ติดตามต่อเนื่องกับประเด็นปัญหา การประมูล รถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญทำให้ คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ตัดสินใจยังไม่นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติดำเนินการ ทั้ง ๆ ที่ ขั้นตอนการประมูลผ่านพ้นมาแล้วกว่า 4 ปี สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 4.6 หมื่นล้านบาท Top News รายงาน
ขณะที่การตรวจสอบของ Top News พบรายละเอียดความไม่ปกติเพิ่มเติม จากรายงานการประชุม คณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2565 ที่เห็นได้ชัดเจนว่า กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา BMTO ซึ่ง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการว่าจ้าง ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ , จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 มีพฤติการณ์เอื้อประโยชน์ต่อ ITD Groupเงื่
โดยเฉพาะการละเว้นไม่ปฏิบัติตาม กระบวนการประเมินคุณสมบัติ ซึ่งกำหนดไว้เป็นระเบียบชัดเจนว่า ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีคุณสมบัติ ตามที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารข้อ 10 และ สอดคล้องตามข้อกำหนด ว่า การประเมินข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ถือเป็นขั้นตอนหลัก ว่าด้วยการประเมินว่าคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูล ว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน และ ชุดเอกสารนำเสนอต้องมีความครบถ้วน มีความถูกต้องของเอกสาร ตามข้อเสนอแนะ มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 และจะไม่เปิดข้อเสนอซองที่ 2 และ ซองที่ 3 โดยจะมีการส่งข้อเสนอซองที่ 2 , ซองที่ 3 และ ซองที่ 4 คืน
อก
แต่กลายเป็นว่าที่ปรึกษา BMTO เลือกจะไม่ตัดทิ้ง ITD Group ออกไป และเป็นฝ่ายไปค้นหาข้อมูลสำคัญ จากแหล่งต่าง ๆ มาเพิ่มเติมให้ ITD Group ประกอบด้วย
1.โครงสร้างการจัดการของบริษัทหรือกลุ่มนิติบุคคล
2.ข้อมูลเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องหรือการวินิจฉัยโดยอนุญาโตตุลาการ ในระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา ของ Incheon Transit Corporation หรือ ITC
3.แบบฟอร์มสถานะทางการเงินของ ITC
4.เอกสารทางบัญชีที่ตรวจสอบและรับรองแล้ว ย้อนหลัง 3 ปี ของ ITC ซึ่ง ที่ปรึกษา BMTO อ้างว่าเอกสารบางรายการได้เสนอข้อมูลไว้ แต่ไม่ได้ระบุให้ชัดเจน
ล่าสุด ความผิดปกติที่เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมาย ในขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้เข้าร่วมประมูล อย่าง ITD Group ไม่จบเท่านั้น เพราะในเอกสารรายงานการประชุม คณะกรรมการคัดเลือกฯ รถไฟฟ้าสายสีส้ม วันที่ 16 ส.ค. 2565
หน้าที่ 15 ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ การตรวจสอบและประเมินคุณสมบัติ ของ ITD Group ระบุไว้ว่า
1. ITD Group ประกอบด้วย Italian – Thai Development (ITD) และ Incheon Transit Corporation หรือ ITC
2. ITD เป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อบริหารจัดการการยื่นข้อเสนอ
3.ITC เป็นสมาชิกของ ITD Group
จุดสำคัญปัญหา อยู่ในข้อ 4. ระบุว่าถ้า ITD เป็นผู้ชนะการคัดเลือก ก่อนลงนามสัญญา ITD Group จะจัดตั้งบริษัทนิติบุคคล ที่เป็นนิติบุคคลไทยขึ้นมาใหม่ โดย ITD ถือหุ้น 90 % และ ITC ถือหุ้น 10 % ตามที่ยืนยันในหนังสือ ITC ลงวันที่ 11 ก.ค.2565
และยังหมายถึงเงื่อนไขอื่น ๆ อ้างประกอบตามหนังสือของ ITC วันที่ 11 ก.ค. 2565 เช่น กรณี ITD ได้งาน ITC จะเป็นสมาชิกที่รับผิดชอบ การบริการเดินรถ และ ซ่อมบำรุง โดย ITC มอบหมายให้ TTD รับผิดชอบในการยื่นข้อเสนอ
เพราะข้อมูลประกอบการพิจารณาคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูล ของ ITD Group ชี้แจงถึงสัดส่วนการถือหุ้นตามโครงสร้างธุรกิจ ว่า จะเป็นการร่วมทุนระหว่าง ITD และ ITC
แต่เมื่อ TOP News ไปตรวจสอบเพิ่มจาก เอกสารของ Incheon Transit Corporation หรือ ITC ลงวันที่ 11 ก.ค. 2565 ซึ่งถูกนำมากล่าวอ้างเพื่อประกอบการประเมินคุณสมบัติ กลับปรากฎว่าเป็นเพียงหนังสือ letter of intent to perform work as a contractor หรือ เอกสารแสดงเจตนาจำนงค์ ยินยอมเป็นผู้รับเหมาในการบริหารจัดการ ระบบให้บริการของโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระหว่าง ITC ถึง ITD ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับเงื่อนไขการร่วมทุุนทางธุรกิจ ตามที่กล่าวอ้าง
นอจากนี้ใจความสำคัญจากการแปลเอกสาร ชี้ชัดด้วยว่า จดหมายแสดงความยินยอมนี้ ยืนยันว่า บริษัทอินชอบ ทรานซิต คอร์ปอเรชั่น ยินยอมเข้าร่วมเป็น subcontractor เพื่อรับงานบริหารดูแลให้กับอิตาเลี่ยน-ไทย ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด และตกลงที่จะรับดำเนินงานต่อไปนี้
1. ให้ข้อมูลความรู้ด้านประสบการณ์และโครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคุณสมบัติของผู้ประกวดราคา (Tenderer)
2.สละสิทธิ์ที่จะเข้าร่วมและอยู่ในรายชื่อของผู้รับเหมาหรือซัพพลายเออร์ของผู้ยื่นประกวดโครงการ MRT สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รายอื่นๆ
3. ในกรณีที่สัญญาสัมปทานมีการตกลงกันได้ สัญญาจะต้องมีการลงนามเป็นภาระผูกพันทางกฎหมายกับผู้ยื่นประกวด โดยไม่รอช้า
ซึ่งทั้งหมดเป็นเหตุสำคัญ ทำให้่ กรรมการคัดเลือกฯ รถไฟฟ้าสีส้ม พยายามสอบถาม ซักค้านช้อสงสัย จาก ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา BMTO อาทิเช่น
“นายอนันต์ แก้วกำเนิด” รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ในฐานะตัวแทนสำนักงบประมาณ สอบถาม ที่ปรึกษา BMTO ว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วใช่หรือไม่ ว่าเอกสารกับข้อมูลที่ ITD Group ยื่นข้อเสนอมาเป็นข้อมูลจริง รวมถึง มีการตรวจสอบทุกรายการหรือไม่ และ ที่ปรึกษา BMTO อ้างว่า ที่ปรึกษาได้ตรวจสอบทุกรายการแล้ว
ต่อมา รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ได้ถามเพิ่มว่า กรณีหากข้อมูลที่ผู้ยื่นข้อเสนอ เสนอเข้ามาบางอย่างเป็นเท็จอะไรจะเกิดขึ้น ที่ปรึกษา BMTO ตอบว่า เงื่อนไข TOR กำหนดว่า ข้อมูลและเอกสารที่ผู้ยื่นข้อเสนอ นำส่งมานั้น ผู้ยื่นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
จากนั้น รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ได้ขอให้ ที่ปรึกษา BMTO ทำหนังสือยืนยันความถูกต้องของเอกสารทั้งหมด ที่ใช้สำหรับตรวจสอบด้านคุณสมบัติ เนื่องจาก คณะกรรมการคัดเลือกฯ ไม่สามารถตรวจสอบได้เอง
“ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารทั้งหมด คณะกรรมการคัดเลือกฯ ไม่สามารถตรวจสอบได้ ขอให้รฟม.และที่ปรึกษา BMTO ตรวจสอบและยืนยันกลับมาว่าเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน ก่อนคณะกรรมการคัดเลือกฯจะพิจารณาต่อไป”
ส่วนประเด็นเรื่องการอ้างถึงข้อมูล และ แผนธุรกิจร่วมระหว่าง ITD และ ITC ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่ากว้างขวาง อาทิเช่น
ผู้สังเกตุการณ์ด้านคุณธรรม ระบุว่า ” เอกสารทางบัญชีของ ITC ควรให้บริษัทเป็นผู้แปล และยืนยันเอกสาร บริษัทที่ปรึกษา BMTO ไม่สามารถพิจารณาจากการค้นหาเพิ่มเติมทางเว็บไซด์