“ราชทัณฑ์” ออกแถลงการณ์ชี้แจง หลัง “อัจฉริยะ” ไลฟ์ แฉจนท.เรียกรับผลประโยชน์

“กรมราชทัณฑ์” ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณี “อัจฉริยะ” นำอดีตผู้ต้องขังมาไลฟ์สด แฉเจ้าหน้าที่ในเรือนจำเรียกรับผลประโยชน์ ยืนยันไม่นิ่งนอนใจ สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบคนกระทำผิด พร้อมดำเนินการทางวินัยและกฎหมายทันท

วันที่4 ก.ย. 2564 นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะโฆษกกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงกรณี เพจเฟซบุ๊ก “ทนายคลายทุกข์” (ทนายเดชาฯ และนายอัจฉริยะฯ) ได้เผยแพร่ผ่านการไลฟ์สด โดยมีผู้ร่วมรายการ 2 ท่าน ได้กล่าวว่าเป็นอดีตผู้ต้องขังที่เคยต้องโทษอยู่ที่เรือนจำกลางสมุทรปราการ และเรือนจำพิเศษธนบุรี โดยอ้างถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำ ว่าประพฤติมิชอบเรียกรับผลประโยชน์ และการดำเนินการของเรือนจำที่ไม่มีมาตรฐานในการควบคุมผู้ต้องขัง รวมถึงถูกหลอกลวงเรื่องการถอดกำไล EM ต้องมีการเสียเงินเพื่อถอดก่อนกำหนดคุมประพฤติ นั้น

 

นายธวัชชัย กล่าวว่า กรมราชทัณฑ์ ไม่ได้นิ่งนอนใจ เนื่องจากเป็นการกล่าวหาต่อการปฏิบัติหน้าที่อันมิชอบของเจ้าหน้าที่ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและความเชื่อมั่นของประชาชน โดยได้สั่งการให้เรือนจำทั้งสองแห่งรีบตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร็ว ทั้งนี้ ได้รับรายงานจาก นายยุทธนา นาคเรืองศรี ผู้บัญชาการเรือนจำกลางสมุทรปราการ เบื้องต้นจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่อดีตผู้ต้องขังได้ออกมากล่าวหานั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวตนยังไม่ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำกลางสมุทรปราการ แต่ปัจจุบันตนได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว พบว่าการเรียกรับผลประโยชน์จากการถอดกำไล EM พบว่า มีผู้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่เรือนจำจริง ซึ่งเคยต้องโทษอยู่ที่เรือนจำกลางสมุทรปราการ ด้วยข้อหาฉ้อโกง พ้นโทษออกไปตั้งแต่ 15 กันยายน 2563 และได้ไปหลอกลวงผู้ร่วมรายการดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ของเรือนจำ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือหลอกลวงเรียกรับเงินแต่อย่างใด

 

สำหรับกรณีกล่าวหาว่ามีการเรียกรับผลประโยชน์เกี่ยวกับการออกทำงานภายนอกเรือนจำ ที่ผ่านมาเรือนจำได้ดำเนินการตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการส่งนักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานงานสาธารณะอย่างเคร่งครัด ผู้ต้องขังจึงต้องมีคุณสมบัติตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนดเท่านั้น อีกทั้ง กรมราชทัณฑ์ ได้ระงับการส่งตัวผู้ต้องขังออกภายนอก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน จึงไม่มีการนำผู้ต้องขังออกทำงานภายนอกในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา นอกจากนั้น ได้ตรวจสอบกรณีการเรียกรับผลประโยชน์เรื่องการย้ายแดน เพื่อให้ได้รับความสะดวกสบาย เบื้องต้นตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่คนใดเรียกรับผลประโยชน์ตามที่พาดพิง เนื่องจากต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจำแนก ที่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาแก่ผู้ต้องขังเป็นสำคัญ

ประเด็นสุดท้ายที่กล่าวหาว่ามีการซื้อขายยารักษาโรคภายในเรือนจำนั้น ปกติเรือนจำได้มีการฝึกอบรม อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) และมีเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ได้มาตรฐานทางวิชาชีพดูแล ซึ่งหากจำเป็นต้องสั่งยาตามแผนการรักษาจะต้องลงบันทึกในทะเบียน (OPD) การรักษาทุกครั้ง ดังนั้น กรณีที่ผู้ต้องขังนำไปขาย อาจเพราะมีอาการดีขึ้นจึงหยุดยา โดยไม่แจ้งเจ้าหน้าที่และนำยาดังกล่าวไปแลกผลประโยชน์กับเพื่อนผู้ต้องขังกันเอง

 

ในส่วนของเรือนจำพิเศษธนบุรี นายสมภพ รุจจนเวท ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษธนบุรี ได้ชี้แจงว่า ได้ดำเนินการทุกอย่างด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การจำแนกคัดเลือกผู้ต้องขังให้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ ต้องมีคณะกรรมการจากทุกฝ่ายพิจารณาคัดเลือก

 

สำหรับประเด็นการใช้บุหรี่ เพื่อแลกกับประโยชน์ส่วนตัวต่างๆ ของผู้ต้องขัง นั้น ทางเรือนจำ ได้ยกเลิกการจำหน่ายบุหรี่ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2560 และยกเลิกการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2561 เป็นต้นมา

 

นอกจากนี้ เรือนจำพิเศษธนบุรีมีพื้นที่ห้องขนาดมาตรฐาน กว้าง 4.50 x 9 เมตร จำนวน 138 ห้อง รองรับผู้ต้องขังได้ 5,245 คน (คิดจากพื้นที่ 1.2 ตารางเมตรต่อคน) ปัจจุบัน มีผู้ต้องขังเพียง 3,745 คน ถือว่าต่ำกว่าอัตราความจุที่กำหนด จึงไม่ประสบปัญหาความแออัดของผู้ต้องขังแต่อย่างใด

 

ประเด็นต่อมา เรื่องอาหารไม่ถูกสุขอนามัย เรือนจำได้ดำเนินการตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัดทั้งเรื่องคุณภาพและความสะอาด มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจากหน่วยงานสาธารณสุข ด้านรสชาติอาหารต้องคำนึงถึงภาวะโภชนาการที่เหมาะสมเป็นหลัก อีกทั้ง มีปริมาณที่เพียงพอ เท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงการใช้แรงงานผู้ต้องขัง การรักษาพยาบาล การจัดเลี้ยงอาหาร และสภาพความเป็นอยู่ ทางเรือนจำฯ ปฏิบัติตามระเบียบ แบบแผนมาตรฐานของทางราชการอย่างเคร่งครัดทุกประการ

 

นายธวัชชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ ได้เน้นย้ำให้เรือนจำและทัณฑสถานทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของเรือนจำ (SOPs) อย่างเคร่งครัด และดำเนินงานภายใต้กรอบของกฎหมายและมาตรฐานสากลที่สำคัญ ยึดหลักคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ อย่างไรก็ดี กรมราชทัณฑ์ยินดีรับฟังและขอรับข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งหากพบว่ามีเจ้าหน้าที่คนใดประพฤติมิชอบ กระทำตามที่ได้กล่าวอ้างนั้น กรมราชทัณฑ์ พร้อมดำเนินการทางวินัยและตามกฎหมายต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.
"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น