เปิดเนื้อหาการประชุมคกก.คัดเลือกฯ ITD ยื่นเอกสารรถไฟฟ้าสีส้ม ไม่ครบ

เปิดเนื้อหาการประชุมคกก.คัดเลือกฯ ITD ยื่นเอกสารรถไฟฟ้าสีส้ม ไม่ครบ

ตามต่อเนื่องกับประเด็นปัญหา การพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่าประมาณ 1.4 แสนล้านบาท หลังจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ประกาศเชิญชวนเอกชน ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2562 จากนั้นคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ได้ดำเนินการพิจารณา รื้อ แก้ไข ทีโออาร์ ในวันที่ 27 ส.ค. 2563 ตามด้วยการยกเลิประมูลโครงการ วันที่ 3 ก.พ. 2564 และ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ตัดสินใจเปิดประมูลใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 24 พ.ค. 2565 แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เพิ่มเติม แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการแก้ปัญหาจราจร และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ซึ่งทางด้าน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ยอมรับว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ยังไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.ได้ เพราะมีปัญหาข้อพิพาทที่ยังไม่มีข้อยุติ และต้องรอการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดให้เป็นที่สิ้นสุด ก่อนตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร ใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ

1. เดินหน้าขั้นตอนประกวดราคาที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ

2. ยกเลิกการประกวดราคาเดิมและเปิดประกวดราคาใหม่อีกครั้ง

 

ขณะเดียวกัน Top News ยังพบปัญหาเพิ่มเติมจากการที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีหนังสือ ที่ ยธ. 0851 / 2803 ลงวันที่ 16 ต.ค. 2566 รายงานผลการสอบสวนการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยระบุถึงความผิดที่เกิดขึ้นจากการทำหน้าที่้ของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โดยไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูล อย่างครบถ้วนจนอาจเข้าข่ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย

“ผลจากการสืบสวน พบว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ ซึ่งมีหน้าที่ต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาในขั้นตอนแรก ไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติเป็นเหตุให้ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ซึ่งเป็นผู้ยื่นเสนอราคาหนึ่งในสองราย ได้รับการประกาศให้เป็นผู้ผ่านคุณสมบัติ

ทั้งที่กรรมการผู้มีอำนาจลงนามของ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกอันเป็นกรณีที่มีลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง ลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564

ไม่เท่านั้น TOP News ยังตรวจพบข้อพิรุธอีกหนึ่งจุด จากเอกสาร รายงานการประชุม คณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2565 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 9 อาคาร 1 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ซึ่งมีกรรมการผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าฯรฟม. ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการ ร่วมกับกรรมการ อีก 7 ท่าน ประกอบด้วย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ผู้แทนกระทรวงคมนาคม) , อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ (ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด) , รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) , รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (ผู้แทนสำนักงบประมาณ) ตลอดจน 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ดร.ไกร ตั้งสง่า กรรมการสภาวิศวกร , ศ.ดร.นพดล เพียรเวช จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) โดยมี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยเอกสารประชุม หน้า 13 ระเบียบวาระที่ 4 ว่าด้วย ผลการประเมินเอกสารข้อเสนอ ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ อ้างถึงการประชุม ครั้งที่ 18/2565 มีใจความบางช่วงตอน ระบุว่า ประธานคณะกรรมการคัดเลือก ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ รฟม.007(คถก)/สม/45 ลงวันที่ 2 ส.ค. 2565 ขอความอนุเคราะห์ รฟม. ดำเนินการตรวจประเมินข้อเสนอด้านคุณสมบัติผู้ประมูล เพื่อนำผลการประเมินเสนอต่อคณะกรรมการตัดเลือกฯ

และรฟม.ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษา BMTO ดำเนินการตรวจประเมินข้อเสนอซองที่ 1 (ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ) เสร็จเรียบร้อย พร้อมนำเสนอคณะกรรมการคัดเลือกฯ ซึ่งในรายละเอียดของเอกสารการประชุม ยังระบุถึงผู้ยื่นเอกสาร หรือ ซองเอกสารประประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (รอบใหม่) ประกอบด้วย 1.บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ 2. บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD)

 

แต่ประเด็นสำคัญคือ ในเอกสารการประชุม หน้า 14-15 ระบุว่า ขั้นตอนการประเมินคุณสมบัติ กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารข้อ 10 และ สอดคล้องตามข้อกำหนด , การประเมินข้อเสนอด้านคุณสมบัติ จะเป็นการประเมินว่าผ่าน หรือ ไม่ผ่าน และ สุดท้าย ต้องมีความครบถ้วน ความถูกต้องของเอกสาร ตามข้อเสนอแนะการตัดทำข้อเสนอด้านคุณสมบัติ มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 และจะไม่เปิดข้อเสนอซองที่ 2 และ ซองที่ 3 โดยจะส่งข้อเสนอซองที่ 2 , ซองที่ 3 และ ซองที่ 4 คืน

 

 

 

ซึ่งหลังจากคณะกรรมการคัดเลือกฯ ทำการเปิดซองข้อเสนอด้านคุณสมบัติ เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 ทาง ที่ปรึกษา BMTO อ้างว่า จากการตรวจสอบคุณสมบัติของ ITD เอกสารส่วนใหญ่มีความถูกต้อง ครบถ้วน มีการรับรองเอกสารถูกต้อง และ มีเอกสารเพียงบางรายที่ต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อมูลที่นำเสนอ รวมถึงจากเว็บไซด์ทางการของ Incheon Transit Corporation หรือ ITC ซึ่งโดยนัยก็คือความนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการคัดเลือกฯโดยไม่ครบถ้วนนั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้น ที่ปรึกษา BMTO ยังระบุด้วยว่า ถ้า ITD เป็นผู้ชนะการคัดเลือก ก่อนลงนามสัญญา ITD Group จะจัดตั้งบริษัทที่เป็นนิติบุคคลไทยขึ้นใหม่ โดย ITD ถือหุ้น 90 % และ ITC ถือหุ้น 10% ตามที่ยื่นไว้ในหนังสือรับรองของ ITC ลงวันที่ 11 ก.ค. 2565

และหนังสือของ ITC ลงวันที่ 11 ก.ค. 2565 ระบุว่า กรณี ITD ได้งาน ITC จะเป็นสมาชิกที่รับผิดชอบการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง

 

 

แต่ สถานะทางการเงินของ 2 บริษัท พบว่า ITD ซึ่ง อ้างว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น 90 % มีทุนจดทะเบียน 5,280 ล้านบาท และ มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Worth) ในรอบระยะเวลา 3 ปี ล่าสุด เฉลี่ยนเป็นบวก 15,738 ล้านบาท ส่วน ITC ซึ่งถูกกำหนดเป็นถือหุ้น 10 % มีทุนจดทเบียนสูงถึง 124,028 ล้านบาท และ มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Worth) มากถึง 111,368 ล้านบาท

จากข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ปรากฎในบันทึกการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ ข้ออ้างของ ที่ปรึกษา BMTO ว่าด้วย “การจัดหาเอกสาร ที่ต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อมูลที่นำเสนอ รวมถึงจากเว็บไซด์ทางการของ Incheon Transit Corporation หรือ ITC ” ยืนยันชัดเจนว่า บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) มีเอกสารไม่ครบถ้วน ตามข้อกำหนดว่าด้วยขั้นตอนการประเมินคุณสมบัติ ตั้งแต่แรก ไม่นับรวมข้อพิรุธเรื่องการร่วมทุน ITD Group กลับปรากฎว่า ITC ที่มีสัดส่วนการถือหุ้น เพียง 10 % แต่กลายเป็นผู้รับผิดชอบให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้่ม มูลค่ากว่า 1.4 แสนล้านบาท

 

 

และข้อพิรุธเหล่านี้ ล่าสุดถูกนำไปหารือ ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย คณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ครั้งที่ 1/2567 โดยมีอัยการสูงสุดเป็นประธานประชุม เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา เพื่อวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โดยมีข้อสรุปว่า

“ปัญหาต่าง ๆ กระทรวงคมนาคม ทราบเรื่องอยู่แล้ว จึงควรทำเรื่องนี้ให้หายเคลือบแคลงสงสัยโดยเร็ว ว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ ใช้ดุลยพินิจที่ถูกต้อง หรือเป็นการทำผิดกฎหมาย หรือ ละเว้นหน้าที่ของคณะกรรมการฯ โดยการไม่ตรวจสอบคุณสมบัติอย่างครบถ้วนตามเงื่อนไขการเปิดซองคุณสมบัติหรือไม่”

ซึ่ง ทีมเศรษฐกิจ Top News เชื่อมั่นว่า กระทรวงคมนาคม โดย คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จะไม่ปล่อยให้ปัญหานี้คาราคาซังอีกต่อไปอย่างแน่นอน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น