เอาจริง ครม.เคาะร่างกฎกระทรวงฯ รื้อเกณฑ์วัด “แอลกอฮอล์” ผู้ขับขี่ ไม่ยอมให้ตรวจถือว่าเมาแล้วขับ

เอาจริง ครม.เคาะร่างกฎกระทรวงฯ รื้อเกณฑ์วัด "แอลกอฮอล์" ผู้ขับขี่ ไม่ยอมให้ตรวจถือว่าเมาแล้วขับ

วันที่ 30 ม.ค. 67 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมติหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่..) พ.ศ. … ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ

 

 

ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจะปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับ 13 ) พ.ศ. 2565

 

นายคารม กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง จะครอบคลุมถึงการตรวจพิสูจน์บุคคลที่อยู่ในภาวะที่มีสติ สามารถให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์การมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายได้ แต่ไม่สามารถทดสอบด้วยวิธีการตรวจวัดจากลมหายใจได้ รวมทั้งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ถือว่าเป็นความผิดให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่แต่ละประเภท

สรุปสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงใหม่ มีดังนี้

 

1. วิธีตรวจหรือทดสอบ ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์โดยใช้วิธีการ ดังนี้

ตรวจวัดลมหายใจ โดยวิธีเป่าลมหายใจ
ตรวจจากเลือด (ต้องได้รับความยินยอม)

ตรวจวัดจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ โดยกำหนดให้ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่นด้วยวิธีการทางการแพทย์ที่เจ็บปวดน้อยที่สุด และไม่เป็นอันตรายอย่างอื่น

เดิมกฎหมายกำหนดให้ “ตรวจจากปัสสาวะ” เท่านั้น แต่ร่างใหม่นี้เปลี่ยนเป็น “ตรวจจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ” เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

2.หน้าที่ของพนักงานสอบสวนและแพทย์ กรณีมีอุบัติเหตุจากการขับขี่และมีพฤติการณ์เชื่อว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ได้กระทำการฝ่าฝืนตาม ม.43 (2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น

ข่าวที่น่าสนใจ

ให้พนักงานสอบสวนพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงว่า ผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่กระทำการฝ่าฝืนดังกล่าวหรือไม่ทุกกรณี ตามวิธีการตรวจหรือทดสอบวัดปริมาณแอลกอฮอล์

 

เดิมเจ้าพนักงานฯ ไม่มีอำนาจในการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์บางกรณี เช่น บุคคลที่อยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์

 

3.กรณีผู้ขับขี่สามารถให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์แต่ไม่สามารถทดสอบด้วยการวัดจากลมหายใจ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ ดังนี้

 

ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งเป็นหนังสือขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายบุคคล ภายใน 3 ชั่วโมง นับแต่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งเหตุ หรือด้วยวาจา วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่น จากนั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งเหตุ

 

ให้แพทย์เก็บตัวอย่างจากเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่น และให้ออกหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการตรวจพิสูจน์โดยเร็ว โดยให้พนักงานสอบสวนเก็บรวบรวมในสำนวนการสอบสวน ให้สันนิษฐานว่า บุคคลที่เป็นผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควรนั้น มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยให้แพทย์บันทึกการไม่ยินยอมนั้น และแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีตามที่กำหนด

สำหรับการกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด แบ่งออกดังนี้

 

1) กรณีตรวจวัดจากเลือด (เจาะเลือด) หากผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) หรือเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์สำหรับบางกรณี เช่น ผู้ขับขี่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ผู้ขับขี่ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว เป็นต้น หรือกรณีผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

 

2) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะให้เทียบกับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

 

กรณีตรวจวัดจากลมหายใจ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับ 2,000 (กรณีหากตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจได้ค่าเท่าใดให้คูณด้วย 2,000 โดยให้ผลลัพธ์ที่ได้เทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ตรวจโดยการเจาะเลือด เช่น หากวัดปริมาณแอลกอฮอล์จาก ลมหายใจได้ค่า 0.04 ให้คูณด้วย 2,000 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 80 ซึ่งเทียบได้ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 80 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

 

 

 

กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับเศษ 1 ส่วน 1.3 (กรณีหากตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากปัสสาวะได้ค่าเท่าใดให้คูณด้วยเศษ 1 ส่วน 1.3 โดยให้ผลลัพธ์ที่ได้เทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ตรวจโดยการเจาะเลือด เช่น วัดปริมาณแอลกอฮอล์จากปัสสาวะ วัดค่าได้ 78 ให้คูณด้วย เศษ 1 ส่วน 1.3 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 60 ซึ่งเทียบได้ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 60 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

‘ทักษิณ’ ถึงเชียงใหม่ กินก๋วยเตี๋ยวร้านดัง เตรียมพร้อมขึ้นปราศรัยช่วยผู้สมัครนายกอบจ. เพื่อไทย เย็นนี้
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ขนสินค้าดีมีคุณภาพจากสหกรณ์มาจำหน่ายสู่ผู้บริโภค พบกันในงาน “Co-op Market Fair พลังสหกรณ์ ขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น By ร้านสหกรณ์เทเวศร์ จำกัด”
เปิด 10 ฉายาดารา ปี 67 "แน็ก ชาลี -เจนี่-นาย-ใบเฟิร์น" มาครบ " หนุ่ม กรรชัย" พีกสุด
"เท้ง ณัฐพงษ์" ข้องใจ ปมกกต. ฟันอาญา สส.ชลบุรี พรรคปชน. แจ้งบัญชีใช้จ่ายเท็จ โวยกลั่นแกล้งการเมือง แค่ข้อหาเล็กน้อย
รวบหนุ่มมะกันเผาผู้โดยสารหญิงในซับเวย์นิวยอร์ก
"นายกฯ" ไม่โกรธฉายาครม.ปี 67 มองเป็นสีสัน ลั่น "รัฐบาลพ่อเลี้ยง" ก็ดีช่วยทำงาน เพราะพ่อมีประสบการณ์
"นายกฯ" อวยพรปีใหม่คนไทย ขอให้มีความสุขเรื่องใกล้ตัว บอกปีหน้าเป็นปีแห่งโอกาส รัฐบาลจะทำเต็มที่
ทร.เอาจริง! ติดเขี้ยวเล็บให้ปชช.แนวชายแดน สอนจับปืน-ศัตรูมาพร้อมซัดโป้ง
คดีสังหาร สจ.โต้ง ส่อบานปลาย คลิปเสียงโผล่อีกไขปมยิง โยงเงินปริศนา 70 ล้าน
"อดีตสว.สมชาย" ชี้ฝ่ายอนุรักษ์เดินหมากผิด เปิดโอกาส"ระบอบทักษิณ"ฟื้นชีพรอบวกส้ม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น