็จจริงในสิทธิของผู้ป่วยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า กระทั่งมาวันนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง โดยสั่งให้คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า จ.ลำปาง (คพรฟ.) นำ 11 โครงการฯพัฒนาชุมชนของชาวบ้านผู้ฟ้องคดีมาพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ระเบียบ กกพ.เมื่อปี 2553 กำหนดทั้งนี้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ซึ่งคดีนี้ถือว่าเป็นที่สุดแล้ว ต่อไปก็เป็นเรื่องที่จะต้องบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาต่อไป นายศรีสุวรรณกล่าวในที่สุด

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตม.สระแก้ว" เข้มระดมกวาดล้าง ป้องปรามอาชญากรรม ต่างด้าวผิดกม.
"พิชัย" พร้อมเดินทางร่วม "นายกฯ" สู่เวทีประชุม WEF ลงนามความตกลงการค้าเสรี FTA ไทย-ยุโรป ขยายโอกาสลงทุนสู่ตลาดโลก
"ทักษิณ" รับ เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ มีทั้งเห็น-ไม่เห็นด้วย ลั่นเน้นกาสิโนแค่ 10%
"ทักษิณ" แย้มจ่อเปิด "แซนด์บ็อกซ์คริปโต" ในไทยที่ภูเก็ต ต.ค.นี้
"ทักษิณ" ไม่ติดใจ ปมที่ดินอัลไพน์ ลั่นคาราคาซังน่ารำคาญ
เกิดไฟไหม้ "โรงไม้ย่านบางซื่อ" ควันพวยพุ่ง เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการควบคุมเพลิง
“ทักษิณ” อ้อนชาวนครพนม ขอคะแนนเสียงหนุน “อนุชิต” เป็นนายก อบจ. คนใหม่
"แพทย์หญิง รพ.ดัง" ขับรถพุ่งชนท้าย 6 ล้อดับสลด
"ผบ.ทร." ส่งเฮลิคอปเตอร์-รถดับเพลิง ดับไฟป่าเขากระทิง มั่นใจสกัดไฟจุดเสี่ยงไว้หมดแล้ว
“ศศิกานต์” แนะผู้สูงอายุ-กลุ่มเปราะบาง ดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากฝุ่นพิษ หลายพื้นที่ใน กทม.เกินมาตรฐาน ส่งผลต่อสุขภาพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น