“ถาวร” ค้านสุดตัวพ.ร.บ.นิรโทษฯ รวมคนทำผิด 112 ชี้ไม่จำเป็นตั้งกมธ.ศึกษาซ้ำซ้อน หวังเปิดช่องต่อรอง

"ถาวร" ค้านสุดตัวพ.ร.บ.นิรโทษฯ รวมคนทำผิด 112 ชี้ไม่จำเป็นตั้งกมธ.ศึกษาซ้ำซ้อน หวังเปิดช่องต่อรอง

วันที่ 3 ก.พ.67 นายถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ที่นำโดยไอลอร์ ที่รวมนิรโทษกรรม คดี ม.112 คดีพลเรือนในศาลทหาร คดีความผิดตามประกาศและคำสั่งคสช.อยู่ในร่างด้วยว่า แนวความคิดตนไม่ต้องการให้นิรโทษกรรมความผิด 3 กลุ่ม คือ ความผิดฐานทุจริต ความผิดมาตรา 112 และความผิดอาญาร้ายแรง และตนเองมีส่วนร่วมในการเขียน ร่างพ.ร.บ.เสริมสร้างสังคมสันติสุขให้กับพรรครวมไทยสร้างชาติ เพราะฉะนั้นสถาบันไหน องค์กรไหน พรรคไหน ที่จะนิรโทษกรรมมาตรา 112 ผมไม่เห็นด้วย เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันความมั่นคงของประเทศไทย และการกระทำความผิด ในการหมิ่นประมาทอาฆาตมาดร้าย ประมุขของประเทศนั้นทุกๆประเทศจะมีกฎหมายพิเศษในการคุ้มครอง ใครกระทำความผิด อย่าต้องถูกลงโทษหนักกว่าบุคคลหมิ่นประมาทหรืออาฆาตมาดร้ายยุคคลธรรมดา ไม่ ไม่ว่าการปกครองประเทศนั้นๆ จะเป็นการปกครองที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ หรือพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

 

และการที่ใครก็ตามบอกว่า จะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยการแก้มาตรา 112 หรือเมื่อทำความผิดตามมาตรา 112 แล้วจะให้นิรโทษกรรม เป็นการคิดที่ผิดไม่ใช่เป็นประชาธิปไตย เป็นการคิดที่ต้องการแหกคอกหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม มองว่ามีความจำเป็นหรือไม่ นายถาวร กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นการกระทำซ้ำ ไม่ทราบว่าตั้งขึ้นมาเพื่อต่อรองอะไรหรือไม่ ให้คอยติดตาม เพราะเจ้าของพรรคการเมืองบางพรรคในขณะนี้ ถูกดำเนินคดีในข้อหากระทำความผิดมาตรา 112 อยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ขอให้พิจารณากันให้ดีว่า เป็นการถ่วงเวลาหรือซื้อเวลาเพื่อต่อรองให้นิรโทษกรรมมาตรา112 ควบคู่ไปด้วยกับคนที่มีความคิดต่างทางการเมืองหรือไม่ พร้อมฝากไปยังคณะกรรมการวิสามัญที่บอกว่าจะพิจารณาให้เสร็จ ภายใน 60 วัน พร้อมย้ำว่า เมื่อสภารับหลักแล้วขอให้เสร็จภายใน 60 วันจริงๆอย่าขยายไปอีก

 

ด้านมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบหลังจากการนิรโทษกรรม จะเป็นอย่างไร นายถาวร ระบุว่า การกระทำความผิดที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง ความคิดเห็นต่างทางการเมืองตนไม่ขัดแย้งและเห็นด้วย ดังนั้นการตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อกลั่นกรองเยียวยา เช่นผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ควรที่จะได้รับการเยียวยา ส่วนคนที่ได้รับผลกระทบจากการติดคุก หรือถูกดำเนินคดีในบางเรื่องที่เขาทำไปเพื่อปกป้องหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม และการปกครองระบอบประชาธิปไตยจริงๆ เมื่อมีคณะกรรมการกลั่นกรองแล้วก็ควรจะเยียวยาได้

 

 

อย่างไรก็ตาม การรวมคดีม.112 ไว้ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมด้วย จะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่นั้น ความขัดแย้งทางความคิด ถ้าคิดที่จะล้มล้างสถาบัน ความขัดแย้งยังคงมีให้ แต่การจะแก้ไขปัญหากับคนเหล่านี้เสียงข้างมากจะต้องใคร่ครวญถึงผลได้ผลเสียต่อสถาบันของชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบการที่จะเกิดหรือไม่เกิด บทเรียนของเราในอดีตเช่นในยุค กปปส. ไม่มีอะไรเป็นผลดีในความขัดแย้ง ต้องยอมรับกติกาที่มีกฎหมายเขียนเอาไว้ ขอให้ถอยและยอมรับความจริงจากคำวินิจฉัยของศาลรธน.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"วราวุธ"กำชับภารกิจพม.ดูแลเต็มที่ผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ เหตุตึกสตง.ถล่ม
แผ่นดินไหวในเมียนมา ดับ 3,003 ราย
ปฏิกริยาจีนและเอเชียหลังทรัมป์ประกาศภาษีตอบโต้
"พิชัย" รับเกินคาด สหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้า 36 % ยันไม่นิ่งนอนใจ พณ.นำ 3 มาตรการเร่งเจรจา
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ชม'ไซโล'เป่าลมยักษ์จีนพร้อมเก็บธัญพืชในหูหนาน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนยินดีต้อนรับ 'เพื่อนต่างชาติ' ท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ทัพเรือจีน-ไทย ปิดฉาก 'ซ้อมรบร่วม' ปี 2025
"กรมโยธาฯ" อัปเดตผลตรวจอาคารโดนแรงสะเทือนแผ่นดินไหว พบเสียหายหนักสั่งระงับใช้ 36 ตึก
ดีอี ร่วมประชุม “High Level Digital Transformation Forum” สปป.ลาว ผลักดัน 6 ความร่วมมือพัฒนาด้านดิจิทัลยั่งยืน
อิสราเอลตัดเฉือนแยกส่วนกาซา กดดันฮามาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น