“ศุภมาส” สั่งการทีมปฏิบัติการอว.ลุยสุ่มตรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตรวจเข้มจุลินทรีย์ สารปนเปื้อน

"ศุภมาส" สั่งการทีมปฏิบัติการอว.ลุยสุ่มตรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตรวจเข้มจุลินทรีย์ สารปนเปื้อน

ศุภมาส” รมว. อว. สั่งการทีมปฏิบัติการอว.ลุยสุ่มตรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตรวจเข้มจุลินทรีย์ สารปนเปื้อน

 

 

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สั่งการให้ทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) นำโดยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ ในเขต กทม. ตามที่เป็นข่าวจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญกว่า 90% ใน ‘กทม.’ อันตราย! ‘ไร้ใบอนุญาต-พบสารปนเปื้อน’ นั้น

 

ศุภมาส

 

ทีม DSS เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติเช่น ความกระด้าง สี กลิ่น จุลินทรีย์ และปริมาณสารปนเปื้อน รวมถึงความเหมาะสมของสถานที่ติดตั้งตู้น้ำดื่ม ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องน้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนในการเลือกซื้อน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายแพทย์รุ่งเรืองฯ กล่าวว่า ตามนโยบายท่านศุภมาสฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ที่เน้นย้ำให้ดูแลพี่น้องประชาชนในด้านคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี วศ. ได้จัดตั้งทีมนักวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) ลงพื้นที่ในเขต กทม. พิกัดบ้านพักสวัสดิการกองทัพบก , ซอยมั่นสิน , ฝั่งสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งจราจร ริมทางรถไฟอุรุพงษ์ , ชุมชนสระแก้ว ริมทางรถไฟอุรุพงษ์ และซอยบุญอยู่ เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ พบว่าน้ำดื่มบางตู้นั้นไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนและเชื้อจุลินทรีย์เกินข้อกำหนด มีสิ่งปนเปื้อนอันตรายจากเชื้อโรคที่ปนมากับน้ำดื่มอาจก่อให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น อี.โคไล สแตปฟิโลคอคคัส หากบริโภคน้ำดื่มปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย ฯลฯ ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ วศ. ขอแนะนำให้ประชาชนที่ใช้บริการตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ตั้งข้อสังเกตตรวจสอบสติ๊กเกอร์ตู้น้ำดื่มปลอดภัยของสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กทม. รวมถึงเลือกตู้ที่มีที่ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่มีฝุ่นละออง แหล่งระบายน้ำเสียและขยะมูลฝอยไม่น้อยกว่า 30 เมตร เป็นบริเวณที่ไม่เฉอะแฉะสกปรก ตู้ต้องมีฝาเปิดปิดช่องรับน้ำ และสภาพตู้น้ำต้องไม่เป็นสนิม สะอาด ถูกสุขลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้น้ำที่มีความสะอาดปลอดภัย เสริมสร้างสุขภาพอนามัย ตามเกณฑ์น้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก

กรณีประชาชนมีข้อสงสัยด้านคุณภาพน้ำ สามารถติดต่อ วศ. เพื่อดำเนินการทดสอบคุณภาพน้ำ เนื่องจาก วศ. เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำอ้างอิงที่ได้มาตรฐานของประเทศ ติดต่อสอบถามได้ที่ 02-201-7000 หรือ www.dss.go.th

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน
"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024
เปิดจำนวนเงินรางวัล "Miss Universe 2024" หลังสาวงามเดนมาร์ก คว้ามงกุฎไปครอง
“บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์” ให้การป.ป.ช. ลือสนั่น คดีช้้น 14 มีมูล จ่อเอาผิดกราวรูด
"กิตติรัตน์" เคลื่อนไหวแล้ว โพสต์ทุกเสียงค้านคือเครื่องเตือนใจ ให้ปฏิบัติดี
“รับน้องขึ้นดอย” นศ.โชว์สปิริตฝ่า “โค้งขุนกัณฑ์” พร้อมเพรียงสุดขนลุก!
เล่นผิดคนแล้ว “กัน จอมพลัง” ดับซ่าส์ “โล้นปีนเสา” แจ้งความจับคาผ้าเหลือง
"พิชัย" นำทีมเจรจา Google ขยายลงทุน คุย Walmart เปิดโอกาสสินค้าไทยวางขายเพิ่ม
สุดห่วง "สามี" วอนช่วยตามหา "ภรรยา" หายตัวปริศนา หลังเครียดสูญเงินลงทุน “ดิไอคอน” นับแสนบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น